สพป.เชียงใหม่ เขต 6 ปลื้ม! ผลการสอนภาษาไทยโดยใช้ภาษาถิ่นเป็นฐาน “แก้ปัญหาอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้” ของเด็กชาติพันธุ์ ผ่านระบบ CSL (Cross School Learning) จากโรงเรียนบ้านขุนแตะ โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่

3 ตุลาคม 2562

โรงเรียนบ้านขุนแตะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ร่วมกับมูลนิธิภาษาศาสตร์ประยุกต์ คิดค้นนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยบนฐานภาษาถิ่นสำหรับเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ โดยใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นสื่อเพื่อเรียนรู้การใช้ภาษาไทย ซึ่งเป็นการใช้ต้นทุนทางภาษาและวัฒนธรรมที่มีอยู่เชื่อมโยงสู่ภาษาไทยที่เด็กยังไม่รู้ อักทั้งยังสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน เพื่อแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์มาตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มดังกล่าวสูงขึ้น

ในการนี้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ได้ขยายผลการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย โดยใช้ภาษาถิ่นเป็นฐานให้กับกลุ่มโรงเรียนในสังกัด โดยใช้นวัตกรรมสอนข้ามโรงเรียน หรือ Cross School Learning (CSL) เพื่อแก้ปัญหาครูไม่ครบชั้นและสอนไม่ตรงวิชาเอก ระหว่างโรงเรียนต้นทาง โรงเรียนสาขา และโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้โรงเรียนบ้านขุนแตะเป็นโรงเรียนต้นทางในการถ่ายทอดสดไปยังโรงเรียนปลายทาง ทั้งนี้จากการทดลองสอนผ่านระบบ Conference ปรากฏผลสัมฤทธิ์จากโรงเรียนต้นทางถึงโรงเรียนปลายทางดีขึ้น จึงนำนวัตกรรมนี้มาใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องการอ่านออกเขียนได้ เพื่อนำไปสู่สาระการเรียนรู้อื่นๆได้เป็นอย่างดี เพราะหากเด็กอ่านออกเขียนได้แล้วคุณภาพในวิชาอื่นๆก็จะตามมา

Video by พุธเช้าข่าว สพฐ. (CMA6 TV)
Written by ภัชธีญา ปัญญารัมย์ และ ภวรัญชน์ ไวสกุล
Artwork by เก ประเสริฐสังข์ ศศิธร สวัสดี และภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
ดร.อัมพร พินะสา รองเลขาธิการ กพฐ. ชี้พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ต้องสร้างปัญญาให้เด็กไทย ให้ “อยู่รอด-อยู่ร่วม” ได้ โดยใช้กิจกรรมฝึกฝนจนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และให้พื้นที่ Recycle งานโครงการที่เป็น “ขยะการเรียนรู้” ของผู้เรียน“บ้านพุย” โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมเชียงใหม่ ใช้นวัตกรรม “ทวิภาษา” แก้ปัญหาอ่านเขียนภาษาไทยของเด็กชาติพันธุ์ อย่างมีประสิทธิผล สอดคล้องบริบท ตอบโจทย์ชุมชนและพื้นที่
บทความล่าสุด