Visual Note : ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา รร.อนุบาลน้องหญิง #พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.อุบลราชธาน #สช.

10 เมษายน 2025

Visual Note : ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา รร.อนุบาลน้องหญิง
นำเสนอโดย โดย อุบลวรรณ พลสวัสดิ์ รอง ผอ.รร.อนุบาลน้องหญิง
ที่มา
  • เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2 นวัตกรรมการบริหารงานด้านวิชาการ ด้านระบบประกันคุณภาพในสถานศึกษานำร่อง (ระดับโรงเรียน)  (อ่านข่าวเดิม คลิกที่นี้)

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลน้องหญิง

โรงเรียนอนุบาลน้องหญิงมุ่งพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน ทั้งการเป็นผู้เรียนรู้ ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม และพลเมืองที่เข้มแข็ง ตามแนวทางการพัฒนาการศึกษาของจังหวัดอุบลราชธานี (UB-MSPEC) โดยบูรณาการหลักสูตรฐานสมรรถนะ นวัตกรรมการเรียนการสอน และระบบสนับสนุนที่ครบวงจร เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนสามารถเติบโตและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างมั่นคงและยั่งยืน

การเตรียมความพร้อมของระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

โรงเรียนอนุบาลน้องหญิง มีการทำ SWOT ผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ปัจจัย สาเหตุ เพื่อนำมากำหนดแนวทางการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา และรวมถึงได้นำหลักสูตรฐานสมรรถนะมาศึกษาใน 4 ประเด็น ดังนี้

DOE (Design Outcome Of Education) มาตรฐานการศึกษาระดับชาติ
  • ผู้เรียนรู้ (Learner Person)
  • ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovation Co-Creator)
  • พลเมืองที่เข้มแข็ง (Active Citizen)
แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาของจังหวัดอุบลราชธานี UB-MSPEC
  • Medical hub and Herbs ศูนย์กลางสุขภาพและการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาสมุนไพร พื้นถิ่น
  • Smart Students พัฒนาผู้เรียนให้มีความฉลาดรู้บนฐานพหุ
  • Premium Products พัฒนาผู้เรียนให้เป็นนวัตกรเพื่อผลิต้นวัตกรรมเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดอุบลราชธานี
  • Entrepreneur พัฒนาผู้เรียนด้านการค้า การลงทุนส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยให้กับผู้เรียน
  • Cultural Tourism พัฒนาผู้เรียนด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดสืบสานประเพณี และอัตลักษณ์ให้เกิดความสมดุล
บริบทชุมชน
  • ความคาดหวัง ความต้องการของโรงเรียน และผู้ปกครอง
  • ต้นทุนเดิมของโรงเรียน
DOL (Design Outcome for Learners) คุณลักษณะผู้เรียน
  • ผู้เรียนสื่อสารภาษาไทย และภาษาอังกฤษได้
  • ผู้เรียนสามารถคิด วิเคราะห์คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจ แก้ปัญหา ทำงานเป็น สู่การสร้างนวัตกรรม
  • ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างสร้างสรรค์
  • ผู้เรียนสามารถจัดการตนเองได้
  • ผู้เรียนมีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ และมีความกตัญญู

การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของสถานศึกษานำร่อง

QM 1: ระบบหลักสูตร การเรียนการสอน และการประเมินผล (ระบบ OLE)
  • ปรับใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ โดยปรับจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
  • จัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Thinking School ทั้งในและนอกห้องเรียน
  • เน้นการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning)
  • ใช้แพลตฟอร์มเสริมการเรียนรู้ เช่น Learn Education, Brain Cloud, Math-whizz
  • วัดและประเมินผลด้วยวิธีการหลากหลาย โดยมีทั้งครู นักเรียน และผู้ปกครองมีส่วนร่วม
QM 2: ระบบชุมชนการเรียนรู้ของครู (PLC)
  • จัดให้มี PLC อย่างต่อเนื่องในทุกระดับชั้น (ป.1-3 และ ป.4-6)
  • ดำเนินการ PLC ควบคู่กับการนิเทศ
  • เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะและการวัดประเมินผล
QM 3: ระบบสนับสนุนฝ่ายวิชาการ
  • มีทีมผู้นำ (Lead Team/Team Coach) คอยติดตามและช่วยเหลือครู
  • จัดระบบฐานข้อมูล School Bright สำหรับครู นักเรียน และผู้ปกครอง
  • จัดหาแพลตฟอร์มและกิจกรรมสนับสนุนฝ่ายวิชาการ
  • ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
  • มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน
QM 4: ระบบสนับสนุนทั่วไป (ใช้หลัก PDCA)
  • ด้านงบประมาณ: จัดสรรงบประมาณตามแผน สนับสนุนสื่อการเรียนรู้ ทุนการศึกษา และสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากร
  • ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ: จัดหาวัสดุอุปกรณ์ จัดระบบอินเทอร์เน็ต และใช้ระบบสารสนเทศในงานธุรการ
  • ด้านสภาพแวดล้อม: จัดอาคารเรียนให้แข็งแรงปลอดภัย สะอาด และเอื้อต่อการเรียนรู้
  • ด้านโภชนาการ: จัดอาหารกลางวันที่ถูกสุขลักษณะตามหลักโภชนาการ

Download


ข้อเสนอแนะผู้ทรงคุณวุฒิ

  • การกำหนดภารกิจใน QM3 ให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถสนับสนุน QM1 ในด้านกระบวนการเรียนการสอนหลักของโรงเรียน และ QM2 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ PLC นอกจากนี้ต้องกำหนดภารกิจให้สนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
  • การตั้งเป้าหมาย Zero Defect & Ad First โดยนักเรียนทุกคนต้องบรรลุคุณภาพขั้นต่ำของหลักสูตร
  • การยกระดับ QM4 จากระบบ PDCA ยกระดับไปสู่งานวิจัยและพัฒนา (R2R) เพื่อให้การพัฒนามีคุณภาพ

รับชมย้อนหลัง

เอกสารประกอบ
  • ดาวน์โหลดเอกสารนำเสนอ คลิก

 

 


อุบลวรรณ พลสวัสดิ์ รอง ผอ.รร.อนุบาลน้องหญิง
สุวศิน เขียวสุวรรณ นักวิชาการศึกษา สบน. สพฐ.
อิศรา โสทธิสงค์ นักวิชาการศึกษา สบน. สพฐ

Leave a reply

Leave Your Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *