ตามที่ สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.) สพฐ. ได้ส่งเสริมให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ทั้ง 20 พื้นที่ จัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนภายใต้กรอบวิจัย “การยกระดับและขับเคลื่อนเพื่อการขยายผลพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” ประจำปีงบประมาณ 2568 เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) นั้น
บัดนี้ บพท. ได้สรุปผลการพิจารณาแล้ว สบน. จึงขอเรียนให้ทราบว่ามีโครงการวิจัยที่ผ่านการพิจารณาและอยู่ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 10 โครงการ ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย โครงการละ 2,000,000 – 3,000,000 บาท ในจำนวนนี้มีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้รับทุน จำนวน 6 โครงการ ดังนี้
ภูมิภาค |
พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา |
หัวหน้าโครงการวิจัย/หน่วยงาน |
ชื่อโครงการวิจัย |
ภาคกลาง |
กรุงเทพมหานคร |
ผศ.ดร.ถวิกา เมฆอัคฆกรณ์ |
1.การพัฒนารูปแบบความร่วมมือด้านสมรรถนะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อส่งเสริมธนาคารหน่วยกิตของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร |
ภาคตะวันออก |
ระยอง |
ผศ.ดร.จรรยา ดาสา |
2.การยกระดับคุณภาพสถานศึกษาด้วยกลไกความร่วมมือการขยายผลการใช้นวัตกรรมและนิเวศการเรียนรู้ภายในและระหว่างสถานศึกษาที่ส่งเสริมคุณลักษณะผู้เรียนระยองสู่สากล |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
บุรีรัมย์ |
นายภัทรวรรธน์ นิลแก้วบวรวิชญ์ |
3.กลไกภาคีเครือข่ายความร่วมมือผ่านชุมชนการศึกษาเพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ของนักเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ |
|
ศรีสะเกษ |
นายสมาน เวียงปฏิ |
4.คุณภาพการขับเคลื่อนทางการศึกษา ภายใต้ พรบ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำหรับยกระดับนวัตกรรมการเรียนรู้และนวัตกรรมเชิงระบบของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ |
ภาคใต้ |
กระบี่ |
นายนันท์ สังข์ชุม |
5.การยกระดับและขับเคลื่อนนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยระบบและกลไกทางการศึกษาเพื่อพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกระบี่ |
|
สงขลา |
น.ส.ชนภรณ์ อือตระกูล |
6.ระบบกลไกพลังร่วมการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะเยาวชนผู้ประกอบการเมืองสงขลาบนฐานทุน Soft Power |
|
ปัตตานี |
นายสุริยา หมาดทิ้ง |
7.การขับเคลื่อนการบูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่ายเพื่อยกระดับสมรรถนะการอ่านออกเขียนได้ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดปัตตานี |
|
ยะลา |
ผศ.ดร.เกสรี ลัดเลีย |
8.ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาด้วยการยกระดับสมรรถนะพื้นฐานด้านภาษาและการรู้หนังสือของนักเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดยะลา |
|
นราธิวาส |
นายชาร์รีฟท์ สือนิ |
9.การบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาหลักสูตรและศูนย์บ่มเพาะสมรรถนะผู้เรียนสำหรับการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่บนรากฐานคุณธรรมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดนราธิวาส |
|
จชต. (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) |
นายอับดุลฟัตตาห์ จะปะกียา |
10.การสร้างสรรค์พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา: WAQF ระบบการบริหารจัดการใหม่กับการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะแบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้และความยั่งยืนสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนใต้ |
เป้าหมายของกรอบการวิจัยนี้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 อย่างยิ่ง (รายละเอียดดังนี้ https://pmua.or.th/) ซึ่งเป้าหมายของกรอบการวิจัยดังกล่าวมี 4 ประการ ดังนี้
1.เกิดการขยายผลนวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีอยู่ ไปใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่น ในพื้นที่เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาตลอดจนสมรรถนะต่าง ๆ ของผู้เรียน และมีการวัดผลการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เข้าร่วม โดยมีการรายงานผลการเปลี่ยนแปลงให้เห็นอย่างชัดเจนเทียบก่อนและหลังการเข้าร่วมหรือก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจน
2.เกิดนวัตกรรมที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในด้านคุณภาพการศึกษาและการเข้าถึงการศึกษา เช่น การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในกลุ่มที่ยากจนด้อยโอกาสหรือในโรงเรียนชายขอบ การเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษาและการเรียนรู้สมัยใหม่ของสถานศึกษาขนาดเล็กหรือกลุ่มเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา การลดช่องว่างด้านคุณภาพการศึกษาระหว่างสถานศึกษาในเมืองและในชนบท เป็นต้น
3. มีการใช้ประโยชน์จากการกระจายอำนาจและการให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษานําร่อง ตาม พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ในการบริหารจัดการการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการพัฒนาหลักสูตร ต้านการจัดหาตำราและสื่อการเรียนรู้ ด้านการทดสอบและประเมินผล ด้านการบริหารบุคลากร และงบประมาณ เป็นต้น
4. เกิดการสร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกัน ระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ที่แสดงให้เห็นระบบนิเวศทางการศึกษาใหม่ โดยภาคีภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน การบริหารจัดการ การระดมทรัพยากร การติดตามความก้าวหน้า รวมถึงการเป็นผู้รับผิดชอบ และการผลักดันการใช้ประโยชน์ในประเด็นซึ่งได้มีการปลดล็อกจาก พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 และคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้เกิดผลต่อผู้เรียนในพื้นที่
แผนภาพ กรอบการวิจัย
ทั้งนี้ แต่ละโครงการวิจัยจะมีระยะเวลาดำเนินการ 15 เดือน หรือ 1 ปี 3 เดือน (ตั้งแต่ มีนาคม 2568-พฤษภาคม 2569) โดยจะมีการนำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงานต่อคณะอนุกรรมการพิจารณา ติดตาม และประเมินผล กรอบการวิจัยพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เป็นระยะ ๆ ซึ่งสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.) จะประสานการดำเนินงานร่วมกันกับ บพท. อย่างใกล้ชิด รวมทั้งนำผลสู่การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในระดับนโยบายต่อไป
ผู้เขียน: นายพิทักษ์ โสตถยาคม
กราฟิกดีไซน์เนอร์: นางสาวนิฎฐา ขุนนุช