Core Team BBL ศรีสะเกษ รวมพลังพลิกโฉมโรงเรียนเพื่อตอบโจทย์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

27 กุมภาพันธ์ 2563

“Core Team BBL ศรีสะเกษ” เกิดจากการรวมพลังของศึกษานิเทศก์ สพป.ศก. เขต 1-4 ศึกษานิเทศก์ ศธจ. , ศึกษานิเทศก์ สพม. 28  ทีมวิชาการในพื้นที่  ผู้อำนวยการและครูแกนนำโรงเรียนนำร่อง Brain-based Learning (BBL) ทั้ง 8 โรงเรียน ได้แก่ ร.ร.อนุบาลยางชุมน้อย (หน่วยคุรุราษฎร์รังสรรค์) , ร.ร.บ้านรุ่ง , ร.ร.บ้านพงสิม , ร.ร.บ้านอีหนา (รัฐประชานุกูล) , ร.ร.นิคม 2 (ตชด.สงเคราะห์) , ร.ร.บ้านอาวอย ,ร.ร.บ้านไผ่หนองแคน และร.ร.บ้านแดง (รัฐราษฎร์พัฒนา)และมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ กำจัด (มหาชน) จำนวน 30 คน ได้ร่วมกันจัดวง PLC Core Team BBL (Brain-based Learning) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ครั้งที่ 2 ขึ้นในวันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงเรียนบ้านอาวอย อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อถอดบทเรียนการขับเคลื่อนตลอดระยะเวลา 1 ปี และแบ่งบทบาทหน้าที่ เพื่อวางแผนขับเคลื่อนโรงเรียนนำร่อง Brain-based Learning (BBL) ในปีการศึกษา 2563

วง PLC แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ ทำให้ “Core Team BBL ศรีสะเกษ” เกิดพลังหลอมรวมใจเป็นหนึ่ง ผ่านการ “รู้จักตนเอง และเข้าใจคนอื่น” จนเกิดการระดมสมอง พร้อมเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนโรงเรียนนำร่องไปด้วยกัน โดยคณะทำงาน Core Team BBL ศรีสะเกษ ได้แบ่งบทบาทออกเป็น 4 ฝ่าย เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนโรงเรียนนำร่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์การขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ คือ

1. ฝ่ายอำนวยการและเลขานุการ
2. ฝ่ายวิชาการ
3. ฝ่ายวัดและประเมินผล
4. ฝ่ายสื่อสาร

โดยแต่ละฝ่ายจะร่วมกันวางแผนขับเคลื่อนโรงเรียนนำร่อง BBL ไปด้วยกัน โดยใช้ทุนและศักภาพในพื้นที่ เป็นพลังในการพลิกโฉมโรงเรียนตามแนวคิด Brain-based Learning เช่น การสร้างทีมครูแกนนำที่มาจากโรงเรียนนำร่อง BBL ในจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อให้สามารถเป็นทีม Train The Trainer ยกระดับความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทาง Brain-based Learning ของเพื่อนครูทั้งในและนอกโรงเรียน เป็นต้น

จากการร่วมคิด ร่วมลงมือทำ ของ “Core Team BBL ศรีสะเกษ” พบว่า “เมื่อไหร่ที่โจทย์เป็นของพื้นที่อย่างแท้จริง เมื่อนั้นพลังการเรียนรู้และการรวมทีม เพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนไปด้วยกัน จึงเกิดขึ้น” #ไปด้วยกันไปได้ไกล #พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ


ผู้เขียน: วลีรัตน์  มิ่งศูนย์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: เก ประเสริฐสังข์, ศศิธร สวัสดี, ภัชธีญา ปัญญารัมย์
ภาพประกอบ: วลีรัตน์  มิ่งศูนย์

Facebook Comments
ผู้ว่าฯ ศรีสะเกษ ร่วมประชุมพิจารณาองค์ประกอบของกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการขับเคลื่อน ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562กสศ. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ TSQP และพื้นที่นวัตกรรมเชียงใหม่ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช แนะ ปรับการสอนกลับทางให้เด็กเรียนรู้เริ่มจากปฏิบัติสู่ทฤษฎี
บทความล่าสุด