พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยองพร้อมขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย

8 มิถุนายน 2564

วันที่ 18 พฤษภาคม 2564 คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง จัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ครั้งที่ 2/2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ด้วยระบบ Zoom Cloud Meeting เวลา 09.00 – 12.00 น. โดยมี นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองเป็นประธาน ผู้เข้าประชุมเป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนชุดใหม่ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564 สรุปมติที่ประชุมมีวาระสำคัญ 4 ประเด็น ได้แก่ 1) การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 5 คณะ 2) การให้ความเห็นชอบการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษานำร่อง รุ่นที่ 2 จำนวน 22 แห่ง 3) การให้ความเห็นชอบโครงการของสถานศึกษานำร่อง ปีงบประมาณ 2564 และ 4) การอนุมัติสถานศึกษานำร่อง รุ่นที่ 3 จำนวน 12 แห่ง

การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 5 คณะ

ที่ประชุมมีมติให้ความเห็นชอบและแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 5 คณะ เพื่อให้การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยองบรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 แห่ง พรบ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 คณะอนุกรรมการประกอบด้วย

  1. คณะอนุกรรมการด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ ติดตามและประเมินผล
    นายสมศักดิ์ พะเนียงทอง เป็นประธาน
  2. คณะอนุกรรมการด้านส่งเสริมการบริหารบุคคล
    นายปรัชญา สมลาภา เป็นประธาน
  3. คณะอนุกรรมการด้านส่งเสริมการบริหารงบประมาณ
    นางสายธาร ปิตุเตชะ เป็นประธาน
  4. คณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วม
    นายมนตรี ชนะชัยวิบูลย์วัฒน์ เป็นประธาน
  5. คณะอนุกรรมการด้านส่งเสริมการบริหารวิชาการ
    นางจารุณี ตันติเวชวุฒิกุล เป็นประธาน

คณะอนุกรรมการแต่ละชุดประกอบด้วยบุคลากรจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ท้องถิ่น บุคคลทั่วไป และมีบุคลากรจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยองเป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษาของจังหวัดระยองต่อไป

นายชาญนะ เอี่ยมแสง กล่าวแสดงความเห็นว่า การทำงานของคณะอนุกรรมการดังกล่าวให้เน้นการทำงานเชิงรุกและเชิงรับ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยองเป็นไปตามเป้าหมาย และเกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ทั้งต่อจังหวัดระยองและต่อประเทศชาติ

การให้ความเห็นชอบการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ที่ประชุมมีมติให้ความเห็นชอบการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษานำร่อง จำนวน 22 แห่ง ประกอบด้วย สถานศึกษาจาก 6 สังกัด ได้แก่ 1) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง จำนวน 4 แห่ง 2) สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา จำนวน 1 แห่ง 3) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำนวน 3 แห่ง 4) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 จำนวน 9 แห่ง 5) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จำนวน 4 แห่ง และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 1 แห่ง

ทั้งนี้สถานศึกษาทุกแห่งมีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยนำกรอบหลักสูตรจังหวัดระยอง (Rayong MARCO) มาใช้กับรายวิชาใน 8 กลุ่มสาระ ปรับการวัดผลสำเร็จของรายวิชาเป็นสมรรถนะ และปรับโครงสร้างเวลาเรียนให้สอดคล้องกับจุดเน้นของโรงเรียน

ทั้งนี้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยองได้แต่งตั้งคณะทำงานกลั่นกรองการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางฯ และจัดการประชุมนำเสนอหลักสูตรสถานศึกษาระหว่างวันที่ 30 – 31 มีนาคม 2564 ณ โรงเรียนโกลเด้นซิตี้ระยอง เมื่อกลั่นกรองแล้วได้แจ้งให้สถานศึกษาปรับหลักสูตรให้สมบูรณ์และนำเสนอต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ รายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน ดังภาพ

นอกจากผลการกลั่นกรองการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางฯ แล้ว คณะทำงานมีความเห็นเพิ่มเติม อีก 4 ประการ ได้แก่

ที่ประชุมมีมติให้คณะอนุกรรมการวิชาการนำความเห็นดังกล่าวไปปรับใช้กับการกลั่นกรองการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางฯ ของสถานศึกษานำร่องรุ่นอื่นๆ ต่อไป และกล่าวชื่นชมว่าสถานศึกษานำร่องมีความพร้อมและศักยภาพในการปรับหลักสูตรแกนกลางฯ และการปรับใช้กรอบหลักสูตรจังหวัดระยอง ให้เป็นหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพภูมิสังคมของสถานศึกษาอย่างเหมาะสม

การให้ความเห็นชอบโครงการของสถานศึกษานำร่อง ปีงบประมาณ 2564

ที่ประชุมมีมติให้ความเห็นชอบในการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 500,000 บาทให้กับสถานศึกษาจำนวน 18 แห่งที่ได้เสนอโครงการมายังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และผ่านการพิจารณาของคณะทำงานเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564

คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง มีความเห็นสอดคล้องกันว่าโครงการที่สถานศึกษานำร่องเสนอมานั้นเป็นโครงการที่รองรับการจัดการศึกษาเชิงบริบทพื้นที่ และจุดเน้นของโรงเรียน แต่ยังคงมีอุปสรรคเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างฯ เนื่องจากวัสดุฝึกบางรายการที่จำเป็นต้องใช้ แต่ไม่สามารถซื้อได้ด้วยเงื่อนไขเป็นพัสดุ ที่ประชุมเสนอให้มีการหารือกับผู้เกี่ยวข้องหรืออาจระดมทรัพยากรจากภาคีเครือข่ายเพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีงบประมาณในการจัดทำโครงการต่อไป

การอนุมัติสถานศึกษานำร่อง รุ่นที่ 3

ที่ประชุมมีมติอนุมัติสถานศึกษานำร่อง รุ่นที่ 3  จำนวน 12 แห่ง ดังนี้

  1. โรงเรียนมกุฏเมืองราชวิทยาลัย (สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง)
  2. โรงเรียนห้วยยางศึกษา (สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง)
  3. โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง (สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2)
  4. โรงเรียนเขาชะเมาวิทยา (สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง)
  5. โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนครินทร์จังหวัดระยอง (สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง)
  6. โรงเรียนบ้านมาบป่าหวาย (สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1)
  7. โรงเรียนปลวกแดงพิทยาคม (สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง)
  8. โรงเรียนวัดเนินกระปรอก (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1)
  9. โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง ๕ (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ระยอง เขต 1)
  10. โรงเรียนบ้านแม่น้ำคู้ (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1)
  11. โรงเรียนบ้านหนองไร่ (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1)
  12. โรงเรียนวัดนาตาขวัญ (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1)

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังแผนภาพ

และจัดกลุ่มโรงเรียนในการใช้แนวทางการพัฒนาการศึกษา ออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

ประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

ประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง องค์ประกอบ จำนวน คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม หลักเกณฑ์และวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่งและการพันตำแหน่ง ของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2563 เพื่อใช้เป็น แนวทางในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมขององค์กรภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง และอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 (13) และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 และข้อ 3 ของประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง องค์ประกอบ จำนวน คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม หลักเกณฑ์และวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นตำแหน่งของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ประกอบกับมติคณะกรรมการนโยบายพื้นที่ นวัตกรรมการศึกษาในการประชุม ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563 ประธานกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี) ได้ลงนามประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง รายละเอียดตามลิ้ง https://www.edusandbox.com/17th-mar-announcement-edu/

 


 


ผู้เขียน:
ศิริวัฒน์ ลำพุทธา ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยอง
กราฟิกดีไซน์เนอร์: รัตนากร พึ่งแก้ว, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เดินหน้าจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการให้ ผอ. และครู ร่วมจัดทำรูปแบบ (Model) นวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทโรงเรียน สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาและทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 เพื่อยกระดับคุณภาพของผู้เรียนโครงการ Notebook for Education มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี ขอเชิญชวนกลุ่มโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดี ทั่วประเทศ สมัครเข้าร่วมโครงการ Notebook for Education เพื่อคัดเลือกรับการระดมทุนเพื่อการศึกษา CONNEXT ED Crowdfunding ประจำปี 2564 เพื่อจัดซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กให้ครูและนักเรียน
บทความล่าสุด