โรงเรียนบ้านขุนหาญ บูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้ การศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education)

9 กันยายน 2565
โรงเรียนบ้านขุนหาญ บูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้
การศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education)

สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้มาพบกับบทความจากโรงเรียนบ้านขุนหาญ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 9 บ้านขุนหาญ ตำบลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 4 เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษา โดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้การศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education)

แนวคิดหลักในการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ (School Concept)

จากการสัมภาษณ์และพูดคุยกับ นางวัชรา รัตโน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านขุนหาญ ท่านให้ข้อมูลว่า โรงเรียนบ้านขุนหาญมีการบริหารจัดการการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ จัดการศึกษาที่สอดคล้องกับฐานทุนบริบทและชุมชน มุ่งให้เกิดความ เสมอภาค และไม่ยึดติดกับวิธีการแบบเดิม ๆ เพราะการศึกษาที่ดีอาจจะไม่มีวิธีการใดที่ถูกต้องเสมอหรือเป็นวิธีที่ดีที่สุด ตลอดจนมุ่งเน้นให้ผู้เรียน“รู้คิด จิตใจดี มีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ มีสุขภาวะที่ดีทั้งกายและใจ” สอดคล้องกับเป้าหมายคุณลักษณะคนดีศรีสะเกษ และเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เติบโตอย่างสมดุลของประเทศไทยคือ เป็นบุคคลผู้เรียนรู้ (Learner Person) เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม (Co-Creator) และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง (Active Citizen) ตามเป้าหมายคุณลักษณะของคนชาติไทย

โรงเรียนมุ่งเน้นพัฒนาทุกพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ที่เรียนรู้ได้หลากหลายในทุกมิติบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนให้เชื่อมโยงกับพื้นที่เรียนรู้ในโรงเรียน เช่น ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ห้องสมุดมีชีวิต ห้องปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์ ห้องเรียนคุณภาพ สนามเด็กเล่นตามรอยยุคลบาทรวมทั้งพื้นที่เรียนรู้ใหม่นอกห้องเรียนจากแหล่งชุมชน มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรี/เกษตรอินทรีย์  มีแหล่งเรียนรู้ในชุมชุน(หม่อนไหม, กลุ่มแม่บ้านทอผ้า, สวนทุเรียน, สวนยางพารา) และมีวัดเป็นศูนย์พัฒนาคุณธรรมระดับจังหวัด/เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ลงมือปฏิบัติ รู้คุณค่าอย่างแท้จริงสู่เป้าหมายนักเรียนโรงเรียนบ้านขุนหาญ “นวัตกรบ้านขุนหาญ ผ้าไหมสู่สากล” ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะการคิดวิเคราะห์  คิดแก้ปัญหา มีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และเป็นพลเมืองที่ดีผ่านการเรียนรู้แบบองค์รวม (Holistic Learning) ที่สร้างการเปลี่ยนแปลง ทัศนคติ วิธีคิด พฤติกรรม ขยายศักยภาพและสร้างดุลยภาพแห่งมนุษย์ที่สมบูรณ์ จัดกระบวนการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active learning) ด้วยวิธีลงมือปฏิบัติและสะท้อนความหมาย ความรู้ ความเข้าใจอย่างเชื่อมโยงถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง สังคมและโลก และที่สำคัญสามารถประยุกต์ใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์ ผ่านการกระทำทั้ง กาย วาจา ใจ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

กระบวนการทำงาน

เพื่อให้การพัฒนาหลักสูตรเป็นไปตามประสิทธิภาพต่อผู้เรียนได้จริง โรงเรียนจึงมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาทั้งระบบ (Whole School Transform) โดยเฉพาะบุคลากรที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว รวมถึงการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผลที่อิงสมรรถนะของผู้เรียน ดังต่อไปนี้

  1. พัฒนาผู้บริหารและคณะครูให้มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบของหลักสูตรตั้งแต่ปรัชญา

การศึกษา (School Philosophy) วิสัยทัศน์ของโรงเรียน (School Vision) แนวคิดหลัก (School Concept) และผลลัพธ์ที่พึ่งประสงค์ของการเรียนรู้ (Desired Outcomes of Leaning : DOL) สมรรถนะการเรียนรู้ (Competency)

  1. โครงสร้างการจัดกลุ่มศาสตร์วิชา (Leaning Areas) โครงสร้างเวลาเรียน แนวคิดหลักของกลุ่มวิชา การออกแบบหน่วยการเรียนรู้และแนวทางการวัดและประเมินผล
  2. การพัฒนาครูผู้สอน การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ และเป็นผู้สังเกตผู้เรียนมีสายตาเชิงประจักษ์เห็นสภาวะการเรียนรู้ของผู้เรียน (Visible Leaning)
  3. การพัฒนาการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือทำให้นักเรียนเกิดสมรรถนะ ด้วยความสัมพันธ์ OLE ดังนี้
    1. กำหนดขอบเขตเนื้อหาที่ระบุแนวคิดหลักในแผนนั้น ๆ
    2. กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้(Objective)สู่การบรรลุผล 3 ด้าน ได้แก่
    • ด้านความรู้ (Understanding of Knowledge) คือ การระบุความเข้าใจของผู้เรียนที่เกิดขึ้นเป็นระดับก่อนหลัง จนสามารถประมวลเป็นแนวคิดของการสอนนั้น ๆ
    • ด้านทักษะ (Skill) คือ การกระทำที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจากการฝึกประสบการณ์จริง เพื่อให้เกิดความเข้าใจความรู้นั้น ๆ ด้วยตนเอง
    • ด้านเจตคติ/คุณค่า (Attitude) คือ ความรู้สึกและทัศนคติที่นำไปสู่ความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าของเรื่องที่เรียนรู้
    1. การออกแบบวิธีการเรียนรู้ (Leaning Process) มีแบบฝึก ใบความรู้ มีขั้นตอนการนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน และขั้นสรุปในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
    2. การวัดและประเมินผล
    3. การพัฒนาเครื่องมือ “กัลยาณมิตรนิเทศ” CRC: Classroom Reflection to Change และการจัดวงเรียนรู้ เรียกว่า PLC (Professional Learning Community) เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนการสอนแบบ OLE การ นําแผนการสอนไปใช้จริง โดยครูผู้สอนต้องคำนึงถึงสถานการณ์การเรียนรู้และภาวะของผู้เรียนในขณะนั้นๆ และการ สะท้อนผลการเรียนการสอนเพื่อให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

    ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

    ด้านครู 
    • ครูปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีการสอน โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบองค์รวม และใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ ผู้บริหารร่วมสนับสนุน และบริหารงานอย่างมีส่วนร่วมโดยการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมชื่นชม
    • ครูมีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบของหลักสูตรตั้งแต่ปรัชญาการศึกษา (School Philosophy) วิสัยทัศน์ของโรงเรียน (School Vision) แนวคิดหลัก (School Concept) และผลลัพธ์ที่พึ่งประสงค์ของการเรียนรู้ (Desired Outcomes of Leaning : DOL) สมรรถนะการเรียนรู้ (Competency)
    • ครูมีความรู้ ความสามารถในการจัดกิจกรรมที่เรียนรู้อย่างหลากหลายจากการลงมือปฏิบัติจริง โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
    ด้านนักเรียน
    • ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรสถานศึกษาและสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดแก้ปัญหาและเชื่อมโยงใช้กับชีวิตประจำวันได้
    • ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตรงตามคุณธรรมอัตลักษณ์ของสถานศึกษา
    • ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้
    ด้านชุมชน
    • ส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีคุณภาพ
    • ชุมชนได้ร่วมกันสร้าง หรือสนับสนุน สื่อ วัสดุอุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้ อย่างหลากหลายบนต้นทุน และภูมิสังคม อย่างคุ้มค่า บนหลักการ ประโยชน์ชัดประหยัดสุด
    ความภาคภูมิใจ
    • ครูได้รับการพัฒนาตนเองในการปรับเปลี่ยนกระบวนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะอย่างแท้จริง
    • โรงเรียนได้ใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างแท้จริงและส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น
    • ชุมชนให้การสนับสนุนและให้ความร่วมมือในการถ่ายทอดความรู้สู่ลูกหลานด้วยความเต็มใจ

    จะทำอะไรในปีการศึกษาต่อไป

    โรงเรียนจะดำเนินจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบตามที่ได้กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับผู้เรียน ชุมชน สังคมและความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นตามสถานการณ์ของโลก

    ท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนมองว่า การพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม เป็นแนวคิดที่เน้นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative learning) การจัดการความรู้ (Knowledge management) โดยบูรณาการความรู้และกระบวนการเรียนรู้ การฝึกทักษะปฏิสัมพันธ์การเรียนรู้จากผู้อื่นและสรรสิ่ง โดยพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีความเป็นมนุษย์ มีศีลธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพ มีจิตสำนึกของการกระทำประโยชน์เพื่อสังคมและสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ไม่ต้องแยกตัวออกจากระบบสังคมอื่นๆแต่หากเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมไปพร้อมๆกัน

     

    ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

         

     


     
    ผู้เขียน : กนกพร บุญแซม

    ผู้ให้สัมภาษณ์ :  วัชรา รัตโน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านขุนหาญ 
    กราฟิกดีไซน์เนอร์ :
    อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
    ผู้อัพโหลดคอนเทนต์ : ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
สรุป ความรู้และบทเรียน เพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จากการปฐมนิเทศฯ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ “บทเรียนทรงพลัง” เพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565RILA สถาบันการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย สู่การยกระดับ จ.ระยอง เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ ด้วยกลไกความร่วมมือที่หลากหลาย
บทความล่าสุด