มาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562

13 สิงหาคม 2562

ด้วย พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 มาตรา 15 (6) กำหนดให้คณะกรรมการนโยบาย ดำเนินการกำหนดมาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งคำว่า มาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ไม่ปรากฏความหมายที่ชัดเจนในบทนิยามของ พ.ร.บ. ดังนั้น สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และผู้แทนภาคีเพื่อการศึกษาไทย จึงได้ติดต่อประสานงานไปยัง รศ.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ กรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการผลักดันเรื่องนี้เข้าบรรจุไว้ใน พ.ร.บ. เพื่อขอพบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ทราบถึงความหมาย เจตนารมณ์ของการบรรจุเรื่องนี้ ไว้ใน พ.ร.บ. ในวันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2562 ณ ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

ความเป็นมาของการบรรจุคำว่ามาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล เข้าไว้ใน พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
เดิมการทำงานของกระทรวงศึกษา Centralize ส่วนกลางมีหน้าที่ออกแบบ และวางกรอบการทำงาน ทุกคนมีหน้าที่ทำตามกรอบที่ให้ไว้ กรอกข้อมูลตามที่กระทรวงกำหนด วิธีการจัดการทรัพยากรบุคคลต้องเป็นอย่างที่กระทรวงกำหนด ทุกอย่างต้องเป็นอย่างที่กระทรวงกำหนดหมดแต่เมื่อมี พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 หลายสิ่งหลายอย่างจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

ประเด็นที่ 1 เรื่องความหลากหลาย
เมื่อเรามีแนวคิดเรื่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เราก็เริ่มเปิดให้สถานศึกษามีอิสระ สามารถจัดการศึกษาได้ตามความต้องการของตัวเองมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะทำให้เกิดความหลากหลาย เช่น เรื่องหลักสูตร เมื่อหลักสูตรมีความหลากหลาย ระบบการประเมินผลก็จะมีความหลากหลาย รายวิชาก็จะมีความหลากหลาย ความเป็นอิสระทางวิชาการก็จะสูงขึ้น ก็จะเกิดความแตกต่างกันในหลายเรื่อง เช่น หลักสูตรทั่วไปใช้ชื่อวิชาว่า สังคมศึกษา แต่สถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมอาจใช้ชื่อวิชาว่า สังคมศึกษาประยุกต์ คำถามที่จะเกิดตามมาคือสังคมศึกษากับสังคมศึกษาประยุกต์ มันคือวิชาเดียวกันหรือไม่ จะสามารถเทียบเคียงกันได้หรือไม่ ถ้าเกิดจะต้องเก็บผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาของผู้เรียนไว้ในระบบฐานข้อมูล จะเก็บอย่างไร หรืออีกกรณีการบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นการให้เกรด 1 2 3 4 แล้วพื้นที่นวัตกรรมบอกว่าจะใช้วิธีการบันทึกเป็นเปอร์เซ็นต์จะเป็นอย่างไร ก็จะเกิดความยุ่งยากและสับสนขึ้นกับการกรอกข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลผลสัมฤทธิ์ระหว่างโรงเรียนด้วยกัน ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงว่าการเทียบเคียงเกรดหรือคะแนนอย่างเดียว แต่กำลังหมายรวมถึงเราจะกรอกคะแนนลงในฐานข้อมูล เราจะดำเนินการกรอกอย่างไรช่องไหนใน Platform ใด ฉะนั้นโรงเรียนก็จะต้องไปสร้างฐานข้อมูลของตนเองเพื่อที่จะให้สามารถดำเนินการกรอกเกรดหรือคะแนนของนักเรียนในโรงเรียนของตนได้ หากส่วนกลางเราจะมีการดำเนินการรวบรวมข้อมูลเหล่านี้คงจะเกิดความยุ่งยากสับสนวุ่นวายขึ้นอย่างมาก ซึ่งเมื่อรายวิชามีอิสระมากขึ้นการวัดและประเมินผลมีอิสระมากขึ้นก็จะเกิดปัญหาตรงนี้ขึ้นอย่างแน่นอน

ประเด็นที่ 2 เรื่องคนหรือบุคลากรทางการศึกษาและการเงินการบัญชี
ด้วยพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้อิสระในการบริหารจัดการบุคลากร ซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องของสมรรถนะของบุคลากร ตรงนี้จะมีการกรอกข้อมูลอย่างไร จะมีมาตรฐานการจัดเก็บอย่างไร เมื่อมีการเคลื่อนย้ายหรือส่งต่อในเรื่องของบุคลากรจะจัดการอย่างไร ทั้งภายในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาด้วยกันเองและนอกพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
ความอิสระต่างๆเหล่านี้ยังรวมไปถึงความอิสระในการบริหารจัดการด้านอื่นๆ เช่น ด้านการเงิน ด้านการบัญชี การสั่งซื้อตำราหนังสือ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะมีความหลากหลายมากขึ้น
ดังนั้นแน่นอนว่า ผู้เรียนมีโอกาสจะย้ายที่เรียน ดังนั้นข้อมูลเกี่ยวกับการเรียน เกี่ยวกับผลการเรียน เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ จะสามารถ Transfer ไปยังโรงเรียนใหม่ได้หรือไม่ อย่างไร คงจะไม่เป็นการดีแน่ถ้าจะต้องมานั่งกรอกข้อมูลใหม่ตีความข้อมูลกันใหม่ในยุคที่เราเรียกว่ายุค 4.0 ยิ่งเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาคงจะดูไม่เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ถ้าเราจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการควรจะทำให้เป็นแบบ Single entry กรอกข้อมูลครั้งเดียวใช้ได้ตลอดเส้นทางการเดินทางของข้อมูล
เพราะฉะนั้น การพูดคุยกันได้ของฐานข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งจริงๆ แล้วเรื่องนี้ไม่ควรจะถูกจำกัดอยู่เฉพาะพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในภาพรวมของทั้งประเทศระบบการศึกษาควรจะต้องดำเนินการมาในทิศทางนี้ทั้งหมด ซึ่งด้วยตัวบทกฎหมายหรือ พ.ร.บ. ก็ชี้นำอยู่แล้วว่าอะไรที่ดำเนินการได้ดีหรือเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาก็จะต้องถูกนำไปขยายผลใช้ในภาพรวมระดับประเทศต่อไป
ทั้งนี้การพัฒนาเรื่องระบบฐานข้อมูลหากดำเนินการในภาพรวมขนาดใหญ่ก็จะประสบปัญหากว่าจะตกลงกันได้หรือดำเนินการได้จะต้องใช้ระยะเวลายาวนานซึ่งก็จะไม่ทันการเปลี่ยนแปลง ในระบบการศึกษานี้ค่อนข้างแตกต่างจากระบบสาธารณสุข ที่จะมีองค์การอนามัยโลกคอยกำหนดรหัสข้อมูลทางด้านสาธารณสุขที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องใช้อ้างอิงเป็นแบบเดียวกัน แต่ระบบการศึกษานั้นในหลายประเทศก็ยังเป็นเรื่องท้าทายที่ยังดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้กันอยู่

บทสรุป
กล่าวโดยสรุป เมื่อพื้นที่มีความหลากหลาย คนมีความหลากหลาย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้คนใช้ ภาษาเดียวกันในการพูดคุย ถึงจะสามารถสื่อสารกันได้เข้าใจ ซึ่งคำว่าใช้ภาษาเดียวกันนี้มีหลักการอยู่ 2 อย่าง คือ
1) คำที่ใช้คำเดียวกันต้องมีความหมายเหมือนกัน
2) Grammar หรือไวยากรณ์ต้องเป็นแบบเดียวกัน
หรือบางแนวคิดอาจเรียกว่า
1) Data Standard
2) Data Properability
เรากำหนดมาตรฐานข้อมูล เพื่อให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาสามารถใช้ซอฟต์แวร์ที่หลากหลายได้บนพื้นฐานที่ว่า ซอฟต์แวร์นั้นต้องเข้าใจและรองรับมาตรฐานข้อมูลเหล่านี้ สามารถนำเข้า (input) และส่งออก (Export) ข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเหล่านี้ ด้วยแฟ้มข้อมูลแบบนี้ด้วย Structure แบบนี้แบบที่มีมาตรฐานข้อมูลที่ชัดเจนตรงกันได้
ดังนั้น หากไม่สร้างหรือไม่มีมาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล สุดท้ายพื้นที่นวัตกรรมจะไม่ได้สร้างนวัตกรรม เหตุผลเพราะว่าในยุค 4.0 ทุกอย่างจะอยู่ในรูปของ Digital platform ถ้ากระทรวงศึกษาธิการใช้ Centralize Platform ความเป็นนวัตกรรมจะถูกจำกัดและหายไปกว่าครึ่งเพราะผู้ปฏิบัติ ณสถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจะทำอะไรไม่ได้เลย เช่น กรอกผลการเรียน ถ้ายังต้องกรอกอยู่ในเว็บของกระทรวงศึกษาธิการที่กระทรวงเป็นคนกำหนดไว้ให้ รายวิชาก็จะถูกจำกัดอยู่แค่นั้นเท่าที่มี การให้คะแนนก็จะถูกจำกัดอยู่เท่าที่มี แล้วแบบนี้สถานศึกษาจะไปสร้างนวัตกรรมได้อย่างไร เพราะถูกล็อคด้วยระบบดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นหากเราละเลยเรื่องนี้เราพยายามสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาโดยที่ไม่มีการกำหนดมาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล เมื่อผู้เรียนมีการเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา การ Transformers ability ของข้อมูลจะเกิดปัญหาตามมาทันที หรือไม่หากมองแค่ 6 จังหวัดพื้นที่นวัตกรรมด้วยกันเอง ถ้าจะนำข้อมูลมารวมกันก็จะเกิดปัญหาความสับสนวุ่นวายตามมายอย่างมาก
เมื่อมีความหลากหลายทางวิชาการ การกำหนดรหัสวิชาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เมื่อวิชาในยุคใหม่นี้เริ่มมีการบูรณาการกันมากขึ้น เราจะทำอย่างไรเพื่อที่จะกำหนดรหัสวิชาให้สะท้อนถึงแกนวิชาหลักที่บูรณาการอยู่ภายใน แล้วทำให้เราเข้าใจตรงกัน ยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบันมีการกำหนดวิชาหลัก ไทย คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แล้วหากพื้นที่นวัตกรรมมีการกำหนดรายวิชาขึ้นมาชื่อวิชาว่า ธรรมชาติวิทยา แล้วนำมาใช้ในสถานศึกษา แล้วคนทั่วไปจะทราบได้อย่างไรว่า วิชา ธรรมชาติวิทยา นี้เป็นวิชาประเภทไหน บูรณาการโดยเน้นหนักไปที่รายวิชาหลักอะไรบ้าง ค่าน้ำหนักของแต่ละวิชาหลักเป็นอย่างไร แนวคิดอย่างหนึ่งที่อาจจะช่วยแก้ปัญหาได้ก็คือการกำหนดรหัสวิชาที่บ่งบอกถึงค่าน้ำหนักและการบูรณาการวิชาแต่ละวิชาอยู่ในนั้นซึ่งอาจสามารถกำหนดเป็นตัวเลขตัวอักษรพี่มีระเบียบขั้นตอนที่ชัดเจนอาจจะดำเนินการคล้ายกับรหัสทางการแพทย์ของระบบสาธารณสุข

ข้อเสนอแนะจาก รศ.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์
– ให้ดูตัวอย่างการสร้างมาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ สปสช. ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีพัฒนาการในการดำเนินงานด้านนี้เป็นอย่างดี ระบบการรายงานปัจจุบันของ สปสช. ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีในการพัฒนาระบบของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
– เสนอแนะให้นำของเดิมหรือ Copy เอาของเดิมมาทำใหม่ โดยไม่ไปแตะต้องของเดิมที่ยังคงอยู่ในระบบเดิม เราโฟกัสที่ส่วนที่เรา Copy มา หนังปรับปรุงในส่วนที่ไม่ดีแก้ไขในส่วนที่บกพร่อง เติมเต็มในส่วนที่ขาดหาย โดยไม่ต้องไปสร้างใหม่ทั้งหมดช่วยย่นระยะเวลาและค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก
– การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้งานไปบรรลุถึงเป้าหมายได้นั้นต้องผสานเครื่องมือ 4 อย่างนี้ให้ลงตัวและเหมาะสม อันได้แก่ 1) คืนเงินงบประมาณ 2) คือกฎระเบียบข้อบังคับ 3) คือการวางระบบการทำงาน ให้คนปฏิบัติได้สะดวก 4) คือระบบการ Feedback คือต้องให้ feedback ที่ถูกทางถูกต้อง หากเราต้องการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของระบบต้องเลือกใช้และประสานเครื่องมือทั้ง 4 อย่างนี้ให้ลงตัวให้ได้
– ในส่วนของเอกสารเรื่องของมาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ที่ทาง สบน. จัดเตรียมมา รศ.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ เห็นสอดคล้องด้วยตามเอกสารดังกล่าว

ข้อเสนอแนะร่วมกันของผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ควรเร่งดำเนินการกำหนดมาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด โดยเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างและกำหนดมาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ได้แก่
1) หน่วยงานภายในของ สพฐ. อันได้แก่ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักทดสอบทางการศึกษา หรือสำนักอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2) หน่วยงานภายนอก สพฐ. อันได้แก่ ภาคีเพื่อการศึกษาไทย (TEP) กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งจะเป็นหน่วยงาน สถาบันหลักสูตรและการเรียนรู้ ตามร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดทำมาตรฐานหลักสูตรและการเรียนรู้

Facebook Comments
จังหวัดชายเเดนภาคใต้ ขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดปัตตานีสมาชิกทีมสื่อสารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
บทความล่าสุด