อ่านแล้ว : 205 ครั้ง
Visual Note : ระบบประกันคุณภาพฯ รร.ต้นแก้วผดุงพิทยาลัย
นำเสนอโดย โดย นายมานิช ถาอ้าย ผอ.รร. และ นางศิริรัตน์ อินทรกำแหง รอง ผอ.รร.
รร. ต้นแก้วผดุงพิทยาลัย อบจ.เชียงใหม่
ที่มา
- เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2 นวัตกรรมการบริหารงานด้านวิชาการ ด้านระบบประกันคุณภาพในสถานศึกษานำร่อง (ระดับโรงเรียน) (อ่านข่าวเดิม คลิกที่นี้)
สรุปประเด็นสำคัญการนำเสนอของโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย
ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย
- โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ (ถ่ายโอนจากกระทรวงศึกษาธิการ)
- จัดการศึกษาระดับปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ป.1 – ม.3)
- มี English Program เพื่อรองรับความต้องการของชุมชน
- นักเรียนทั้งหมดประมาณ 1,300 คน
การเข้าร่วมโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
- เป็นโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของจังหวัดเชียงใหม่ (รุ่นที่ 1)
- ใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะเพื่อพัฒนาผู้เรียน
- ใช้แนวทางการศึกษาเพื่อส่งเสริม ทักษะศตวรรษที่ 21
- สามารถปรับหลักสูตรให้ตรงกับบริบทของท้องถิ่น
แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- สร้าง สมรรถนะผู้เรียน โดยยึดผลการวิจัยทางการศึกษา
- พัฒนาหลักสูตรให้ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน
- มีอิสระในการปรับใช้ นวัตกรรมการศึกษา เช่น การคัดเลือกสื่อการสอน
วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์การพัฒนา
- วิสัยทัศน์ของโรงเรียน (2566-2570):
“สถานศึกษาคุณภาพระดับสากล สร้างนวัตกรรม ด้วยระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต” - สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของเชียงใหม่ เช่น
- เชียงใหม่: นครแห่งระบบนิเวศการเรียนรู้
- มุ่งเน้นการเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค
- การกำหนดมาตรฐานการศึกษา
มาตรฐานที่ 1: สมรรถนะผู้เรียน (ป.3, ป.6, ม.3) | ||
|
||
มาตรฐานที่ 2: คุณภาพการสอนของครู | ||
|
||
มาตรฐานที่ 3: กระบวนการบริหารจัดการ | ||
|
แนวทางการพัฒนาหลักสูตร
- ใช้บริบทของจังหวัดเชียงใหม่และความต้องการของชุมชน
- ส่งเสริม 4 สมรรถนะพื้นฐาน และ 6 สมรรถนะหลัก
- บูรณาการการเรียนรู้ในมิติสำคัญ เช่น
- เชียงใหม่สมาร์ทซิตี้ (เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว สุขภาพ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ)
- สวนพฤกษศาสตร์ (ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม มรดกท้องถิ่น)
- การเรียนรู้ข้ามศาสตร์ และการใช้แหล่งเรียนรู้ในพื้นที่
การวัดผลและประเมินผล
- ใช้การประเมินจาก ชิ้นงานของนักเรียน
- รายงานผลตาม กรอบคุณภาพการศึกษา (QM1, QM2, QM3, QM4)
การดำเนินการประกันคุณภาพในสถานศึกษาของโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย
ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์ที่และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในในสถานศึกษาร่อง พ.ศ. 2564
ภารกิจที่ 1
- QM1 ระบบหลักสูตรการสอน การวัดและประเมินผล
ㆍ หลักสูตรฐานสมรรถนะ
ㆍการจัดการเรียนรู้บูรณาการข้ามศาสตร์
ㆍ การวัดผล ประเมินผลฐานสมรรถนะ
- QM2 ระบบชุมชนการเรียนรู้ของครู
ㆍPLC 3 ช่วงชั้น
ㆍPLC Online
ㆍPLC ควบคู่กับการวิจัยพัฒนาสู่ SLC
- QM3 ระบบสนับสนุนของฝ่ายวิชาการ
ㆍจัดทำระบบบริหารวิชาการกระจายอำนาจให้หัวหน้าวิชาการแต่ละช่วงชั้น
ㆍสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้จาก วPA
ㆍ การใช้ Googleworkspace foreducation สนับสนุนการทำงาน
- QM4 ระบบสนันสนุนทั่วไปด้วยกระบวนการ PAOR “GROWTH”
PLAN
-
-
- ประกาศมาตรฐานและค่าเป้าหมาย(สอดคล้องกับหลักสูตร, , วPA)
- จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาแผนพัฒนาการศึกษา 5 ปี
- แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษาแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ
-
ACT
-
-
- จัดระบบโครงสร้างบริหารจาน 4 ฝ้ายขับเคลื่อนสนับสนุน
- ดำเนินการตามปฏิทินทำงาน ร่วมกับเครือข่ายการศึกษา
- ขับเคลื่อนหลักสูตร PLC นิเทศ ติดตาม
- ทำงานผ่านระบบฐานเดียวกัน Google Workspace for Education+ nnnui Gmail เป็นชื่อโดเมนของโรงเรียน Name……@tonkaew.ac.th
-
OBSERVE
-
-
- ติดตามและตรวจสอบ โดยคณะกรรมการระดับโรงเรียน, อบจ.ประเมินคุณภาพภายใน
-
REFLECT
-
-
- สรุป สะท้อนผล จัดทำรายงาน SAR
- นำผลมาปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร แผนพัฒนา ปีต่อไป
-
ภารกิจที่ 2 ตรวจสอบประเมิน และปรับปรุง
- คณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาดำเนินการตามปฏิทินงานประกันฯ ของ รร.
- จัดทำรายงาน SAR (สิ้นปีการศึกษา)
- เสนอคณะกรรมการสถานศึกษาฯ อบจ. คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมจังหวัด ประกาศผ่านเว็บ รร.
- นำผลและแผนพัฒนามาใช้ในปีต่อไป
ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ
- การขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัยสามารถนำนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการึศกษา มาสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นระบบและชัดเจน ทั้งในด้านวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ และการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
- การพัฒนาครูและการบริหารจัดการวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ มีการสร้างชุมชนการเรียนรู้ของครูผ่านระบบ PLC ทั้ง Onsite และ Online รวมึถงการใช้เทคโนโลยีอย่าง Google Workspace เป็นจุดแข็งสำคัญที่ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองและแบ่งปันองค์ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การกระจาย อำนาจด้านวิชาการสู่ระดับช่วงชั้น ยังแสดงถึงความเข้าใจในหลักการบริหารจัดการเชิงพัฒนา และสร้างผู้นำทางวิชาการภายในองค์กรได้อย่างน่าชื่นชม
- ข้อเสนอแนะในการพัฒนานวัตกรรมของผู้เรียน ควรส่งเสริมให้นวัตกรรมของนักเรียนเกิดขึ้นจากโจทย์ที่มาจากผู้เรียนเอง ผ่านกระบวนการเรียนรู้ ในหน่วยบูรณาการ โดยมีครูทำหน้าที่เป็นโค้ชสนับสนุน ึซ่งจะช่วยให้การเรียนรู้มีความหมาย เชื่อมโยงกับชีวิตจริง และ เสริมสร้างสมรรถนะได้อย่างลึกซึ้ง
- การยกย่องและการส่งเสริมการขยายผลในระดับนโยบาย โรงเรียนต้นแก้วฯ ถือเป็นตัวอย่างของสถานศึกษาที่สามารถขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ ได้อย่างมีคุณภาพและควรได้รับการสนับสนุนให้ขยายผลต่อยอดสู่เวที ระดับพื้นที่และระดับประเทศต่อไป
รับชมย้อนหลัง
เอกสารประกอบ
- ดาวน์โหลด คลิก
ต้นเรื่อง 1 : |
|
มานิช ถาอ้าย |
![]() |
||
ต้นเรื่อง 2 : |
ศิริรัตน์ อินทรกำแหง |
|
![]() |
|
|
สรุปข้อมูล : |
ยลดา คำโสภา |
|
![]() |
|
|
Visual Note : |
|
อิศรา โสทธิสงค์ |
![]() |
Leave Your Reply