คุยนอกรอบ พัฒนากรอบการทำงาน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และ ผอ.สบน. พร้อมทีมงาน ร่วมปรึกษาหารือนอกรอบเพื่อปรับปรุงแผนและแนวทางในการทำงาน ขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

23 พฤศจิกายน 2563

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และ ผอ.สบน. พร้อมทีมงาน ร่วมปรึกษาหารือนอกรอบ เพื่อปรับปรุงแผนและแนวทางการทำงานขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.00 – 16.00 น. ห้องประชุม 1 สกว. อาคาร SM tower ชั้น 15 ถ. พหลโยธิน กรุงเทพมหานครฯ

ซึ่งเป็นการร่วมวงปรึกษาหารือเพื่อปรับปรุงระบบกำหนดกรอบงาน และวิธีขับเคลื่อนงานพื้นที่นวัตกรรมฯ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และ ผอ.สบน. พร้อมทีมงาน จนได้แนวทางการดำเนินการซึ่งมีประเด็นที่สามารถสรุปได้ดังนี้

  1. เร่งขับเคลื่อนกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562
  2. ยุทธวิธีหาแนวร่วมการทำงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อปฏิรูปการศึกษา
    2.1 การสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการประสานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้งส่วนกลางและเขตพื้นที่
    2.2 ภาคีเครือข่ายที่เข็มแข็ง ประสานเครือข่ายร่วมสนับสนุนทุนขับเคลื่อนการทำงานของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เช่น ให้มูลนิธิได้รับสิทธิพิเศษในการลดหย่อนภาษี การให้พื้นที่พยายามผสานความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายระดมทรัพยากรให้ได้จำนวนหนึ่ง จากนั้นส่วนกลางสนับสนุนเพิ่มเติมเข้าไปอีกส่วนหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นเท่าหนึ่งหรือสองเท่าของที่พื้นที่ระดมได้แล้วแต่ความจำเป็นเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ เป็นต้น
    2.3 ทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา โดยอาศัย 3 ปัจจัย
    – ความรู้ มีองค์ความรู้ที่ดีที่นำสู่การปฏิบัติ
    – การเมือง มีนโยบาย งบประมาณ และโครงสร้างที่ดีที่ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย
    – สังคม มีคนเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนพื้นที่ผลักดันและขับเคลื่อนการทำงาน
    โดยทั้งสามปัจจัยต้องเกื้อกูลสนับสนุนกันเกิดเป็นพลังขับเคลื่อนที่ช่วยแก้ปัญหาที่ยากจะแก้ไข
  3. ระเบิดจากภายใน พัฒนาให้สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเป็นหน่วยงานที่มีความเข็มแข็งและมีความพร้อมในด้านบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถพัฒนาและขยายผลความสำเร็จจากสถานศึกษานำร่อง อีกทั้งยังสามารถเป็นพี่เลี้ยงในการชี้นำ ชี้แนะ แก้ไขปัญหา เพื่อส่งเสริมพัฒนาให้สถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษามีหลักสูตรหรือนวัตกรรมเป็นของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถขยายผลสู่สถานศึกษาอื่นได้


ผู้เขียน: อิศรา โสทธิสงค์, รัตนากร พึ่งแก้ว
กราฟิกดีไซน์เนอร์: รัตนากร พึ่งแก้ว, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์
ภาพประกอบ: อิศรา โสทธิสงค์, ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชี้แจงภารกิจ สบน. ต่อที่ประชุม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศคณะอนุกรรมการด้านบุคคล ร่วมหารือแนวทางการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
บทความล่าสุด