แนวคิดการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง

16 ธันวาคม 2563

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2563 ตัวแทนคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง นําโดย นายสมศักดิ์ พะเนียงทอง นายปรัชญา สมะลาภา นายธงชัย มั่นคง ดร.จารุณี ตันติเวชวุฒิกุล นางอนุชิตา ชินศิริประภา พร้อมด้วยนายชาตรี ปุระมงคล ศึกษาธิการจังหวัดระยอง และตัวแทนสถาบันอาศรมศิลป์ เข้าพบ นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ในโอกาสเข้ารับตําแหน่งใหม่ เพื่อรายงานการขับเคลื่อนพื้นที่ นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง และรับฟังแนวคิดการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง

ประเด็นนําเสนอการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยองที่ได้รายงานนั้น ประกอบด้วย ประเด็นสําคัญ อาทิ ความเป็นมา จํานวนสถานศึกษานําร่อง กระบวนการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดระยอง ภาคีเครือข่ายความร่วมมือ เป็นต้น นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองได้ให้แนวคิดในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดระยอง ดังนี้

1. ชื่นชมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนที่ได้ร่วมมือกันจัดทำแผนยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดระยอง และจัดทํา กรอบหลักสูตรจังหวัดระยอง (Rayong MARCO) นับว่าเป็นทิศทางที่ดีสําหรับการพัฒนาระยองให้เป็นเมืองน่าอยู่ และเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ ขอให้มีการพัฒนาแผนและหลักสูตรดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
2. กรณีการสรรหาเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ตามที่ คณะกรรมการนโยบายแจ้งนั้น ขอให้ดําเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ทันกําหนด
3. เห็นชอบกับแนวคิดของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยองในการจัดตั้ง กองทุนเพื่อการศึกษา เนื่องจากเป็นการยกระดับการจัดการศึกษา การพัฒนาคนของจังหวัดระยองให้เคลื่อนที่ไป ข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมระยองและสังคมโลก ทั้งนี้ควรส่งเสริมให้ สถานศึกษานําร่องจัดทําแผนการขับเคลื่อนสถานศึกษาหรือแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยระบุแนวคิดหลัก เป้าหมาย ความต้องการรับการสนับสนุนให้ชัดเจน เมื่อมีการจัดตั้งกองทุนแล้วจะได้ดําเนินการอย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4. กรณีการให้อิสระกับสถานศึกษานําร่องในการพัฒนานักเรียนให้บรรลุเป้าหมายอย่างจริงจังนั้น เห็นควร ให้มีการดําเนินการยกเว้นภาระงานตามมาตรา 33 แห่ง พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัด พ.ศ.2562 เนื่องจากจะเป็นการแบ่งเบาภาระงานที่ไม่จําเป็นของบุคลากรในสถานศึกษา และจะทําให้ได้ใช้เวลาอยู่ใกล้ชิดกับ นักเรียน ทั้งนี้ผู้บริหารและครูต้องออกแบบและพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ จัดกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับความ ต้องการของนักเรียนมากที่สุด ขอให้สํานักงานศึกษาธิการจังหวัดทําหนังสือประสานหน่วยงานต้นสังกัดและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบด้วย
5. สถานศึกษานําร่องจังหวัดระยอง ควรมีตัวบ่งชี้คุณภาพ หรือ KPI ที่ชัดเจน เพื่อประเมินคุณภาพ ค้นหา จุดเด่น และพัฒนาได้ตรงประเด็น ขอให้คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ดําเนินการอย่างเร่งด่วน
6. การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษานําร่อง พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ควรกําหนดเส้นทาง (Career Path) ให้ชัดเจน ทั้งตําแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ไม่ให้เกิดการชะงักเมื่อมีการโยกย้าย รวมทั้งควรตรวจสอบอัตรากําลังผู้บริหารและครูให้เพียงพอต่อการจัดการศึกษาในสถานศึกษานําร่องอย่างต่อเนื่อง และไม่ทําให้เกิดผลกระทบกับนักเรียน


ผู้เขียน: คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง
กราฟิกดีไซน์เนอร์: รัตนากร พึ่งแก้ว, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
โรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา ปรับวิถีการเรียนรู้สู่ School Concept “Chamnan youngsters innovate society to well-being”พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา หนึ่งในนโยบายหลักด้านประสิทธิภาพ ของ สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565
บทความล่าสุด