พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา หนึ่งในนโยบายหลักด้านประสิทธิภาพ ของ สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565

17 ธันวาคม 2563

ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) และแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษากำหนดให้มีการพัฒนาเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัยให้มีสมรรถนะและคุณลักษณะที่ดี สมวัยทุกด้านโดยการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย มีเป้าหมายให้ผู้เรียนทุกกลุ่มวัยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะที่จำเป็นของโลกอนาคต สามารถแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลมีวินัย มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต รวมทั้งเป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่ มีความรับผิดชอบและมีจิตสาธารณะ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็น “การศึกษาขั้นพื้นฐานวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ” มุ่งเน้นความปลอดภัยในสถานศึกษา ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565 โดยตามประกาศนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2563 กำหนดให้ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เป็นหนึ่งในนโยบายหลักด้านประสิทธิภาพ ในข้อที่ 4 คือ “สนับสนุนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้เป็นต้นแบบพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน” (รายละเอียดตามประกาศ)


ผู้เขียน: เก ประเสริฐสังข์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: รัตนากร พึ่งแก้ว, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
แนวคิดการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยองคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิเคราะห์สถานการณ์ รร.ดาราวิทยาลัย ขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.เชียงใหม่ อย่างเป็นระบบ
บทความล่าสุด