KN SMART PLUS Model รูปแบบการขับเคลื่อนหลักสูตรฐานสมรรถนะ ของ รร.กาญจนานุเคราะห์ ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.กาญจนบุรี

23 กรกฎาคม 2564

โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ เป็นโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ  ตั้งอยู่ในเขตชุมชน อำเภอเมือง  จังหวัดกาญจนบุรี จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-class Standard School)  โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรมาตรฐานสากลเป็นภาษาอังกฤษ (English Program และ Mini English Program) โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (Enrichment Program of Science Mathematics Technology and Environment : SMTE) เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 บริหารงานโดย ดร.ณรินทร์  ชำนาญดู ด้วยหลักธรรมาภิบาลและใช้เทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา  และสร้างผู้เรียนให้เป็นไปตามอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของโรงเรียน

นักเรียนโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ต้อง SMART

  • S (Scholarly) เป็นผู้คงแก่เรียน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
  • M (Moral) เป็นผู้มีศีลธรรม
  • A (Appearance) เป็นผู้มีภาพลักษณ์งดงาม น่ารัก
  • R (Relationship) เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี
  • T (Technology) เป็นผู้มีความรู้ด้านเทคโนโลยี

อัตลักษณ์ของโรงเรียน “ลูกกาญจนาเป็นผู้นำทางสังคม”
เอกลักษณ์ของโรงเรียน “มีคุณธรรม นำวิชา ก้าวหน้าเทคโนโลยี”

การบริหารจัดการศึกษาโดยหลักธรรมาภิบาล คำนึงถึงความต้องการของผู้เรียนและผู้ปกครอง

โรงเรียนสร้างความรู้ ความเข้าใจกับครูเพื่อให้ครูตระหนักถึงการเข้าร่วมโครงการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะหลัก (Student Core Competencies) 10 สมรรถนะของการเป็นคนไทยฉลาดรู้ พลเมืองไทยใส่ใจสังคม คนไทยสามารถสูงและคนไทยอยู่ดีมีสุข

ได้พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมขับเคลื่อนหลักสูตรฐานสมรรถนะ โดยบูรณาการผสมผสานแนวทางที่ 1 “ใช้งานเดิม เสริมสมรรถนะ” แนวทางที่ 3 “ใช้รูปแบบการเรียนรู้ สู่การพัฒนาสมรรถนะ” และแนวทางที่ 6 “สมรรถนะชีวิต ในกิจวัตรประจำวัน” โดยใช้ KN SMART PLUS Model เป็นโมเดลในการขับเคลื่อนหลักสูตรฐานสมรรถนะการเรียนรู้ดังกล่าว

KN
  • K : Knowledge ความรู้, ภูมิปัญญา
  • N : Network เครือข่าย
SMART
  • S : Strategy กลยุทธ์
  • M : Moral คุณธรรม
  • A : Achievement ความสำเร็จ
  • R : Relationship ความสัมพันธ์
  • T : Technology เทคโนโลยี
PLUS
  • P : Professional Skill ทักษะระดับมืออาชีพ
  • L : Life Skill ทักษะชีวิต
  • U : Universal Mind จิตใจที่เป็นสากล
  • S : Social Learning การเรียนรู้ทางสังคม

บริหารและจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บูรณาการหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ดังนี้

ด้านครู จัดทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อพัฒนานวัตกรรมในห้องเรียน (Best Practice) ระหว่างผู้อำนวยการฯ และครูผู้สอน คนละ 1 เรื่อง/ภาคเรียน ทุกคน (100%) พร้อมทั้งจัดให้มีผู้ให้คำปรึกษา (Mentoring) ระหว่างดำเนินการ ตัดสินผลการนำนวัตกรรมในห้องเรียนไปใช้ในการจัดการเรียนรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก และประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ/มอบขวัญกำลังใจ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน (เว็บไซต์โรงเรียน)

ด้านผู้เรียน จัดให้มีการนำเสนอโครงงาน (Project Based Learning) และตัดสินผลโครงงานนักเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีเวทีนำเสนอผลงาน กล้าคิด กล้าแสดงออก ผลิตผลงานสร้างสรรค์ อันเกิดจากกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ดีของครู สามารถเข้าร่วมประกวด แข่งขัน และสร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนได้ทุกด้านทั้งระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ

ด้านสถานศึกษา ชุมชน ผู้เรียน ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เกิดความเชื่อมั่น ศรัทธาต่อสถานศึกษา ดังนี้

     โรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนอุปถัมภ์ (ครอบครัวอุปถัมภ์)  สำนักพัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ สพฐ. มีนักเรียนเลือกมาเรียน

  1. โรงเรียนเทพา จังหวัดสงขลา จำนวน 1 ราย
  2. โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ปัตตานี จำนวน 1 ราย
  3. โรงเรียนโพธิ์คีรีราชศึกษา จังหวัดปัตตานี จำนวน 1 ราย

โครงการโรงเรียนต้นแบบ “โรงเรียนพี่สู่โรงเรียนน้อง” แก้ปัญหาการยุบรวมสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยการสร้างความร่วมมือกับโรงเรียนวัดไชยชุมพลชนะสงคราม นำนักเรียนมาเรียนที่โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ โดยความเห็นชอบของผู้ปกครอง เป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนได้เรียนตามความถนัด ความสนใจ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายใดๆและนอกจากนี้ทางโรงเรียนยังมีโครงการหรือกิจกรรมอีกหลากหลายที่ต้องการผลักดันการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

จากการดำเนินการที่ผ่านมาของโรงเรียนพบกว่าการบูรณาการผสมผสานแนวทางต่างๆ โดยใช้ KN SMART PLUS Model เป็นโมเดลในการขับเคลื่อนหลักสูตรฐานสมรรถนะการเรียนรู้ ถือได้ว่าเป็นโมเดลที่ดีและเท่าทันต่อยุคสมัย


 


ผู้เขียน:
ณัฐมล ไชยประดิษฐ์
ผู้ให้สัมภาษณ์: มนัสนันท์ เอี่ยมพงษ์ไพฑูรย์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
ผู้สัมภาษณ์: ณัฐมล ไชยประดิษฐ์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์
ภาพประกอบ: โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จังหวัดกาญจนบุรี

Facebook Comments
สพฐ. จัดสรรงบแนว Block Grant ให้อิสระโรงเรียนใช้พัฒนานวัตกรรม “ยกคุณภาพ-ลดเหลื่อมล้ำ” หนุนเขตและ คกก.ขับเคลื่อนพื้นที่ เป็นพี่เลี้ยงเรียนรู้จากการลงมือทำอย่างมีความหมาย ด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนแบบ PTS Model (PONGTA SCHOOL) โรงเรียนบ้านปงตา จังหวัดยะลา
บทความล่าสุด