RILA สถาบันการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย สู่การยกระดับ จ.ระยอง เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ ด้วยกลไกความร่วมมือที่หลากหลาย

15 กันยายน 2565
RILA สถาบันการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย
สู่ระยองเมืองแห่งการเรียนรู้
ด้วยกลไกความร่วมระดับจังหวัด

โครงการวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัยจังหวัดระยอง (RILA) มีระยะเวลาการดําเนินงาน 1 ปี 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 – 14 สิงหาคม 2564 โดยภาคีเครือข่าย ดำเนินงานร่วมกัน จำนวน 65 กลุ่ม/องค์กร/หน่วยงาน จำนวน 118 คน แบ่งเป็น ภาคีเครือข่ายจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ และภาคีเครือข่ายสนับสนุน โดยมีกลุ่มโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรรมเข้าร่วมในโครงการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อสามารถนำประโยชน์ที่ได้รับนำไปต่อยอดในการศึกษา การขับเคลื่อนพัฒนาหลักสูตรและแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน 

วัตถุประสงค์ของสถาบัน

การดำเนินการของทีมวิจัยในครั้งนี้

ทีมวิจัยได้ลงไปดำเนินการ สำรวจ ติดตามและ ไปสัมภาษณ์ คนในจังหวัดระยอง ประมาณ 100 กว่าคน    นำข้อมูลที่ได้มาจัดเวทีพบปะแลกเปลี่ยนกัน และ แบ่งกลุ่มกันว่าจะดำเนินการอย่างไรกันบ้าง ทำให้เห็นความหวังว่าจังหวัดระยองกำลังเดินไปสู่จุดที่ มีความก้าวหน้าในเรื่องของการเรียนรู้ และเข้าถึงความเป็นท้องถิ่นโดยตรง 

หลักสูตรการเรียนรู้ 3 หมวด เพื่อพัฒนาคนระยอง รักษา  สืบสาน และต่อยอดให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเมือง ดังนี้
  • การเรียนรู้ระดับเมือง (ภาคีเครือข่าย 15 หน่วยงาน) เป็นคณะทำงานระดับจังหวัด โดยมีเป้าหมายคือ ทำให้คนระยอง เข้ามามีส่วนร่วมกำหนดทิศทาง ในการพัฒนาเมืองร่วมกันได้ โดยแนวทางในการสร้างการเรียนรู้ จะต้องเข้าไปทำการในระดับพื้นที่นำร่องท้องถิ่น เพื่อให้เกิดภาพในอนาคตระดับท้องถิ่น ว่าจะขับเคลื่อนไปสู่ทิศทางในอนาคตอย่างไร เช่น หลักสูตรออกแบบแนวทางการแก้ปัญหาในกระบวนการพัฒนาเมือง และหลักสูตรเพื่อการพัฒนาเมืองเชิงพื้นที่ระดับท้องถิ่น(เทศบาล) เป็นต้น

  • การเรียนรู้อัตลักษณ์ระยอง (ภาคีเครือข่าย 16 หน่วยงาน) เป็นคณะทำงานเรียนรู้เชิงประเด็นต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำนาญในเรื่องนั้นๆ ซึ่งเป็นฐานทุนทางวัฒนธรรมทางทรัพยากรธรรมชาติที่จัดระบบการเรียนรู้อัตลักษณ์ของระยอง เพื่อให้คนจังหวัดระยอง ได้รู้จักตนเอง และให้ผู้ที่สนใจ และผู้ที่ได้รับประโยชน์ จากการเรียนรู้อัตลักษณ์ของระยองสามารถมาเรียนรู้ ร่วมกันได้        เช่น หลักสูตรหนังใหญ่วัดบ้านดอน หลักสูตรการประมงวิถีระยอง หลักสูตรเรียนรู้พื้นที่ชุ่มน้ำที่สวนพฤกษศาสตร์ หรือการเกษตรวิถีพอเพียงที่บ้านจำรุง เป็นต้น

  • การเรียนรู้ใหม่ ภาคีเครือข่าย (14 หน่วยงาน) ตั้งเป็นคณะทำงานเพื่อวิเคราะห์หาความต้องการ จำเป็น เช่น การปรับตัวของผู้ประกอบการ ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด 19 (COVID 19) หรือเรื่องราว ของการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ เช่น หลักสูตรการพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ หลักสูตรผู้สร้างโรงเรียนแห่งอนาคตซึ่งได้ต่อยอดมาจากโครงการพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา จ.ระยอง เป็นต้น

ผลที่ได้คือ
  1. เกิดการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกวัย จ.ระยอง ให้เป็นกลไกลการบริหารจัดการสร้างระบบนิเวศน์การเรียนรู้ใหม่ของคนระยอง ที่เชื่อมโยงการเรียนรู้สำหรับคนทุกวัยไว้ด้วยกัน (ทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย)
  2. ได้มีรูปแบบของกลไกสถาบัน คือ ระยะเริ่มต้นปีที่ 1 จัดตั้งเป็นหน่วยงานภายใต้กองการศึกษาในองค์การบริหารส่วนจังหวัด ระยะต่อไปพิจารณาแนวทางความเป็นไปได้ในการปรับไปสู่การเป็นองค์กรในรูปแบบต่างๆ 3 ทางเลือก คือ นิติบุคคลภายใต้มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาระยอง นิติบุคคลบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคม เป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้สถาบันวิทยาลัยชุมชน หรือเป็นหน่วยงานภายใต้ อบจ.ระยอง
  3. เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการเป็นกลไกจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ ขับเคลื่อนระบบการเรียนรู้และการทำงานเชิงพื้นที่
  4. เกิดโครงสร้างหลักสูตรของสถาบันเพื่อพัฒนาคนระยองให้เท่าทันการพัฒนาเมืองใน 3 หมวดการเรียนรู้ คือ การเรียนรู้ระดับเมือง การเรียนรู้อัตลักษณ์ระยอง และการเรียนรู้ใหม่ เพื่อรักษา สืบสาน และต่อยอด ความเป็นคนระยอง
ภาพที่มุ่งหวังของสถานะทางหน่วยงาน

 

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

     

 



ผู้เขียน/สัมภาษณ์ : ปราชญาพร แช่ใจ
ผู้ให้สัมภาษณ์ : ทีมภาคีการขับเคลื่อนโครงการวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย จังหวัดระยอง
กราฟิกดีไซน์เนอร์ : อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์ : ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
โรงเรียนบ้านขุนหาญ บูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้ การศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education)พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.สตูล พื้นที่แห่งความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของครูและศิษย์
บทความล่าสุด