วิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.เชียงใหม่

8 กรกฎาคม 2565

การนำเสนอวิสัยทัศน์ของจังหวัดเชียงใหม่ต่อคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2565
โดย นางยุพิน บัวคอม ศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่

 

จังหวัดเชียงใหม่

เป็น 1 ใน 8 จังหวัดนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา กำหนดทิศทางการขับเคลื่อนโดยการใช้แผนพัฒนา แผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนของพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ในห้วงปี 2565 – 2569 มีการวิเคราะห์แนวโน้มอนาคตของเมืองเชียงใหม่ และได้มีการกำหนดสมรรถนะ “ละอ่อนเชียงใหม่” ว่าเด็กเชียงใหม่จะมีสมรรถนะอะไรบ้าง อย่างเช่น

  1. การคิดขั้นสูง
  2. การพึ่งพาตนเอง
  3. การสื่อสาร
  4. การเป็นผู้ประกอบการ
  5. การทำงานเป็นทีม
  6. การใช้เทคโนโลยี
  7. การเป็นพลเมือง (Active Citizen)

ซึ่งเมืองของเชียงใหม่เป็นเมืองแห่งศิลปะ เมืองแห่งการสัญจร เมืองแห่งวัดวาอาราม และเมืองแห่งนวัตกรรม ที่จะเน้นในเรื่องของเศรษฐกิจ การเติบโต การบริการที่มีคุณภาพเป็นเมืองอัจฉริยะผู้คนฉลาดเลือก รวมทั้งกรอบแนวทาง ได้มีวิสัยทัศน์ของพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดเชียงใหม่ว่า

“เชียงใหม่นครแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีความสุข”

ภารกิจการการขับเคลื่อน

  • ภารกิจที่ 1 จะสร้างความเสมอภาคการศึกษาตลอดชีวิต
  • ภารกิจที่ 2 จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาเชิงสมรรถนะแห่งอนาคต
  • ภารกิจที่ 3 จะเร่งพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ การจัดการเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัด
  • ภารกิจที่ 4 จะยกระดับขีดสมรรถนะการบริหารจัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่

ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ได้แถลงเจตนารมณ์ที่จะมุ่งมั่นที่เริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษาตลอดชีวิตที่มีความสุขสำหรับคนทุกช่วงวัย บนหลักการจังหวัดการศึกษาสถานศึกษาจัดการตนเองตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 โดยใช้จังหวัดเป็นฐาน ซึ่งที่ผ่านมาในจังหวัดเชียงใหม่จะเดินตามมาตรา 5 ตามประสงค์ของพื้นที่นวัตกรรมในเรื่องของการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา

การคิดค้นและพัฒนานวัตกรรม

จังหวัดเชียงใหม่มีสถานศึกษานำร่องทั้งหมด 104 แห่ง มีนวัตกรรมอยู่ 5 ด้านซึ่งประกอบด้วย 109 นวัตกรรม ซึ่งจะแบ่งเป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการ จำนวน 30 นวัตกรรม อาทิ อ่างขางโมเดล การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ SAC โมเดล ของโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ มีนวัตกรรมด้านหลักสูตรจำนวน 10 นวัตกรรม ในเรื่องของหลักสูตรฐานสมรรถนะ มีแพลตฟอร์มการเรียนรู้ของสถานศึกษาของโรงเรียนแม่คือวิทยา และมีนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้อีกจำนวน 65 นวัตกรรม อาทิ การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน เพื่อให้เด็กมีความรู้ภาษาไทยที่เข้มแข็งเป็นบันไดการเรียนรู้ต่อไป และเรื่องของVR Reader ในการเสริมสร้างภาวะผู้นำในตัวเด็กของนักเรียนโรงเรียนพิมานเด็กเชียงใหม่ มีนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้จำนวน 2 นวัตกรรม ในเรื่องของ We Love Story ที่เสริมสร้างทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัยด้วยนิทาน และสุดท้ายมีนวัตกรรมด้านการนิเทศติดตามประเมินผลอยู่ 2 นวัตกรรม เช่น เปียงหลวงโมเดล ซึ่งการยกระดับคุณภาพการศึกษาหรือว่าผลสัมฤทธิ์ได้ทดลองเอาข้อมูลผลสอบทดสอบระดับชาติหรือ O-Net ในปี 2564 โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมของจังหวัดเชียงใหม่ มีค่าเฉลี่ยผลรวมทดสอบเท่ากับ 39.15 ซึ่งสูงกว่าผลทดสอบในปี 2563 เท่ากับ 1.78 ซึ่งเป็นผลที่ได้ทำงานตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562

การลดความเหลื่อมล้ำ

ได้มีการศึกษาที่หลากหลายโดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลโดยใช้เทคโนโลยี ในเรื่องของทวิภาษาและพหุภาษาจังหวัดเชียงใหม่นั้นจะแตกต่างกับจังหวัดอื่นที่มีจัดการศึกษาที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีสถานศึกษานำร่องที่มาจากการศึกษาพิเศษด้วยซึ่งจะเป็นการจัดการศึกษาของโรงเรียนศรีสังวาลย์ ที่จัดการศึกษาให้กับเด็กพิการทุกประเภท การพัฒนาการศึกษา ในเรื่องของ Smart Farm ที่จะค้นหาศักยภาพในตัวเด็กและพัฒนาให้มีความพร้อมที่จะก้าวสู่โลกภายนอก ซึ่งเด็กของโรงเรียนศรีสังวาลการสั่งพิเศษได้ไปแข่งขันชนะโครงงาน ได้รองชนะเลิศอันดับ 1 ในเรื่องของโครงงานเกี่ยวกับหุ่นยนต์สมองกลของ สวทช. ได้จัดการประกวด ถึงแม้ว่าในศักยภาพจะเป็นเด็กพิการ

การกระจายอำนาจให้อิสระ

ได้มีการพัฒนาหลักสูตรที่ค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งขณะนี้ได้มีหลักสูตรเห็นชอบแล้ว 25 หลักสูตร และกำลังดำเนินการที่จะนำเข้าคณะกรรมการขับเคลื่อนจังหวัดอีกจำนวน 20 หลักสูตร ซึ่งการกระจายอำนาจที่เห็นชัดในเรื่องของวิชาการเนื่องจากเราสามารถมีหลักสูตรที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการ ได้มีการทำวิจัยรองรับการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดเชียงใหม่ที่จะเป็นทิศทางแนวทางในการเดินว่า มีปัจจัยความสำเร็จอย่างไรบ้าง มีปัญหาอุปสรรค และมีแนวทางที่จะก้าวต่อไปอย่างไร โดยมีการวิจัยในเรื่องของการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเตรียมไว้แล้วด้วย และก็มีการวิจัยในเรื่องของการวัดผลประเมินผลที่ยกระดับผลสัมฤทธิ์ของการศึกษานำร่อง ซึ่งในปีที่แล้วได้ทำงานวิจัยเพื่อจะได้มีข้อมูลให้สามารถเดินไปก็จะได้มีทิศทางที่ชัดเจน

การสร้างและพัฒนากลไกการจัดการศึกษา

ได้มีการทำงานร่วมกันของหน่วยงานต้นสังกัด โดยมีพี่เลี้ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมีทุนเดิมในเรื่องของภาคีเชียงใหม่เพื่อการปฏิรูปที่นำมาต่อยอดตอบโจทย์ในเรื่องของการลดความเหลื่อมล้ำด้วย นอกจากนี้ยังมีมูลนิธิภาษาศาสตร์มาดูแลในเรื่องของพหุภาษา มูลนิธิสตาร์ฟิชคันทรีโฮม สถาบันอาศรมศิลป์ และล่าสุดได้ทำ MOU กับสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการที่จะได้มาเป็นพี่เลี้ยงส่งเสริมสนับสนุนชี้แนะแนวทางในการขับเคลื่อนและพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมและทำ MOU กับไนท์ซาฟารีที่เราจะเราจะมีการเรียนรู้เป็นโมดูล เพื่อให้เด็กพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและเด็กเชียงใหม่เข้าใช้ในซาฟารีเป็นแหล่งเรียนรู้ ซึ่งตอนนี้ก็ได้มีการทำหลักสูตรร่วมกันที่จะใช้ไนท์ซาฟารีหรือแหล่งอื่น ๆ จังหวัดเชียงใหม่เป็นแหล่งการเรียนรู้ของกับนักเรียนทั้งจังหวัดนำร่องและในส่วนอื่น ๆ ซึ่งในการทำงานนี้ก็มีอนุกรรมการ 3 ชุด เป็นอนุกรรมการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่มีปัญหาในเรื่องของการทำงานร่วมกันหลายหน่วยงานซึ่งต้องไปในทิศทางเดียวกันมันก็ค่อนข้างจะยาก และคณะกรรมการชุดนี้ได้สร้างการรับรู้ให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ได้เข้าใจเรื่องของ พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 เข้าใจหลักการทำงานร่วมกัน แต่ก็ยังเจอปัญหาอีกว่ายังไม่ตรงจุดเท่าที่ควร ซึ่งล่าสุดก็ได้นำศึกษานิเทศก์ทั้งของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและของเขตพื้นที่ เนื่องจากนิเทศก์จะเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างต้นสังกัดกับสถานศึกษา เพราะว่าสถานศึกษาคือตัวที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ในเรื่องของนวัตกรรม และเรื่องของการศึกษาและการมีส่วนร่วมที่ต่อยอดของปฏิรูปแล้ว จังหวัดเชียงใหม่ได้มีการบูรณาการทั้งทุกภาคส่วน เพื่อตอบวิสัยทัศน์โดยให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์ และก็เป็นการศึกษาคนเชียงใหม่เพื่อคนเชียงใหม่อย่างแท้จริง

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

       



ผู้เขียน : มาศชฎา จันทราทิพย์
กราฟิกดีไซน์เนอร์ :
อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์ : ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินหน้าขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเชิงนโยบาย ร่วมประชุมคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 2/2565 อย่างพร้อมเพรียงวิสัยทัศน์การทำงานภายใต้แนวคิดในการมีส่วนร่วมในการออกแบบการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ. ยะลา
บทความล่าสุด