สะท้อนผลจากการตรวจราชการเฉพาะด้าน (Agenda-based) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ของสำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล สป.ศธ. “ให้ Focus ที่ปัญหาแท้ แก้ด้วยนวัตกรรม ทำหลักสูตรพื้นที่ ต้องมีพี่เลี้ยงดูแล”

25 ธันวาคม 2562

สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.) ได้รับไฟล์เอกสารรายงานผลการตรวจราชการตามนโยบายการตรวจราชการเฉพาะด้าน (Agenda-based) เรื่อง เขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2562 ช่วงเดือนเมษายน – กันยายน 2562 โดยนายเฉลิมชนม์ แน่นหนา ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ จากสำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2562

ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้เป็นการสะท้อนมุมมองของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการต่อการดำเนินการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในระยะแรกของการประกาศใช้ พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ซึ่งข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) จุดเริ่มต้น 2) การปฏิบัติ และ 3) กระบวนการปลายทาง แต่ละด้านมีข้อเสนอแนะย่อย ๆ 3-4 ข้อ ซึ่งสำนักงานบริหารพื้นที่นัวตกรรมการศึกษา เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนนโยบายและการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติของแต่ละพื้นที่ แต่ละจังหวัดได้เป็นอย่างดี จึงขอนำเสนอสาระสำคัญและเอกสารเล่มเต็มของรายงานฉบับนี้ ดังนี้

1. จุดเริ่มต้น
1.1 การปรับกระบวนการคิดสร้างนวัตกรรมในสถานศึกษา โดยนําปัญหาของการจัดการศึกษา มาเป็นตัวตั้ง และกําหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะทําถึงแค่ไหนในช่วงระยะเวลาที่กําหนด
1.2 ต่อยอดนวัตกรรมการศึกษาที่มีอยู่แล้วให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้นกว่าเดิมหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้เรียนเป็นสําคัญ
1.3 การสร้างนวัตกรรมการศึกษาควรมีการศึกษา วิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงจากจุดเล็กไป จุดใหญ่ เช่น ระดับห้องเรียน ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา หรือจับกลุ่มโรงเรียนในการดําเนินการ เพื่อสร้าง นวัตกรรมการศึกษาที่ส่งผลสัมฤทธิ์ต่อคุณภาพการศึกษา

2. การปฏิบัติ
2.2 สถานศึกษา ควรมีพี่เลี้ยงในการดําเนินงาน เช่น มหาวิทยาลัยในพื้นที่ เอกชนที่เป็น ผู้ประกอบการที่ประสบความสําเร็จ เพื่อให้ความช่วยเหลือในด้านความรู้ การสร้างแรงบันดาลใจ
2.3 การพัฒนาหลักสูตรควรคํานึงความต้องการของผู้เรียนและเหมาะสมกับสภาพบริบทของพื้นที่ และสื่อต้องให้มีความทันสมัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อออนไลน์ เพื่อให้เกิดโรงเรียนนวัตกรรมการศึกษา
2.4 การปรับหลักสูตร ควรมีแล็ปท็อปในการศึกษา วิจัย เพื่อสรุปผลให้แน่ชัดว่าสามารถนําไปใช้ ได้จริงหรือไม่ และสามารถนําผสมาพัฒนาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพก่อนนําไปใช้ในการจัดการเรียน

3. กระบวนการปลายทาง
3.1 ต้องมีการติดตามประเมินผลการดําเนินการอย่างสม่ำเสมอ ทําทุกระยะ 3-6 เดือน และส่งต่อ โครงการสร้างนวัตกรรมการศึกษาไปยังรุ่นต่อๆ ไป
3.2 การจัดทําฐานข้อมูลการศึกษาในระดับจังหวัด เพื่อเข้าสู่การเป็นเมืองนวัตกรรมการศึกษา
3.3 ผู้บริหารสถานศึกษามีการโยกย้ายทําให้ขาดความต่อเนื่อง ควรกําหนดให้อยู่ครบ 7 ปี ตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมศึกษา พ.ศ. 2562 เพื่อให้การขับเคลื่อนเกิดสัมฤทธิ์ผลในทางปฏิบัติ และควรมีรางวัลเป็นการสร้างขวัญกําลังใจ

สำหรับเอกสารรายงานผลการตรวจราชการตามนโยบายการตรวจราชการเฉพาะด้าน (Agenda-based) เรื่อง เขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2562 ประกอบด้วย 5 บท ได้แก่
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 กฎระเบียบและประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 การดำเนินการตรวจราชการและการเก็บข้อมูล
บทที่ 4 ผลการตรวจราชการและติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
บทที่ 5 สรุปผลการตรวจราชการและติดตามและข้อเสนอแนะ

ผู้สนใจสามารถดูเล่มเต็ม มีความหนา 71 หน้า ได้ที่นี่ https://bit.ly/35W08rd

Written by พิทักษ์ โสตถยาคม
แหล่งข้อมูล รายงานผลการตรวจราชการตามนโยบายการตรวจราชการเฉพาะด้าน (Agenda-based) เรื่อง เขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2562 สำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
Artwork by เก ประเสริฐสังข์ ศศิธร สวัสดี และภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
พลังชุมชนและภาคีเครือข่าย ร่วมเนรมิต Learning Space โรงเรียนบ้านสมานมิตร ในโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดระยองโรงเรียนบ้านสมานมิตร พื้นที่นวัตกรรมระยอง บูรณาการหลักสูตร สิ่งแวดล้อม & สมาธิ ชุมชนเสริมทัพ!
บทความล่าสุด