เกมเป็นฐานสร้างการเรียนรู้ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี

5 สิงหาคม 2564

โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 เปิดการเรียนการสอนในระดับชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าล้อ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ซึ่งบริหารงานโดย นางสาววิไล  กวางคีรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาดินวิทยาคาร ในวันนี้ทางโรงเรียนมีนวัตกรรมที่อยากสะท้อนให้เห็นถึงกิจกรรมภายในโรงเรียนนั่นคือ

ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา
โดยใช้เกมเป็นฐาน

กิจกรรมเพิ่มเวลารู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Input

  • มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ของหลักสูตรฯ
  • หลัก 4 H

Process

  • กำหนดเรื่อง
  • ออกแบบกิจกรรม
  • ดำเนินการจัดกิจกรรม
  • การวัดและประเมินผล

Outcome  

  • มีทักษะการคิดตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัดของหลักสูตร
  • มีสมรรถนะหลักของผู้เรียน
    สมรรถนะที่ 5 ทักษะชีวิตและความเจริญแห่งตน
    สมรรถนะที่ 7 ทักษะการคิดขั้นสูงและนวัตกรรม
    สมรรถนะที่ 9 การทำงานแบบรวมพลังเป็นทีม และมีภาวะผู้นำ
    สมรรถนะที่ 10 การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง/ตื่นรู้ที่มีสำนึกสากล

การพัฒนาทักษะการใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา โดยใช้เกมเป็นฐาน โดยชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้พัฒนาการใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหาโดยใช้เกมเป็นฐาน จำนวน 5 ชุดกิจกรรม ประกอบด้วย

  1. เกมกาญจนบุรี

     

  2. เกม Monster

     

  3. เกมจ๊ะเอ๋

     

  4. เกมปลูกหญ้า

     

  5. เกมการ์ดต้านทุจริต ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมย่อย 4 กิจกรรม คือ เกมประโยชน์ส่วนตน ประโยชน์ส่วนรวม , เกมคิดฐานสอง คิดฐานสิบ , เกมจริยธรรม-การทุจริต และ เกมประโยชน์ทับซ้อน

กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ เป็นกิจกรรมที่สามารถออกแบบการจัดกิจกรรมได้อย่างหลากหลาย เพราะไม่ต้องยึดติดกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ มาตรฐานตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้ แต่สามารถออกแบบกิจกรรมให้เกิดการบูรณาการ เชื่อมโยง หรือเฉพาะเจาะจงในการพัฒนาผู้เรียนเฉพาะด้านได้ จึงได้นำแนวคิดของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน และแนวคิดกิจกรรมวิทยาการคำนวณแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (0) เพื่อพัฒนาทักษะการใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา  ให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร

โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร พัฒนานวัตกรรมการนิเทศการศึกษา ด้วยระบบการโค้ช (Coaching) และระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) คือ 3Q  Model เพิ่มสมรรถนะครู

ซึ่งในแต่ละกิจกรรมนั้นทางโรงเรียนได้คิดค้นและพัฒนาชุดกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมให้เชื่อมโยงบูรณาการกับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และได้พัฒนาชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างสรรค์เกมส์ สามารถประยุกต์ได้กับทั้งคุณครู บุคลากรภายในโรงเรียนและนักเรียนเองด้วย

สุ่มความคิดกับเราที่

Facebook – สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา – EduSandbox
Group Facebook – EduSandbox – พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา


ผู้เขียน: ณัฐมล ไชยประดิษฐ์
ผู้ให้สัมภาษณ์: วิไล  กวางคีรี  ผู้อำนวยการโรงเรียนเขาดินวิทยาคาร
                          ศุภวรรณ ทักษิณ    ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนเขาดินวิทยาคาร
ผู้สัมภาษณ์: ณัฐมล ไชยประดิษฐ์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ปราชญาพร   แช่ใจ
ภาพประกอบ: โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร จังหวัดกาญจนบุรี

Facebook Comments
การประชุมออนไลน์ผู้บริหารโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 286 รร. เพื่อยืนยันการเข้าร่วมทดลองใช้กรอบหลักสูตรใหม่ (หลักสูตรฐานสมรรถนะ) สู่กระบวนกาวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ“นวัตกรเชิงชีววิถี การเรียนรู้สู่วิถีพอเพียง” หลักสูตรฐานสมรรถนะของโรงเรียนวัดตาขัน พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง
บทความล่าสุด