สรุปสาระสำคัญ รับชมย้อนหลังและดาวน์โหลดเอกสาร การประชุมชี้แจงการรับข้อเสนอโครงการวิจัยการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2567

9 พฤศจิกายน 2566
 
สรุปสาระสำคัญ รับชมย้อนหลังและดาวน์โหลดเอกสารการประชุมชี้แจงการรับข้อเสนอโครงการวิจัยการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2567
 

จากการประชุมชี้แจงการรับข้อเสนอโครงการวิจัยการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2567 เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 66 ที่ผ่านมา ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Zoom Cloud Meeting

สบน. ขอเผยแพร่คลิปวิดีโอการประชุมย้อนหลัง สำหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full proposal) ของกรอบการวิจัย “การพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” ประจำปีงบประมาณ 2567 และดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ https://pmua.or.th/?p=10175 และ ผ่านระบบ NRIIS https://nriis.go.th/

สบน. ได้สรุปสาระสำคัญจากการประชุม มีรายละเอียดดังนี้
เปิดการประชุม          

โดย นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง
ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กล่าวว่า การทำงานวิจัยเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยผลักดันการขับเคลื่อนงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายและความน่าเชื่อถือ ในปีงบประมาณ 2567 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เป็นหน่วยงานที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนทุนการดำเนินการในการทำวิจัยและเสนอโครงการต่าง ๆ ที่เป็นนวัตกรรมใหม่และเป็นประโยชน์ ครั้งนี้นับว่าเป็นโอกาสที่ดี ผู้บริหาร ครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการดำเนินการเสนอของบประมาณสนับสนุนให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โรงเรียนและพื้นที่

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการสนับสนุนทุนวิจัย

โดย นายบุญเยี่ยม เหลาสะอาด
รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ หน่วย บพท.

กล่าวว่า หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) คือ หน่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ โดยมีงานวิจัยในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ โดยเป้าหมายของ บพท. จะกระจายความเจริญและสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นด้วยความรู้และนวัตกรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยมี 5 รายละเอียดในการรับข้อเสนอโครงการวิจัยฯ ในปีงบประมาณ 2567 ดังนี้

นโยบายและกลยุทธ์การขับเคลื่อน
  • Micro level พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและยกระดับโอกาสทางสังคม : การวิจัยเพื่อตอบโจทย์ของพื้นที่ เรื่อง ความยากจน ชุมชนท้องถิ่น
  • Macro level กระจายศูนย์กลางความเจริญและเมืองน่าอยู่ : หัวข้อเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองน่าอยู่ เมืองแห่งการเรียนรู้ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (กรอบการศึกษาจะอยู่ในหัวข้อนี้)  
5 ยุทธศาสตร์หลักที่ใช้ในการขับเคลื่อน
  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาคนและกลไกจากฐานทุนทรัพยากรพื้นถิ่นและทุนทางวัฒนธรรม
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเมืองน่าอยู่และเมืองแห่งการเรียนรู้
  • ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมพลังเพื่อยกระดับศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานรัฐในพื้นที่
  • ยุทธศาสตร์ที่ 5 วิทยสถานเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แนวทางการสนับสนุนทุนวิจัยของ บพท.   
Key Results หลัก/รอง

ความคาดหวังต่อพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาประสบความสำเร็จในการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จำนวน 10 จังหวัด ภายในปี 2570

  • หลัก
    1. นวัตกรรมการเรียนรู้
    2. นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียน ที่เข้าร่วมร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 หรือมีสมรรถนะพึงประสงค์สูงขึ้นร้อยละ 50
    3. นวัตกรรมเชิงระบบที่ช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษา
    4. ระบบนิเวศน์ทางการศึกษาที่เหมาะสมต่อการพัฒนาสมรรถนะครู นักเรียน และบุคลากรในพื้นที่ รวมถึงมีกลไกการจัดการความร่วมมือกับภาคีส่วนต่าง ๆ
  • รอง
    1. จำนวนนโยบาย มาตรการ และกลไก ที่เป็นนวัตกรรมเชิงนโยบาย (Policy Sandbox) ของ การพัฒนาเมืองน่าอยู่ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น เพิ่มขึ้น 100 ชิ้น
    2. จำนวนผู้นำเอาผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านกานพัฒนาเมือง ไปถ่ายทอด หรือใช้ประโยชน์ โดยความร่วมมือกับหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ เพิ่มขึ้น 1,200 คน    
โจทย์การวิจัยเป้าหมาย และประเด็นทีให้ความสำคัญ
  • นวัตกรรมเชิงระบบ : สร้างกลไกความร่วมมือในการจัดการศึกษาระดับพื้นที่หรือเสริมพลัง

จุดเน้น คือ ความสามารถในการทำงานเชิงกลไกหรือการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงเชิงระบบบริหารจัดการการศึกษาของพื้นที่ ที่ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ

  • นวัตกรรมการเรียนรู้ : ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา หรือสมรรถนะของนักเรียนสูงขึ้น

จุดเน้น คือ การเรียนรู้ ริเริ่ม หรือต่อยอดจากฐานทุนเดิม โดยให้ความสำคัญใน 3 ประเด็น ดังต่อไปนี้

  1. การจัดการศึกษาเพื่อรองรับหลักสูตรฐานสมรรถนะ
  2. การใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้สมัยใหม่
  3. การจัดการศึกษาเพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้

ความสำคัญ ความคาดหวัง การขับเคลื่อนงานวิจัยในพื้นที่ และประเด็นที่นักวิจัยจะต้องดำเนินการขับเคลื่อนงานวิจัยตามประกาศทุน

โดย ดร.อมรวิชช์  นาครทรรพ  
ผู้อำนวยการแผนงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา หน่วย บพท.

แนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์
10 ประเด็นที่ผู้วิจัยควรให้ความสำคัญ
  1. การวิเคราะห์ Situation analysis & Stakeholders analysis (การวิเคราะห์สถานการณ์และการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย) เบื้องต้น
  2. ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมเชิงระบบ
  3. นวัตกรรมเชิงระบบ
    อาทิ
    – การทำงานเชิงกลไกหรือการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงเชิงระบบบริหารจัดการการศึกษาของพื้นที่ควรแสดงประสบการณ์และศักยภาพในการทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกับภาคีภาครัฐ เอกชน ชุมชน และท้องถิ่นการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาของจังหวัดหรือของพื้นที่ผ่านกลไกกรทำงานต่าง ๆ
    – นวัตกรรมเชิงระบบ ที่ช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
    – การบริหารจัดการงบประมาณ
    – การบริหารจัดการบุคลากร
    – การประกันคุณภาพสถานศึกษา
    – การบริหารจัดการวิชาการ
  4. ประเด็นสำคัญในการพิจารณา
    อาทิ
    – การศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency-Based Education) เป็นการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ที่จับต้องได้ เด็กสามารถมีสมรรถนะหรือทักษะบางอย่างไปแก้ปัญหาในชีวิต ในการทำงานได้
    – การใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้สมัยใหม่ (Digital Transformation)
    – การจัดการศึกษาเพื่อพื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss)
  5. ประเด็นอื่น ๆ ที่เห็นว่าเป็นความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ต่อการพัฒนาการศึกษาของพื้นที่ หรือเป็นนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาสำคัญ (Pain Point) ของการจัดการศึกษาในพื้นที่
    อาทิ ปัญหาความเหลื่อมล้ำในโอกาสทางการศึกษา ปัญหา Learning Loss ปัญหาการขาดแคลนครูและบุคลากร และการขาดแคลนทรัพยากรของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล เป็นต้น
  6. ประสบการณ์ และทุนการทำงานเดิม (ควรระบุ Proposal หัวข้อ หลักการและเหตุผล)
  7. การแสดงขีดความสามารถในการทำงานเชิงกลไกจังหวัด (ควรระบุใน Proposal หัวข้อหลักการและเหตุผล)
  8. ความเป็นชุดโครงการ ที่ไม่ใช่แค่กิจกรรม หรือการติดตาม ประสานงานโครงการวิจัยย่อยให้แล้วเสร็จ
  9. ผู้วิจัยควรแสดงให้เห็นได้ว่าผลการดำเนินงานจะส่งผลให้พื้นที่ดำเนินการดีขึ้นอย่างไร
  10. ระมัดระวังในการกรอกข้อมูลในวันสุดท้าย และการกดรับรองของหน่วยงานผ่านระบบ
ผลการสนับสนุนการดำเนินงานวิจัย ในปี 2563 – 2566
  1. การพัฒนากรอบหลักสูตรจังหวัดยะลา (Yala Harmony) 15 หลักสูตร
  2. กลไกความร่วมมือระหว่างศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาสและมหาวิทยาลัยในพื้นที่และกลไกจังหวัดผ่านสมัชชาการศึกษาจังหวัดและคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี 25 กลไก
  3. แพลตฟอร์มสังคมแห่งการเรียนรู้และอุปกรณ์พกพาเพื่อสนับสนุนการสอนของผู้เรียนนอกระบบและตามอัธยาศัยในพื้นที่ชายขอบ จังหวัดเชียงใหม่ 39 นวัตกรรมการเรียนรู้
  4. การต่อยอดจากการสร้างนวัตกรรมอาสาสมัครการศึกษาหมู่บ้าน (อศม.) เพื่อช่วยสอน ไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดการระดมทุนจากภาคเอกชน 19 นวัตกรรมเชิงระบบ
การตอบข้อซักถาม
  1. ถาม : จังหวัดที่ได้รับทุนจาก บพท. ไปแล้วภายในปีนี้ สามารถต่อทุนได้ไหม
    ตอบ : ตามหลักเกณฑ์ในรอบนี้ไม่สามารถต่อทุนได้
  1. ถาม : การขอทุนวิจัยขอได้เฉพาะอาจารย์มหาวิทยาลัยในพื้นที่ใช่ไหม
    ตอบ : คุณสมบัติและเงื่อนไขผู้ขอรับทุนกำหนดไว้ว่าเป็นนักวิจัยภายใต้สังกัดที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล เช่น สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานรัฐ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
  1. ถาม : การขอทุนวิจัยในนามของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่เป็นต้นสังกัดของสถานศึกษานำร่อง
    หรือเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถขอรับทุนได้ไหม
    ตอบ : สามารถขอรับทุนวิจัยได้ แต่มีคุณสมบัติและเงื่อนไขผู้ขอรับทุนกำหนดไว้คือ 1. อยู่ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 20 จังหวัดตามประกาศฯ 2. ต้องทำงานร่วมกับสถานศึกษาในพื้นที่เป้าหมายไม่น้อยกว่า 30 แห่งหรือร้อยละ 10 ของจังหวัดในระดับช่วงชั้นนั้น ๆ ที่ดำเนินการ

รับชมย้อนหลังและดาวน์โหลดเอกสาร
  • เอกสารประกอบการประชุม คลิก

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

     


 

 

 

 

 

ผู้เขียน : ณัฐวรี ใจกล้า และณัฐสุภา สุทธา

 

“ผมมีความตั้งใจจะไปเยี่ยมโรงเรียนมีชัยพัฒนาอยู่แล้ว ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งโรงเรียนต้นแบบ ที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อนำมาปรับใช้กับโรงเรียนตามบริบทและความพร้อมในแต่ละพื้นที่ สอดคล้องกับข้อเสนอของ กมธ. ในครั้งนี้ ที่ต้องการให้ ศธ. สนับสนุนแนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียนมีชัยพัฒนาไปยังโรงเรียนต่าง ๆ มากขึ้น จึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาในเรื่องนี้อย่างรอบด้าน เพราะรูปแบบการเรียนการสอนแบบนี้ สามารถนำไปใช้ได้กับหลายโรงเรียน แต่จะดูบริบทของแต่ละโรงเรียนเป็นหลัก ทั้งในเชิงพื้นที่และวัฒนธรรม โดย ศธ. พร้อมที่จะร่วมดำเนินการกับหน่วยงานหลักที่ช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศ ทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น ในรูปแบบของการทำงานร่วมกัน” รมว.ศธ.กล่าว

Facebook Comments
การประชุมชี้แจงการรับข้อเสนอโครงการวิจัยการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2567เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการจัดการความรู้เพื่อการจัดมหกรรมโรงเรียนและครูสู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจังหวัดศรีสะเกษ
บทความล่าสุด