“พลเมืองโลกยุคใหม่ เข้าใจสังคม” มูลนิธิเอเอฟเอส ประเทศไทย “จับมือ” กรุงเทพมหานคร นำร่องพื้นที่นวัตกรรมฯ โรงเรียนเสนานิคมฯ กทม.
วันที่ 27 กันยายน 2566 นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร และนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรรมการมูลนิธิการศึกษา และวัฒนธรรมสัมพันธ์ไทย-นานาชาติ (เอเอฟเอส ประเทศไทย) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานคร และ เอเอฟเอส ประเทศไทย ว่าด้วยการประสานความร่วมมือโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox) ในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยมีนางสาวศุภร คุ้มวงศ์ รองผู้อํานวยการสํานักการศึกษา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ ผู้อํานวยการใหญ่ พร้อมทั้งคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ มูลนิธิการศึกษาและวัฒนธรรมสัมพันธ์ไทย-นานาชาติ ร่วมพิธี ณ ศาลาว่าการ กทม. โดยความร่วมมือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนในสังกัด กรุงเทพมหานคร ให้มีองค์ความรู้และเข้าใจเรื่องการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม (Intercultural Learning) รวมทั้งเพื่อช่วยส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนมีทักษะด้านความฉลาดทางวัฒนธรรม (CQ: Cultural Intelligence) เพื่อก้าวสู่การเป็น พลเมืองโลกที่มีคุณภาพ นับว่าเป็นความร่วมมืออันเป็นประโยชน์ต่อเยาวชนและเป็นการปลูกเม็ดพันธุ์การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ สังคมและโลกอย่างยั่งยืน
ภายหลังการลงนามบันทึกข้อตกลง เอเอฟเอส ประเทศไทย ได้ดําเนินการวางแผนพัฒนาหลักสูตรโครงการพื้นที่นวัตกรรม การศึกษา (Education Sandbox) ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อการพัฒนานักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลก ร่วมกับ โรงเรียนเสนานิคม เขตจตุจักร โดยได้บูรณาการความรู้ด้านความฉลาดทางวัฒนธรรม (CQ: Cultural Intelligence) ผ่านการ เรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม (Intercultural Learning) และส่งเสริมให้นักเรียนก้าวสู่การเป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ (Active Global Citizen) ผ่านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาชุมชน ในรายวิชาชุมนุม AFS พัฒนานักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ โดยมีขั้นตอนการดําเนินงาน 5 ขั้นตอน ดังนี้
- อบรมครูผู้รับผิดชอบรายวิชาชุมนุมในหัวข้อเรื่องการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ผ่านหลักสูตรออนไลน์ Foundations of Intercultural Learning and Global Competence เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์
- โรงเรียนจัดตั้งรายวิชาชุมนุม AFS พัฒนานักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ (วิชาเลือก)
- ครูนําความรู้ที่ได้รับการจากเข้าอบรมมาถ่ายทอดในห้องเรียน ผ่านหัวข้อการเรียนที่ครอบคลุมความหลากหลายทางวัฒนธรรม เช่น Iceberg Model, Stereotypes and Generalizations, Cultural Value Dimensions เป็นต้น
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนเข้าใจความแตกต่างและหลากหลายทางสังคมรวมถึงตระหนักในความต้องการของชุมชน เพื่อการเป็นพลเมืองโลกที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมโลกอย่างแท้จริง
หลักการสําคัญของชุมนุม AFS พัฒนานักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ มุ่งเน้นการส่งต่อการพัฒนาครูสู่ห้องเรียนและสู่ ชุมชน โดยการบูรณาการระหว่าง 3 ส่วนสําคัญ ได้แก่ ครู (ตัวกลางในการขับเคลื่อนการเรียนรู้), ห้องเรียน (พื้นที่ของการเรียนรู้), และชุมชน (ส่วนขยายการเรียนรู้สู่ชีวิตจริง) เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการเรียนรู้ของเอเอฟเอส
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เอเอฟเอส ประเทศไทย คาดหวังให้เกิดภายใต้การบูรณาการในครั้งนี้ คือการส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนที่ยังไม่มีโอกาสได้เดินทางไปศึกษาแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมยังต่างประเทศ สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ ด้าน ความฉลาดทางวัฒนธรรม มีความเข้าใจในความหลากหลายทางสังคม โดยสามารถนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้จริง และ เป็นตัวอย่างของพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ ตระหนักในความต้องการของชุมชนและส่งต่อประโยชน์ให้กับชุมชนต่อไปได้
ที่มา : มูลนิธิเอเอฟเอส ประเทศไทย
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อิศรา โสทธิสงค์