จ.บุรีรัมย์ เตรียมความพร้อม สู่พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

4 เมษายน 2567
จังหวัดบุรีรัมย์เตรียมความพร้อมเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567 สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.) ได้เรียนเชิญแกนนำผู้เสนอขอจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงว่าที่สถานศึกษานำร่องในจังหวัดมาร่วมรับฟังและซักซ้อมเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุม Online ประมาณ 30 คน

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ครม.มีมติให้จังหวัดบุรีรัมย์เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และอยู่ระหว่างให้นายกรัฐมนตรีลงนามเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจและรับทราบแนวทางในการขับเคลื่อนงาน สบน.จึงเสนอ 4 ประเด็นดังนี้

  1. กระบวนการดำเนินการเสนอขอความเห็นชอบเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์

คณะผู้เสนอจัดทำคำขอยื่นคำขอต่อสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดพิจารณาให้ความเห็นชอบ หลังจากนั้นให้ส่งคำขอมายัง สบน.เพื่อให้คณะกรรมการนโยบายพิจารณาให้ความเห็นชอบและเสนอ ครม.เพื่อพิจารณาต่อไป เมื่อ ครม.ให้ความเห็นชอบแล้วจะเข้าสู่การประกาศในราชกิจจานุเบกษา หลังจากนั้นให้ สบน.แจ้งไปยัง ศธจ.และเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการขับเคลื่อนเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการขับเคลื่อนจำนวนไม่เกิน 21 คน เมื่อได้คณะกรรมการขับเคลื่อนแล้วให้ส่งเรื่องมายัง สบน.เพื่อให้คณะกรรมการนโยบายพิจารณาให้ความเห็นชอบและแต่งตั้งต่อไป หลังจากนั้นให้คณะกรรมการขับเคลื่อนนัดประชุมเกี่ยวกับเรื่องการประกาศหลักเกณฑ์การอนุมัติสถานศึกษานำร่องเพื่อเข้าสู่การสรรหาสถานศึกษาที่มีความประสงค์จะเป็นสถานศึกษานำร่อง เมื่อได้สถานศึกษานำร่องที่ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการขับเคลื่อนแล้ว ให้ดำเนินการประกาศรายชื่อต่อไป

  1. ขั้นตอนการสรรหาคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษากำหนด โดยมีขั้นตอนดังนี้
  • ศธจ.จัดทำคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการขับเคลื่อน และเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดลงนาม
  • ผู้ว่าราชการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการขับเคลื่อน
  • ศธจ. จัดประชุม คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการขับเคลื่อน ครั้งที่ เพื่อกำหนดจำนวนในแต่ละองค์ประกอบของ กขน. ไม่เกิน 21 คน
  • คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการขับเคลื่อนแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ศธจ. จัดประชุม คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการขับเคลื่อน ครั้งที่ 2 เพื่อดำเนินการสรรหา พิจารณาคัดเลือกบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ให้ได้จำนวนในแต่ละองค์ประกอบที่กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 3 และจัดทำบัญชีรายชื่อคณะกรรมการขับเคลื่อน
  • ศธจ.ในฐานะประธานกรรมการสรรหาคณะกรรมการขับเคลื่อน เสนอบัญชีรายชื่อคณะกรรมการขับเคลื่อน มายัง สบน. เพื่อเสนอให้คณะกรรมการนโยบายพิจารณาแต่งตั้ง

  1. การเตรียมความพร้อมของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบให้จังหวัดบุรีรัมย์เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และเพื่อเตรียมความพร้อมและดำเนินการขับเคลื่อน จึงขอความอนุเคราะห์ให้ศึกษาธการจังหวัด และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการ ดังนี้

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด

  • แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตามประกาศ คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง องค์ประกอบ จำนวน คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม หลักเกณฑ์และวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นตำแหน่งของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565
  • เตรียมการออกแบบ สร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันของทุกภาคส่วนให้เป็นความหวังและพลังของการปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ สนับสนุน ส่งเสริม การคิดค้น และพัฒนานวัตกรรมการศึกษาระดับพื้นที่ ระดับสถานศึกษา และระดับชั้นเรียน เพิ่มความคล่องตัวในการบริหาร และการจัดการศึกษาให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ และลดความเหลื่อมล้ำในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • เตรียมการจัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาครั้งแรก โดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการยกร่างระเบียบวาระการประชุมตามกรอบหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 อาทิ (ร่าง) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ (ร่าง) ยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ (ร่าง) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่นำมาปรับใช้กับการจัดการศึกษาในสถานศึกษานำร่องให้เหมาะสมกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ สร้างความเข้าใจ และส่งเสริมให้สถานศึกษานำร่องนำหลักสูตรที่คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์เห็นชอบไปจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาหรือเลือกใช้หลักสูตรประเภทอื่นตามมาตรา ๒๕ สนับสนุนให้สถานศึกษานำร่องจัดทำหรือปรับแผนปฏิบัติการประจำปี โดยระบุแผนพัฒนานวัตกรรมการศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาของผู้เรียน

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

  • ประชาสัมพันธ์ให้สถานศึกษาในสังกัดทราบมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบให้จังหวัดบุรีรัมย์เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และภารกิจของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  • ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาที่ประสงค์จะเป็นสถานศึกษานำร่อง เตรียมดำเนินการขออนุมัติเป็นสถานศึกษานำร่อง ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 โดยขอความเห็นจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เสนอไปยังสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดบุรีรัมย์ในฐานะผู้รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์กำหนด
  • มอบหมายบุคลากรรับผิดชอบ ในการส่งเสริม สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือและติดตามสถานศึกษานำร่องในสังกัด รวมทั้งประสานและขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์

** สบน.ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม โดยให้พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์มีการจัดตั้งคณะกรรมการย่อยในแต่ละเรื่อง เพื่อให้มีความพร้อมในการดำเนินงานมากขึ้น

  1. ทบทวนแผนการดำเนินงานประจำปีเพื่อรองรับการเป็นสถานศึกษานำร่อง

ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษานำร่องวิเคราะห์ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ความสอดคล้องกับเป้าหมายในการพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา หรือ จุดเน้นของสถานศึกษาที่สถานศึกษากำหนด รวมถึงความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์/แผนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของจังหวัด สถานการณ์ปัจจุบันของสถานศึกษา การเลือกใช้นวัตกรรมมาใช้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และผลที่คาดว่าจะได้รับของการใช้นวัตกรรม

Link : https://drive.google.com/file/d/1548a0_ViAhT9N_QdVuKJ9A6PJNzIj0Rm/view?usp=sharing

แม้ว่าจังหวัดบุรีรัมย์เข้ามาเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุดท้าย แต่ทางคณะผู้เสนอขอจัดตั้งรวมถึงว่าที่สถานศึกษานำร่องได้แสดงให้เห็นว่ามีความพร้อมในการดำเนินงาน และพร้อมที่จะเร่งพัฒนาจังหวัดให้เท่าทันกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาพื้นที่อื่นอย่างแน่นอน

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

 


ผู้เขียน: สุวศิน เขียวสุวรรณ
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อิศรา โสทธิสงค์, ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
คู่มือการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ
บทความล่าสุด