-
ปฏิวัติวงการการศึกษา Education Sandbox พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รายละเอียดเพิ่มเติม ปฏิวัติวงการการศึกษา Education Sandbox พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รายละเอียดเพิ่มเติม
-
ความเคลื่อนไหวของเรา
ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่าง ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
-
ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
การดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาของประเทศ ตาม พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562
-
สถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
แผนภูมิแสดงรายละเอียดสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้ง 8 จังหวัด
-
ปฏิทินการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ปฏิทินกิจกรรม การประชุม การนัดหมาย เกี่ยวกับการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
-
วัตถุประสงค์ของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ปฏิวัติรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษารูปแบบใหม่ที่มีเป้าหมายสำคัญ 4 ประการ
-
พื้นที่นวัตกรรมคืออะไร?
-
พื้นที่นวัตกรรมการศึกษานำร่อง
พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 มาตรา 5 พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน รวมทั้งเพื่อดำเนินการให้มีการขยายผลไปใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่น (2) ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา (3) กระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษา และสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และ (4) สร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศให้ 6 พื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง ศรีสะเกษ สตูลกาญจนบุรี เชียงใหม่ และจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา) เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ต่อมาได้มีประกาศให้จังหวัดชายแดนภาคใต้แยกจังหวัดแต่ละจังหวัดเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ทำให้ ณ ปัจจุบัน พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ กาญจนบุรี ศรีสะเกษ ระยอง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
-
พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 มีเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ต้องพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพ มีความใฝ่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถอยู่และทำงานร่วมกับผู้อื่นซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายได้ มีความรู้เท่าทันโลก และมีทักษะในการประกอบอาชีพตามความถนัดของผู้เรียนแต่ละคน และให้รัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และ ภาคประชาสังคม ร่วมกันพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพและลดความเหลื่อมล้ำในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้อย่างแท้จริงสมควรกำหนดให้มีพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาซึ่งเป็นพื้นที่ปฏิรูปการบริหารและการจัดการการศึกษาขึ้นเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษาอันเป็นการนำร่องในการกระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เกิดการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพและลดความเหลื่อมล้ำ รวมทั้งมีการขยายผลนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนและวิธีการปฏิบัติที่ดีไปใช้ในสถานศึกษาอื่นต่อมาคณะรัฐมนตรีได้ประกาศกำหนดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 11 จังหวัด เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร จังหวัดกระบี่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดภูเก็ต จังหวัดแม่ฮ่องสอนจังหวัดสงขลา จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสุโขทัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดอุบลราชธานี ทำให้ปัจจุบันพื้นที่นวัตกรรมการศึกษามีรวม 19 พื้นที่
-
ระยอง
พื้นที่นำร่อง:ภาคตะวันออก- 82โรงเรียน
สตูล
พื้นที่นำร่อง:ภาคใต้- 19โรงเรียน
ศรีสะเกษ
พื้นที่นำร่อง:ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ- 163โรงเรียน
กาญจนบุรี
พื้นที่นำร่อง:ภาคกลาง- 60โรงเรียน
เชียงใหม่
พื้นที่นำร่อง:ภาคเหนือ- 104โรงเรียน
ปัตตานี
พื้นที่นำร่อง:ภาคใต้- 32โรงเรียน
ยะลา
พื้นที่นำร่อง:ภาคใต้- 30โรงเรียน
นราธิวาส
พื้นที่นำร่อง:ภาคใต้- 53โรงเรียน
-
สถิติที่น่าสนใจของเรา
สถิติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่น่าสนใจของเรา
-
จังหวัด
จำนวนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
โรงเรียน
จำนวนสถานศึกษานำร่อง