Visual Note : ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา รร.ราชินีบน #พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา กทม. #สช.

9 เมษายน 2025

Visual Note : ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา รร.ราชินีบน
นำเสนอโดย โดย พิรุณ ศิริศักดิ์ ผู้ช่วย ผอ.ฝ่ายวิชาการ รร.ราชินีบน
ที่มา
  • เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2 นวัตกรรมการบริหารงานด้านวิชาการ ด้านระบบประกันคุณภาพในสถานศึกษานำร่อง (ระดับโรงเรียน)  (อ่านข่าวเดิม คลิกที่นี้)

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนราชินีบน

โรงเรียนราชินีบนได้มองเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและระบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีการวางแผนการพัฒนาระบบประกันคุณภาพทุก ๆ 3 ปี (2568-2570) ควบคู่กับการพัฒนาหลักสูตร มุ่งพัฒนา “กุลสตรี” ที่มีคุณภาพผ่าน “หลักสูตรสมรรถนะกุลสตรีราชินีบน” ซึ่งประกอบด้วย 4 สมรรถนะหลัก (กุลสตรีที่งามพร้อม กุลสตรีแม่ศรีเรือน กุลสตรีที่ฉลาดรู้สากล และกุลสตรีที่เป็นพลเมืองโลก) และ 13 สมรรถนะย่อย โดยมีวิสัยทัศน์คือ “โรงเรียนราชินีบนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่มีธรรมาภิบาล เพื่อยกระดับสมรรถนะกุลสตรีราชินีบนสู่สากลตามพลวัตของโลก” โดยใช้กระบวนการ PDCA (Plan-Do-Check-Act) ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยรวม ควบคู่กับการใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิถีใหม่ การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน และงานวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

QM1: การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเป็นหัวใจของการประกันคุณภาพระดับห้องเรียน
การสร้างหลักสูตร
  • วิเคราะห์บริบท เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ โดยพิจารณาจาก : 
    • คุณภาพผู้เรียน
    • ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น
    • นโยบายการศึกษาและการประกันคุณภาพ
    • บริบทการพัฒนาประเทศและระดับโลก
  • หลักการของหลักสูตร: 
    • สืบสาน รักษาและต่อยอดอัตลักษณ์กุลสตรีราชินีบนสู่สากล
    • ส่งเสริมสมรรถนะภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้และสื่อสารในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
    • ส่งเสริมการค้นพบตนเองในระดับมัธยมต้น
    • ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพตามความถนัดและความสนใจในระดับมัธยมปลาย
  • การประเมินการเรียนรู้ แบ่งสัดส่วน: 
    • สมรรถนะเฉพาะตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 80%
    • สมรรถนะหลัก (กุลสตรีราชินีบน) 10%
    • การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน 5%
    • คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 5%
การนำหลักสูตรไปใช้
  • บริหารงานวิชาการทั่วไป : 
    • จัดตารางสอน/จัดครูเข้าสอน
    • นิเทศการสอน การวัดและประเมินการเรียนรู้
    • จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร
    • จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ
    • งานทะเบียน วัดผลและหลักฐานการศึกษา
  • การประเมินหลักสูตร
    • ประเมินระหว่างการใช้หลักสูตร (รายปี)
    • ประเมินผลสรุปการใช้หลักสูตร (ครบ 3 ปี)

QM2: ยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้วิถีใหม่
กระบวนการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้
  • การจัดการเรียนรู้: 
    • แผนการจัดการเรียนรู้
    • จัดการเรียนรู้
    • บันทึกหลังจัดการเรียนรู้
  • การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study): 
    • วิเคราะห์แผน
    • สังเกตชั้นเรียน
    • สะท้อนผล
  • วิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research): 
    • แก้ปัญหาด้วยนวัตกรรม
    • พัฒนานวัตกรรม
กิจกรรมสนับสนุน
  • การนิเทศ
  • Teachers’ Talk (แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครู)
  • เปิดห้องเรียน/บ้าน
  • ซิมโพเซียม (นำเสนอผลงาน)
  • เผยแพร่ผลงาน

QM3: สะสมผลงานเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูราชินีบน
การกำหนดสมรรถนะครูราชินีบน 4 ด้าน
  • สมรรถนะครูเก่ง :
    • รู้เนื้อหา
    • รู้การสอน
    • รู้เทคโนโลยี
    • รู้ภาษาอังกฤษ
  • สมรรถนะครูดี : 
    • ความเป็นครู
    • การครองตน
    • การครองงาน
  • สมรรถนะครูมืออาชีพ :
    • พัฒนาบทเรียนร่วมกัน
    • วิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน
  • สมรรถนะครูนักพัฒนา : 
    • การเผยแพร่ผลงาน
    • การสร้างความเปลี่ยนแปลง
กระบวนการพัฒนาครู
  • สะสมผลงานการพัฒนา: 
    • พัฒนาระบบแฟ้มสะสมผลงาน
    • ประเมินผลการปฏิบัติงานและเงินรางวัลประจำปี
  • สนับสนุนให้เติบโตทางวิชาชีพ: 
    • อบรมพัฒนาครูภายในและภายนอก
    • ให้ทุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
    • เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชน
    • พิจารณาตำแหน่งบริหาร
    • ยกย่องเชิดชูเกียรติในวาระสำคัญ

QM4: บริหารจัดการศึกษาตามหลัก ESG เพื่อส่งเสริมสุขภาวะที่ยั่งยืน
สิ่งแวดล้อม (E : Environment) : 
  • โครงการพัฒนาอาคาร สถานที่และสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน
  • โครงการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
สังคม (S : Social) : 
  • โครงการพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพระดับมาตรฐานสากล
  • โครงการสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษา
ธรรมาภิบาล (G : Governance) : 
  • โครงการสร้างสังคมคุณธรรมและจริยธรรมในโรงเรียน
  • โครงการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู

Download


ข้อเสนอแนะผู้ทรงคุณวุฒิ

  • การบูรณาการระบบ PLC (Professional Learning Community) ทั้ง 3 รูปแบบให้เป็นเนื้อเดียวกัน ได้แก่ Lesson Study, การวิจัยชั้นเรียน, และ KM (Knowledge Management) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  • การนำแนวคิด Zero Defect at First มาใช้เป็นโจทย์หลักในการทำงานทั้ง 3 รูปแบบ ได้แก่ Lesson Study, KM และการวิจัยชั้นเรียน เพื่อให้เกิดการพุ่งเป้าไปที่คุณภาพของผู้เรียน
  • การขยายผลงานวิจัยและการพัฒนาครู ควรมีเวทีสำหรับเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เช่น Symposium หรือ Teacher Talk และส่งเสริมให้ครูนำเสนอผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ
  • การกำหนดสมรรถนะครูและนักเรียน ควรปรับเปลี่ยนการนิยามจาก “สมรรถนะ” เป็น “คุณลักษณะ” เพื่อสะท้อนเป้าหมายของโรงเรียนให้ชัดเจนขึ้น 
  • การพัฒนางานสนับสนุนใน QM 4 เช่น ด้านอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อม ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของนิเวศแห่งการเรียนรู้ ที่ครอบคลุมประเด็นสิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล และสุขภาพอย่างยั่งยืน

รับชมย้อนหลัง

เอกสารประกอบ
  • ดาวน์โหลดเอกสารนำเสนอ คลิก
  • เอกสารอื่น ๆ คลิก

 


พิรุณ ศิริศักดิ์ ผู้ช่วย ผอ.ฝ่ายวิชาการ รร.ราชินีบน
สุวศิน เขียวสุวรรณ นักวิชาการศึกษา สบน. สพฐ.
อิศรา โสทธิสงค์ นักวิชาการศึกษา สบน. สพฐ

Leave a reply

Leave Your Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *