โรงเรียนมุสลิมสันติชน ครูทุกคนใช้นวัตกรรม Open Approach และ Lesson Study พร้อมเปิดชั้นเรียน ให้เป็นพื้นที่เรียนรู้ร่วมกัน ในการพัฒนาการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียน

18 มีนาคม 2563

3 ปีกว่าแล้วสำหรับโรงเรียนมุสลิมสันติชน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาวิชาชีพครูด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยมีข้าพเจ้า ในฐานะผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนมุสลิมสันติชน และในฐานะผู้ประเมินภายนอก รอบ 3 ซึ่งกำลังหาวิธีการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนคิดเอง แก้ปัญหาเอง เข้าใจวิธีตั้งคำถามและสามารถแก้ปัญหาความเป็นอยู่ในสังคมได้

ปี พ.ศ.2559 ได้พบ อาจารย์ ดร.เกษม เปรมประยูร ได้พูดคุยเรื่องการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นแนวคิดของ รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ คณะบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สรุปได้ว่า นี่คือวิธีที่ข้าพเจ้ากำลังตามหาอยู่ ทำให้เริ่มสนใจและทำให้มีกำลังใจที่จะศึกษาเรื่อยๆ มา หลังจากนั้นเริ่มแรกกลับปรึกษาและทำความเข้าใจกับผู้จัดการ ผู้อำนวยการและครูแกนนำทำให้เกิดการถกเถียงกันเป็นอย่างมาก ที่นำเข้าสู่ในโรงเรียน เรื่องหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตรเดิม ได้ประชุมครูแกนนำ และคณะกรรมการสถานศึกษาหลายครั้ง เพื่อนำระบบนี้เข้าในสถานศึกษา

ปี พ.ศ.2560 ได้เริ่มใช้กับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 และประถมศึกษาปีที่ 4 โดยได้วางแผน ดังนี้

  1. ด้านผู้บริหาร โดยผู้บริหาร คือ ผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการและผู้อำนวยการ ร่วมกันทำแผนการสอนกับครู เป็นระยะๆ เปิดโอกาสให้ครูวิเคราะห์แผนการสอนและเมื่อครูไปสอนผู้บริหารจะตามไปดูการสอนของครู เริ่มเห็นภาพในห้องเรียนหลายอย่าง พอเสร็จทำการสอนมาคุยกับครูกับสิ่งที่พบในห้องเรียน ซึ่งเจอกับสิ่งที่ไม่เคยคิดหลายอย่าง
  2. ด้านครู ให้ครูเปิดโอกาสให้เพื่อนครูที่ทำแผนการสอนด้วยกันเข้าไปสังเกตการสอนว่า ที่เราทำสื่อ ทำวัตถุประสงค์และคาดการณ์แนวคิดของนักเรียนเป็นอย่างไร และให้ครูกับเพื่อนครูคุยกันหาจุดเด่น จุดควรพัฒนา เพื่อปรับปรุงการสอน หรือวิธีสอนต่อไป
  3. ด้านผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้ช่วยกันกับเพื่อนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน 2-3 คน ฝึกนักเรียนช่วยๆทำ ช่วยๆคิด ช่วยๆแก้ปัญหาและสร้างผู้เรียนให้กล้านำเสนอ
ความเด่นชัดในปี 2562
  1. ผู้บริหารเริ่มมีความรักกับการเรียนการสอนของครูและการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้บริหารรู้สึกอยากอยู่โรงเรียนมากขึ้น และมีน้ำใจกับครูพร้อมให้กำลังใจมากขึ้น
  2. ครูเริ่มเปิดโอกาสให้ทีมเข้าไปดูการสอนในห้องเรียน ซึ่งเดิมนั้นไม่กล้าให้คนอื่นดู ผิดถูกอย่างไรและเริ่มไม่เห็นแก่ตัว พร้อมจะไปดูเพื่อนคนอื่นๆสอนด้วย
  3. ผู้เรียนได้รับโอกาสจากครู จากเดิมครูพูดคนเดียวเต็มคาบ ปัจจุบันครูเปิดโอกาสนักเรียนทำกิจกรรม นำเสนอ หัวเราะสนุกสนาน ทำให้ผู้เรียนชอบการเรียนคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก
ควรปรับปรุงแก้ไขในปี 2562
  1. ผู้บริหารยังไม่ได้วางแผนการทำงานที่ชัดเจน แต่ดีกว่าเดิม
  2. ผู้สอนกับทีมยังไม่มีเวลาทำแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน
  3. ผู้เรียนบางคนยังไม่กล้าเอาความคิดของตนเองมานำเสนอ
การวางแผนในปี 2563 และกำลังดำเนินการ
  1. ผู้บริหารต้องร่วมทำแผนการจัดการเรียนรู้ เข้าชั้นเรียน และสะท้อนผลมากขึ้น โดยกำหนดวันสะท้อนผลรายสัปดาห์ๆ ละ 1 ครั้ง
  2. ครูทุกคน ทุกสาระวิชา ต้องเปิดชั้นเรียนเดือนละ 1 ครั้ง ต่อ 1 คน เริ่มใช้ระบบนี้กับทุกๆกลุ่มของสามัญและศาสนา
  3. เริ่มขยายชั้นเรียนเป็น ป.1-ป.6 ที่ใช้นวัตกรรมนี้


ผู้เขียน: อับดุลเราะห์มัน เจ๊ะแว
กราฟิกดีไซน์เนอร์: เก ประเสริฐสังข์, ศศิธร สวัสดี, รัตนากร พึ่งแก้ว, ภัชธีญา ปัญญารัมย์
ภาพประกอบ: โรงเรียนมุสลิมสันติชน

Facebook Comments
โรงเรียนเมืองคง จัดการศึกษาแบบองค์รวม เน้นฐานใจ – ฐานกาย – ฐานสติปัญญาผู้ปกครองเริ่มตระหนักรู้เข้าใจใน “สมรรถนะ” ผลลัพธ์ของการศึกษา พร้อมร่วมส่งเสริมพัฒนาลูกที่บ้าน ผ่านการออกแบบกิจกรรมในชีวิตประจำวันใหม่ ในพื้นที่นวัตกรรมสตูล
บทความล่าสุด