วิชาบูรณาการ: บาตูศึกษา “ศาสนาดี วิชาการเด่น เก่งอาชีพ” โรงเรียนบ้านบาตูฯ มิตรภาพที่ 66

9 สิงหาคม 2564

การเริ่มต้น

การจัดการเรียนการสอนบนหลักสูตรฐานสมรรถนะ โรงเรียนบ้านบาตูฯ มิตรภาพที่ 66 เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ความเป็นตัวตนของโรงเรียน หาจุดเด่นจุดด้อย ความเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และตีโจทย์ว่าโรงเรียนต้องการพัฒนาผู้เรียนทางด้านใด จึงออกมาเป็น School Concept หลังจากที่ได้ School Concept แล้วคณะครูตีโจทย์ความต้องการคือ การจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดความสุข สงบในพื้นที่ สนับสนุนให้มีความสามารถเฉพาะตัว เป็นวิชาการเฉพาะด้าน

โรงเรียนบ้านบาตูฯ มิตรภาพที่ 66 การจัดการเรียนการสอนมี 2 หลักสูตร คือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 และอิสลามศึกษาแบบเข้ม ในพื้นที่ชุมชนและผู้ปกครองมีความต้องการ อยู่ 3 ด้าน คือ 1. ศาสนาดี 2. วิชาการเด่น 3. เก่งวิชาชีพ และโรงเรียนได้จัดการบูรณาการวิชาการงานและอาชีพและหลายๆ วิชาที่ต้องติดตัวผู้เรียน เพิ่มทักษะอาชีพให้กับผู้เรียน จึงเกิดวิชาบาตูศึกษา ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

ขั้นบูรณาการ

โรงเรียนบ้านบาตูฯ มิตรภาพที่ 66 ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปรับรูปแบบการเรียนการสอนโดยไม่ติดกรอบทางด้านเนื้อหา วิชาการ ด้านตีความหลักสูตรฐานสมรรถนะ และด้านจัดการเรียนการสอนโครงการฐานวิจัย

การจัดการเรียนการสอนแบบนอกกรอบ เริ่มจากการจัดชั่วโมงการเรียนติดกัน 3 คาบ ดำเนินการสอน 15 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง มี 4 ขั้นตอนคือ 1 จิตปัญญา 2 ให้หลักคิด 3. ปฏิบัติ 4. ถอดบทเรียน ซึ่งทดลองกับผู้เรียนใน 1 เทอม กำหนดให้ 1 ห้องเรียน มีโครงงาน 1 โครงงาน และสามารถให้ผู้ปกครองมาดูงานของผู้เรียนแต่ละห้องในการทำโครงงานว่าเป็นอย่างไร ซึ่งนักเรียนเป็นคนเลือกเนื้อหาในการทำ ซึ่งผู้สอน ให้ผู้เรียน คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา สรุปความ และลงมือทำด้วยตนเอง จึงเกิดการบูรณาการของผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม

ผลที่เกิดจากการบูรณาการ

จากข้อค้นพบเบื้องต้น ผู้เรียนหลังห้องเรียนสามารถนำเสนอหน้าชั้นเรียนได้อย่างภาคภูมิใจ ผู้เรียนมีความกล้าแสดงออก ผู้เรียนมีศักยภาพมีความมั่นใจมากขึ้น และเกิดการตอบสนองความต้องการอธิบายเนื้อหาในสิ่งที่ผู้เรียนทำ สนใจในสิ่งที่ผู้เรียนทำอยู่ โดยผู้เรียนอยากเป็นผู้นำเสนอเอง ซึ่งแต่ละห้องเรียนจะมีโครงงานแตกต่างกันออกไป

สุดท้ายนี้ ต้องขอบคุณทุกภาคส่วนที่มาช่วยกันสนับสนุน ทั้งความรู้ ทัศนะคติ งบประมาณ และที่สำคัญที่สุดคือ ใจของคณะครูที่โรงเรียนบ้านบาตูฯ มิตรภาพที่ 66 ที่ผ่านการอบรม วิเคราะห์ ปรับทัศนคติตัวเอง ปรับทัศนคติของคณะครู จนไปถึงปรับหลักสูตร ปรับรูปแบบการสอน ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และบูรณาการร่วมกัน

 


 


ผู้เขียน: ฉัตรชัย หล้ากันหา
ผู้ให้สัมภาษณ์:
อาเซียะห์ ดาราแม ครูโรงเรียนบ้านบาตู มิตรภาพที่ 66 
ผู้สัมภาษณ์: 
ฉัตรชัย หล้ากันหา
กราฟิกดีไซน์เนอร์:
อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์:
ภัชธีญา ปัญญารัมย์
ภาพประกอบ:
โรงเรียนบ้านบาตู มิตรภาพที่ 66 

 

Facebook Comments
“เดคูพาจงานหัตถศิลป์ เรียนรู้จากการลงมือทำ” 30 ก้าวขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดยะลา“ทางออกทางการศึกษา เมื่อเด็กไม่ได้ไปโรงเรียน” สบน.ขอเชิญร่วมงานและรับชมการถ่ายทอดสด งานสมัชชาการศึกษาจังหวัดสตูล เพื่อร่วมหาแนวทางที่เหมาะสมและมีคุณภาพ/ประสิทธิภาพ ในการจัดการเรียนรู้ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
บทความล่าสุด