ร่วมให้ข้อเสนอแนะ "มาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา"

26 กรกฎาคม 2565
ร่วมให้ข้อเสนอแนะ “มาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา”

เมื่อวันที่ 18 – 20 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการคณะทำงานมาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานข้อมูลการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ณ โรงแรม Palazzo Bangkok กรุงเทพมหานครฯ และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีผู้เข้าประชุมซึ่งเป็นบุคลากรจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา อาทิ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา นักวิชาการคอมพิวเตอร์ จากหน่วยงานส่วนกลาง อาทิ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงาน ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักทดสอบการศึกษา สำนักบริหารการศึกษาพิเศษ สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงาน ก.พ.ร. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เพื่อร่วมให้ข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) เอกสารมาตรฐานข้อมูลที่ทีมผู้พัฒนาจัดทำขึ้น

ในการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ
  • เพื่อจัดทำ/พัฒนามาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่อง ให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ
  • เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พิจารณา วิพากษ์ ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่อง
  • เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำมาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่อง อันจะนำไปสู่การปรับปรุงกระบวนงาน
  • เพื่อให้เข้าใจหลักการ Interoperability เกิดแนวทางในการทำงานในทิศทางเดียวกัน
  • เพื่อผลักดันกลไกและบูรณาการสารสนเทศทางการศึกษาทุกระดับให้ทำงานร่วมกันอย่างมีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพสูงสุดเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562
ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ
  • ได้มาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่อง ให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ
  • ได้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่อง
  • ได้ความรู้ความเข้าใจและแนวทางการนำมาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่อง ไปใช้ร่วมกันทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ

ในช่วงก่อนเริ่มการประชุม นายพิทักษ์ โสตถยาคม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (รูปซ้าย) ได้กล่าวนำเสนอที่มาและความสำคัญของการพัฒนามาตรฐานข้อมูลฯ และเหตุผลความจำเป็นของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่ต้องจัดให้มี และต่อด้วยนายอิทธิกร ช่างสากล ผู้อำนวยการศูนย์การเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (รูปขวา) ในฐานะหน่วยงานผู้ดูแลฐานข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการ ได้มาเล่าถึงรูปแบบของการเก็บข้อมูลการศึกษาของกระทรวงศีกษาธิการในปัจจุบัน การพัฒนามาตรฐานข้อมูลที่กำลังพัฒนาอยู่ การนำมาตรฐานข้อมูลไปใช้ โดยเน้นย้ำว่า การนำมาตรฐานข้อมูลกำลังพัฒนาอยู่ชุดนี้ไปใช้ จะไม่เป็นการทำงานไม่ซ้ำซ้อนกับฐานข้อมูลเดิมและไม่เป็นการสร้างภาระงานเพื่มให้กับผู้กรอกข้อมูล ดังแผนภาพนี้

ในการร่วมให้ข้อเสนอแนะต่อมาตรฐานข้อมูลฯ โดยคณะทำงานได้ร่วมกันพิจารณารหัสมาตรฐานข้อมูล 16 ฐานข้อมูล (ภาพบน) ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยรองศาสตราจารย์ประกอบ กรณีกิจ (ภาพล่าง) หัวหน้าโครงการพัฒนามาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานข้อมูลการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาพร้อมคณะ ได้ร่วมพัฒนาขึ้น พร้อมทั้งนำเสนอแผนภาพจำลองการเชื่อมโยงข้อมูล ดังนี้

คณะทำงานฯ ได้จัดและแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อพิจารณาตามความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคลและหน่วยงาน ออกเป็น 5 กลุ่ม คือ

  • กลุ่ม 1 ข้อมูลนักเรียน/ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา/ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
  • กลุ่ม 2 ข้อมลูครูและบุคลากรทางการศึกษา/ข้อมูลบุคลากรอื่น/ข้อการพัฒนาบุคลากร
  • กลุ่ม 3 ข้อมูลสถานศึกษา/ข้อมูลหลักสูตร/ข้อมูลงบประมาณ
  • กลุ่ม 4 ข้อมูลอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่/ข้อมูลนวัตกรรมการศึกษา/ข้อมูลเทคโนโลยีและสื่อการเรียนรู้/ข้อมูลแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการศึกษา
  • กลุุ่ม 5 ข้อมูลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เข้ามามีส่วนร่วมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา/ข้อมูลอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาด้านต่าง ๆ/การประกันคุณภาพด้วยตัวชี้วัดพื้นที่

ซึ่งคณะทำงานชุดย่อย ทั้ง 5 ชุด ได้ดำเนินการตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไข ให้ข้อเสนอแนะ และนำเสนอแลกเปลี่ยนเปลี่ยนระหว่างกลุ่มเพื่อให้ความเห็นเพิ่มเติม และส่งต่อข้อมูลให้ทีมผู้พัฒนานำไปใช้ปรับปรุงและพัฒนาชุดรหัสมาตรฐานข้อมูลให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น สามารถนำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ซึ่งคณะทำงานทุกท่านได้ร่วมกันทำงานอย่างเต็มที่ เต็มกำลัง ด้วยแรงกายและแรงใจ ตลอดทั้ง 3 วัน ซึ่งทำให้ได้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงชุดรหัสมาตรฐานที่ตรงกับการเก็บข้อมูลในสภาพจริง เข้าใจง่าย ซึ่งจะนำมาตรฐานที่ได้รับการปรับปรุงนี้ นำไปใช้เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อให้มีการกำหนดและประกาศใช้ต่อไป

ในช่วงสุดท้ายก่อนปิดการประชุมฯ ได้มีการนำเสนอผลการขับเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดทำมาตรฐานข้อมูลในของแต่ละจังหวัดที่กำลังดำเนินการอยู่ และความคาดหวังของการนำมาตรฐานข้อมูลที่ทางคณะทำงานกำลังพัฒนาเพื่อนำไปสู่การกำหนดให้มีและใช้มาตรฐานข้อมูล ซึ่งในภาพรวมทั้ง 8 จังหวัดได้มีการจัดทำฐานข้อมูลแล้ว ซึ่งจะรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากจะมีการจัดเก็บข้อมูลในด้านจำนวนสถานศึกษานำร่อง จำนวนครูนักเรียน กิจกรรมที่ดำเนินการอยู่ การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อน นวัตกรรมของสถานศึกษา ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนการสอน ยกตัวอย่างจังหวัดที่จัดเก็บและนำเสนอในรูปแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ อาทิ จังหวัดกาญจนบุรี (คลิก) จังหวัดระยอง (คลิก)  อีกทั้งคณะทำงานหลายท่าน ได้ให้ความเห็นว่าในแนวทางเดียวกันว่า “มีความคาดหวังในการให้มีการกำหนดมาตรฐานข้อมูล เพราะจะเป็นผลดีต่อเก็บข้อมูลและลดภาระการทำงานและความซ้ำซ้อนการกรอกข้อมูลของโรงเรียนในอนาคต”

ในท้ายนี้ผู้เขียน ได้สรุปจากการประชุมฯ เป็นบทความเพื่อนำเสนอการทำงานและการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งในการประชุม ผู้เขียนได้มีส่วนร่วมในการเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ในการประุชมและร่วมสังเกตุการณ์ในกระบวนการทำงาน ผู้เขียนรู้สึกปลื้มใจที่ได้ร่วมทำงานกับคณะทำงานและทีมพัฒนามาตรฐานข้อมูล และหวังว่ามาตรฐานข้อมูลที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตในไม่ช้านี้ จะเป็นมาตรฐานในการเก็บข้อมูลที่สำคัญ สามารถนำไปใช้ได้จริง โดยไม่เป็นการเพิ่มภาระงานและซ้ำซ้อน และขอขอบคุณคณะทำงานทุกท่าน ที่ได้มาร่วมพัฒนามาตรฐานข้อมูล และท่านผู้อ่านบทความนี้ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในการสร้างการรับรู้ในการทำงานเพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา แล้วพบกันในบทความถัดไป 🙂

 

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

       


ผู้เขียน : อิศรา โสทธิสงค์
กราฟิกดีไซน์เนอร์ :
อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์ : ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
วิสัยทัศน์การทำงานภายใต้แนวคิดในการมีส่วนร่วมในการออกแบบการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ. ยะลาการปฐมนิเทศและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “บทเรียนทรงพลัง” เพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
บทความล่าสุด