“บ้านพุย” โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมเชียงใหม่ ใช้นวัตกรรม “ทวิภาษา” แก้ปัญหาอ่านเขียนภาษาไทยของเด็กชาติพันธุ์ อย่างมีประสิทธิผล สอดคล้องบริบท ตอบโจทย์ชุมชนและพื้นที่

4 ตุลาคม 2562

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2562 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มอบหมาย ดร.พิทักษ์ โสตถยาคม รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เป็นคณะทำงานศึกษาเรียนรู้สภาพปัจจุบันและสิ่งที่จะดำเนินการในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ หรือ Chiang Mai Sandbox ร่วมกับบุคลากรสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา อีก 3 คน ประกอบด้วย น.ส.ชวิกานต์ แจ่มจันทร์ นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ น.ส.จารุวรรณ กาบซ้อน นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ และ น.ส.ภวรัญชน์ ไวสกุล นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ ลงพื้นที่โรงเรียนบ้านพุย อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายสมโภชน์ ศรีชะนา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 และคณะศึกษานิเทศก์ ให้การต้อนรับ ร่วมลงพื้นที่ และร่วมประชุมสะท้อนการดำเนินงานในครั้งนี้

โรงเรียนบ้านพุย ใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบพหุ/ทวิภาษา ที่สามารถทำให้เด็กชาติพันธุ์ พูด ฟัง อ่าน เขียน ได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาท้องถิ่น สอดคล้องกับบริบทโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชนบทบนพื้นที่สูง เด็กนักเรียนเป็นชนเผ่ากะเหรี่ยง 100% ซึ่งพบปัญหาทางด้านภาษา คือ เด็กไม่สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ กลัวการมาเรียน สื่อสารกับครูไม่ได้ ทำให้ครูเกิดความท้อแท้และขอย้าย ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนต่อโรงเรียนเป็นอย่างมาก ทางมูลนิธิภาษาศาสตร์ประยุกต์ได้เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษา ร่วมออกแบบกระบวนการเรียนการสอนและจัดอบรมพัฒนาครู พร้อมทั้งผลิตสื่อ โดยนำเอากลวิธี TPR (Total physical Response) มาเป็นตัวช่วยในการทำความเข้าใจภาษาไทยให้ผู้เรียน

ที่มา Facebook: สินอาจ ลำพูนพงศ์
(อดีตผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1,2 และ 5)

“ทวิภาษา” นวัตกรรมการศึกษาเพื่อเด็กบ้านพุย เป็นการจัดการเรียนรู้ของเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ หรือนักเรียนที่ใช้ภาษาอื่นเป็นภาษาที่ 1 เพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านออกเขียนได้ภาษาไทย ซึ่งโรงเรียนบ้านพุยได้นำนวัตกรรมนี้มาใช้กับนักเรียนชั้นปฐมวัย – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ครูถิ่นเข้ามาช่วยในการสื่อสารภาษากะเหรี่ยง และค่อยๆให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาไทย ส่งผลให้นักเรียนโรงเรียนบ้านพุยสามารถฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทยได้อย่างมีคุณภาพ เด็กมีความสุขกับการเรียน กล้าแสดงออก อัตราการขาดเรียนลดลง แต่อย่างไรก็ตาม นายวรภรพงศ์ ปันเดง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพุย กล่าวว่า โรงเรียนยังประสบปัญหาจำนวนครูไม่ครบชั้นเรียน และยังต้องการครูถิ่นหลายอัตรา เพื่อให้การขับเคลื่อนนวัตกรรมทวิภาษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“ เป็นที่น่าสังเกตว่า นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบพหุ/ทวิภาษา สามารถทำให้เด็กชาติพันธุ์ พูด ฟัง อ่าน เขียน ได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาท้องถิ่น หากวิธีการเหล่านี้ ถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยควบคู่กับวิชาภาษาอังกฤษ จะดีเช่นไร?? ”

Written by ชวิกานต์ แจ่มจันทร์ จารุวรรณ กาบซ้อน และภวรัญชน์ ไวสกุล
Photo by ชวิกานต์ แจ่มจันทร์ จารุวรรณ กาบซ้อน และภวรัญชน์ ไวสกุล
Artwork by เก ประเสริฐสังข์ ศศิธร สวัสดี และภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
สพป.เชียงใหม่ เขต 6 ปลื้ม! ผลการสอนภาษาไทยโดยใช้ภาษาถิ่นเป็นฐาน “แก้ปัญหาอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้” ของเด็กชาติพันธุ์ ผ่านระบบ CSL (Cross School Learning) จากโรงเรียนบ้านขุนแตะ โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.) สพฐ. และสำนักบริหารโครงการพิเศษและกิจการนานาชาติ (สบน.) สสวท. ร่วมหารือแนวทางการส่งเสริม SMT ในสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
บทความล่าสุด