ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ (นายวัฒนา พุฒิชาติ) ตั้ง 4 อนุกรรมการฯ เร่งขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ “เน้นสร้างการรับรู้ ดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ สร้างความเข้มแข็ง และสนับสนุนด้านการวิจัยการจัดการเรียนการสอน”

20 มกราคม 2563

ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ (นายวัฒนา พุฒิชาติ) เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาการศึกษา และสนับสนุนการจัดการเรียนการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล   เร่งขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมจัดการศึกษา และดำเนินการตามแนวคิดการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่ได้จัดตั้งมาเพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้สถานศึกษามีอิสระในการจัดหลักสูตร มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการครูและบุคคลากรทางการศึกษาให้ได้รับการพัฒนาที่มีคุณภาพสูงและใช้เวลาในการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ เกิดการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมการที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ และขยายเครือข่ายด้านวิธีปฏิบัติให้เกิดนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนในพื้นที่อื่น ๆ ได้

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2562 ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้ลงนามคำสั่งที่ 5080/2562 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ประกอบไปด้วย 4 คณะ ดังนี้

1. อนุกรรมการส่งเสริมการรับรู้และมีส่วนร่วม มีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ (นายอภิศักดิ์ แซ่จึง) เป็นประธานอนุกรรมการ มีหน้าที่สำคัญในการประสานและส่งเสริมบุคคคล กลุ่มบุคคล ชุมชน และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาฯ และสร้างการรับรู้ให้กลุ่มเป้าหมายและคนทั่วไป

2. อนุกรรมการยุทธศาสตร์และแผน มีศึกษาการจังหวัด (นางวัชรกาญจน์ คงพูล) เป็นประธานอนุกรรมการ มีหน้าที่สำคัญในการปฏิบัติงานเลขานุการของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ รวมถึงการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันในส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามประเมินผลและรายงานการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ

3. อนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ มีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 (นายเสนีย์ เรืองฤทธิ์ราวี) เป็นประธานอนุกรรมการ มีหน้าที่สำคัญในการคิดค้นและจัดทำสื่อการสอนพัฒนาทคนิคและกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบใหม่เพื่อพัฒนาครูและบุคคลากรทางการศึกษา การวัดและประเมินผล รวมถึงการดำเนินงานอื่นๆ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

4. อนุกรรมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา มีอธิบดีสถาบันอาศรมศิลป์ (รองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม) เป็นประธานที่ปรึกษา และรักษาราชการแทน อธิบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (รองศาสตราจารย์ประกาศิต อานุภาพแสนยากร) เป็นประธานอนุกรรมการฯ มีหน้าที่สำคัญในการกำหนดประเด็นสำหรับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา ให้กับสถานศึกษาและบุคคลากรทางการศึกษา และคัดเลือกโครงการวิจัยตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษกำหนด

นอกจากนั้น เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจในการดำเนินการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการจังหวัดศรีสะเกษให้ไปเป็นในแนวทางเดียวกัน เกิดความเข้มแข็งในการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ จังหวัดศรีสะเกษจึงร่วมกับภาคีเพื่อการศึกษาไทย ได้แก่ มูลนิธิสยามกัมมาจล  ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กำหนดจัดประชุม “แผนการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ” ครั้งที่ 1 ประจำปี 2563 ในวันที่ 21 -22 มกราคม พ.ศ. 2563 เวลา 08.30 – 16.00 น. ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อวางแผนปฏิบัติการปฏิรูปการจัดการศึกษาในระดับพื้นที่ และหารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาและจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่มีคุณภาพ โดยคณะอนุกรรมการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ  ภาคีเพื่อการศึกษาไทย และเครือข่ายความร่วมมือในพื้นที่ รวมทั้งหลอมรวมพลังความคิดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับบริบทพื้นที่และเป็นแบบอย่างในการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาให้พื้นที่อื่นๆ ได้เรียนรู้ต่อไป

ดาวน์โหลดหนังสือราชการ : >> คำสั่งแต่งตั้ง <<
ดาวน์โหลดหนังสือราชการ >> หนังสือเชิญประชุม <<

สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
Written by นางสาวเสาวนีย์ ทิพย์ฤกษ์
นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สบน. สพฐ.
Photo by mgronline.com/
Artwork by เก ประเสริฐสังข์ ศศิธร สวัสดี และภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
MAKERSPACE นวัตกรรมห้องเรียนนักสร้าง โรงเรียนบ้านปลาดาว โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.เชียงใหม่พาคิด พาทำ หลักสูตรสถานศึกษาฉบับใหม่ “ฐานสมรรถนะ” สร้างพื้นที่การเรียนรู้ของนักเรียนสู่ “นวัตกรเชิงชีววิถี” โรงเรียนวัดตาขัน พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง
บทความล่าสุด