สพฐ. แจ้ง ผอ.สพท. เป็นเจ้าภาพร่วม กขน. ขับเคลื่อนอย่างเต็มกำลังและจัดส่งรายชื่อผู้รับผิดชอบ

21 พฤศจิกายน 2566
สพฐ. แจ้ง ผอ.สพท. เป็นเจ้าภาพร่วม กขน. ขับเคลื่อนอย่างเต็มกำลังและจัดส่งรายชื่อผู้รับผิดชอบ

ตามเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 เพื่อรวมพลังทุกภาคส่วนในจังหวัดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ร่วมคิดค้นพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเชิงพื้นที่และแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้สถานศึกษานำร่องมีความคล่องตัวมากขึ้น ในการริเริ่ม พัฒนา คิดค้น ปรับเปลี่ยน สร้างการเปลี่ยนแปลงการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนและลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาและการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิด วิธีการ กระบวนการ และรูปแบบใหม่ ๆ ที่น่าเชื่อถือว่าสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและการจัดการศึกษาได้จริง แล้วถอดบทเรียนจากผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานมาใช้เพื่อการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง และให้มีการขยายผลนำแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐและของเอกชน สำหรับการบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในแต่ละพื้นที่ มีคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (กขน.) เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร่วมเป็นกรรมการ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (กนน.) กำหนด มีหน้าที่และอำนาจตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 อาทิ กำหนดยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงาน ประสานให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนงาน ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษานำร่องอย่างต่อเนื่อง ให้ความช่วยเหลือสถานศึกษานำร่อง จัดให้มีการประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษานำร่อง รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษารวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่อ กนน.

เพื่อให้สถานศึกษานำร่องทุกแห่งในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา/ สมรรถนะของผู้เรียน และลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา ด้วยการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ ที่สอดคล้องเหมาะสมกับอัตลักษณ์ของชุมชนและพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่อยู่ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและมีสถานศึกษานำร่อง

  • เป็นเจ้าภาพร่วมขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาอย่างเต็มกำลังและความสามารถ ในปีงบประมาณ 2567 – 2569 โดยเฉพาะการส่งเสริม สนับสนุน สร้างขวัญกำลังใจ และเป็นพี่เลี้ยงสถานศึกษานำร่อง ให้คำปรึกษาการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา รองรับการดำเนินงานตามแนวทางการใช้จ่ายเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของสถานศึกษานำร่อง พ.ศ. 2564
  • ดำเนินการร่วมและประสานการทำงานกับ กขน. ในการส่งเสริม สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือ และติดตามสถานศึกษานำร่องเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีคุณภาพและเกิดการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา รวมทั้งสื่อสารวิธีปฏิบัติที่ดีและน่าสนใจของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษานำร่องสู่สาธารณะ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามอบหมายบุคลากรที่มีศักยภาพและความสามารถสูง จำนวน 1 – 3 คน เป็นคณะทำงานหลักรับผิดชอบการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาระดับเขตพื้นที่
  • ส่งข้อมูลให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทาง https://forms.gle/hqaJ6Zt3VkwwCUmD8 ภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 (สามารถ Download หนังสือได้ที่นี่)

 

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

 


ผู้เขียน: อิศรา โสทธิสงค์, ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
รวมกฎหมายลำดับรองตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 และหนังสือที่เกี่ยวข้องประชุมสร้างคู่มือประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน
บทความล่าสุด