วิสัยทัศน์การทำงานภายใต้แนวคิดในการมีส่วนร่วมในการออกแบบการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ. ยะลา

11 กรกฎาคม 2565
วิสัยทัศน์การทำงานภายใต้แนวคิดในการมีส่วนร่วมในการออกแบบการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ. ยะลา

นายอำนาจ ชูทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา แทนประธานกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดยะลา นำเสนอ การทำงานภายใต้แนวคิดในการมีส่วนร่วมในการออกแบบการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับพื้นที่ โดยเน้นความเป็นอิสระในการบริหารตนเอง ซึ่งมีภาคีเครือข่ายจากหลายภาคส่วนพร้อมเข้ามาร่วมขับเคลื่อนเป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้เกี่ยวกับด้านการศึกษา ร่วมวิเคราะห์ วางแผนดำเนินงานในภาพรวมของจังหวัด และยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน พร้อมด้วยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 2 และ 3 สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมยกระดับคุณภาพการศึกษาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนในสถานศึกษานำร่อง ร่วมทั้งเกิดนวัตกรรม
การบริหารจัดการเชิงพื้นที่ที่จะช่วยถอดรหัสการจัดการเรียนรู้ ภายใต้แนวคิด “ครู คือ กุญแจสำคัญในการถอดรหัสจัดการเรียนรู้” เพื่อมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และส่งเสริมการรู้หนังสือ
โดยใช้พหุภาษา พหุวัฒนธรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้ำ
ในการศึกษา รวมทั้งพัฒนากลไกการจัดการศึกษาร่วมกันของทุกภาคส่วน

Yala Harmony

จังหวัดยะลาได้กำหนดคุณลักษณะของผู้เรียนจังหวัดยะลา ว่า

มุ่งให้เด็กยะลา รัก(ษ์)ยะลาและเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง โดยใช้ฐานภาษาและการเรียนรู้สู่การสร้างอาชีพในสังคมแห่งความสุข

ซึ่งคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดยะลาร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาออกแบบหลักสูตร Yala Harmony” เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่มีการเชื่อมโยงความรู้จากบทเรียนหรือเรื่องราว และเนื้อหาของจังหวัดยะลา เพื่อการจัดการเรียนรู้ ภายใต้บริบทสังคมพหุภาษา พหุวัฒนธรรมที่พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ยอมรับและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความเป็นยะลาและความเป็นไทย มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางพหุภาษาศึกษาโดยใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นฐาน การเรียนรู้เพื่อการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการพัฒนาผู้เรียนที่มีทักษะการคิดขั้นสูงการสร้างผลิตภาพ ของความคิดและความรับผิดชอบต่อสังคมที่เชื่อมโยงระหว่างสมรรถนะหลักและสมรรถนะเฉพาะในการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตและการทำงานสามารถรองรับการจัดกระบวนการเรียนรู้ในสถานการณ์วิกฤติ โดยที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย มีความยืดหยุ่นโดยจัดการเรียนรู้ในบริบทครอบครัวและชุมชนเป็นฐานเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพมีเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะ ความรู้ ทักษะ ที่เหมาะสมกับช่วงวัย โดยเป็นการพัฒนาผู้เรียนเฉพาะบุคคล (Personalization) อย่างเป็นองค์รวม (Holistic Development) เป็นเจ้าของการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (Life-Long Learning) มุ่งใช้การประเมินเพื่อการพัฒนาผู้เรียนและสะท้อนสมรรถนะของผู้เรียนตามเกณฑ์การปฏิบัติ (Performance) ที่เป็นธรรมเชื่อถือได้และเอื้อต่อการถ่ายโยงการเรียนรู้และพัฒนาในระดับที่สูงขึ้น ตามระดับตามความสามารถ มีความรู้เข้าใจมีทัศนคติที่ดีมีการยอมรับและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น สามารถตัดสินใจและมีทักษะการปฏิบัติทางสังคมที่ส่งผลต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุภาษา พหุวัฒนธรรมได้อย่างราบรื่นและมีความสุข และเข้าใจในความเป็นยะลาทั้งในมติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมทาง ลักษณะพื้นที่ ทางกายภาพ อัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น มีสมรรถนะด้านภาษาทั้งภาษาท้องถิ่นของตนเอง ภาษาไทยและพหุภาษา มีสมรรถนะในการเข้าสู่อาชีพ การทำงาน และการใช้ชีวิต

 

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

       


ผู้เขียน : อิศรา โสทธิสงค์
กราฟิกดีไซน์เนอร์ :
อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์ : ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
วิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.เชียงใหม่ร่วมให้ข้อเสนอแนะ “มาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา”
บทความล่าสุด