Visual Note : KOTA Model : สู่ความสำเร็จ “2 ภารกิจ 4QM” นวัตกรรมการบริหารคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

4 เมษายน 2025

อ่านแล้ว :  115 ครั้ง

Visual Note : KOTA Model : สู่ความสำเร็จ “2 ภารกิจ 4QM” นวัตกรรมการบริหารคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
นำเสนอโดย โดย ปุณณาณี เจ๊ะหนุ่ม ผอ.รร. และ พีรพงษ์ หมื่นหลักครู
รร. บ้านโกตา สพป.สตูล
ที่มา
  • เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2 นวัตกรรมการบริหารงานด้านวิชาการ ด้านระบบประกันคุณภาพในสถานศึกษานำร่อง (ระดับโรงเรียน)  (อ่านข่าวเดิม คลิกที่นี้)

สรุปประเด็นสำคัญการนำเสนอของบ้านโกตา

โรงเรียนบ้านโกตา อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นสถานศึกษาขนาดเล็กที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบ ผ่านแนวทางการบริหารจัดการตามกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2564 โดยโรงเรียนบ้านโกตาได้นำแนวคิด “KOTA Model” มาใช้เป็นแนวทางสู่ความสำเร็จ โดยแบ่งออกเป็นสองภารกิจหลัก ดังนี้

ภารกิจที่ 1: การพัฒนาระบบบริหารคุณภาพการศึกษา

  • ระบบหลักสูตร การเรียนการสอน วัดผลและประเมินผล (QM1)
  1. ระบบย่อยหลักสูตร: โรงเรียนดำเนินการพัฒนาหลักสูตรโดยอ้างอิงกรอบหลักสูตรสมรรถนะ พร้อมทั้งทบทวน DOE ระดับชาติและจังหวัด รวมถึงการใช้ฐานทรัพยากรในชุมชนเป็นองค์ประกอบสำคัญ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากบุคลากรภาครัฐและภาคประชาชน เช่น ศึกษาธิการจังหวัด และศึกษานิเทศก์
  2. ระบบย่อยการเรียนการสอน: โรงเรียนบ้านโกตาได้นำแนวคิด “สืบสานภูมิปัญญา นำนิเวศศึกษา ทันเทคโนโลยี ตามวิถีพอเพียง” มาเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการเข้ากับเนื้อหาในทุกระดับชั้น การเรียนการสอนวิชาพื้นฐานถูกออกแบบโดยวิเคราะห์ผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้นอย่างเป็นระบบ ครูผู้สอนร่วมกันออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์สมรรถนะของนักเรียนอย่างแท้จริง
  3. ระบบย่อยการวัดและประเมินผล: การวัดและประเมินผลจะพิจารณาทั้งในระดับบุคคล ผลงาน และแบบบันทึกผลลัพธ์ โดยครอบคลุมสมรรถนะพื้นฐานและสมรรถนะหลักของผู้เรียน เพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน และระบบย่อยจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
  • ระบบชุมชนการเรียนรู้ของครู (QM2)

โรงเรียนบ้านโกตาให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิชาชีพครูผ่านระบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โดยครูต้องกำหนดเป้าหมายการพัฒนาตนเอง วางแผนการแก้ปัญหานักเรียน และกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการ นอกจากนี้ยังมีระบบนิเทศภายในและการพัฒนาบุคลากร เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการสอนที่มีคุณภาพ

  • ระบบสนับสนุนของฝ่ายวิชาการ (QM3)

ระบบนี้สนับสนุนการดำเนินงานของ QM1 และ QM2 โดยเน้นการพัฒนาหลักสูตร การใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น งานสมัชชาทางการศึกษา นอกจากนี้ ระบบสนับสนุนยังดำเนินงานตามแนวทาง PDCA เพื่อให้มั่นใจว่าทุกกระบวนการสามารถพัฒนาต่อยอดได้อย่างต่อเนื่อง

  • ระบบสนับสนุนทั่วไป (QM 4)

PDCA ตั้งแต่ผู้รับผิดชอบฝ่ายงานและดำเนินงานมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาสมรรถนะนักเรียนในทุกด้าน สนับสนุน QM1 QM2 และ QM3 ดังสโลแกนของโรงเรียนที่ว่า “โรงเรียนปลอดภัย สะอาด บรรยากาศรีสอร์ท”

ภารกิจที่ 2: การตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล
  1. ตรวจสอบและประเมินผลประสิทธิภาพของระบบ QM1-QM4 โดยอ้างอิงจากหลักฐานการปฏิบัติจริง การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง
  2. กำหนดแนวทางปรับปรุงระบบบริหารคุณภาพการศึกษาในปีถัดไป โดยอาศัยข้อมูลจากการประเมินผล
  3. จัดทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในประจำปี ซึ่งสรุปหลักฐานการดำเนินงาน ผลการประเมิน และข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาต่อไป

Download

ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ
  • “จุดมุ่งหมายสำคัญของการบริหารคุณภาพการเรียนรู้”ตั้งเป้าหมาย “Zero Defect at First” หรือ “ลดข้อผิดพลาดให้เป็นศูนย์ตั้งแต่ก่อนการประเมินผลสัมฤทธิ์ (Summative Assessment)”
  • “การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้ตอบโจทย์” ควรออกแบบกระบวนการเรียนรู้การสอน และการนิเทศภายในให้เน้นการประเมินเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Formative) เพื่อตรวจจับและแก้ปัญหาก่อนถึงจุดสิ้นสุดของการเรียนรู้
  • “การใช้ PLC และ QM1–QM3อย่างมีเป้าหมายร่วมกัน” ให้ใช้เวที PLC และระบบ QM1 –QM3 เป็นเครื่องมือในการ โฟกัสไปที่โจทย์เดียวกัน คือ ทำให้ “นักเรียนทุกคน” ผ่านเกณฑ์คุณภาพขั้นต่ำ ที่สอดคล้องกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ
  • “การตั้งเกณฑ์คุณภาพขั้นต่ำที่ชัดเจน” โรงเรียนควรร่วมกันกำหนด “เกณฑ์คุณภาพขั้นต่ำ” ที่ทุกคนเข้าใจตรงกันว่า เมื่อเด็กถึงระดับนี้ คือ “ผ่าน” ตามเป้าหมายของหลักสูตร
  • “การจัดสรรเวลาและลดภาระงานที่ไม่เกี่ยวข้อง” ลดภาระงานของครูในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับคุณภาพนักเรียนลง เช่น งานเอกสารที่ไม่ส่งผลโดยตรงต่อการเรียนรู้เพื่อจัดสรรเวลาให้ครูโฟกัสที่การพัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริง
  • “การประเมินภายในก่อนถึง Summative” ให้มีระบบ “ประเมินภายใน” หรือ checkpoint อย่างเป็นระบบก่อนถึงจุด Summative เพื่อให้รู้ว่าเด็กผ่านคุณภาพขั้นต่ำหรือยัง
  • “การทำงานเป็นทีมแบบผนึกกำลัง” กระตุ้นให้ทุกฝ่ายในโรงเรียน (ครู, ผู้บริหาร, งานวิชาการ) รวมพลังเป็นทีมเดียวกัน เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายเดียวกันเรื่องคุณภาพนักเรียน

Download


รับชมย้อนหลัง

เอกสารประกอบ

 


ต้นเรื่อง 1 :

 

 

 

ปุณณาณี เจ๊ะหนุ่ม
ผอ.รร.บ้านโกตา
สพป.สตูล

ต้นเรื่อง 2 :  

 

 

พีรพงษ์ หมื่นหลัก
ครู รร.บ้านโกตา
สพป.สตูล

 

สรุปข้อมูล :  

 

 

ณัฐมล ไชยประดิษฐ์
นักวิชาการศึกษา สบน.
สพฐ.

 

Visual Note :

 

 

 

อิศรา โสทธิสงค์
นักวิชาการศึกษา สบน.
สพฐ.

 

Leave a reply

Leave Your Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *