การศึกษาแบบทวิภาษา หัวใจสำคัญของการพัฒนาโรงเรียนบนพื้นที่ราบสูง นักเรียนชนเผ่า นักเรียนต้องอ่านออก เขียนได้ สื่อสารได้ เมื่อจบการศึกษาไปแล้วมีงานทำ

7 พฤษภาคม 2563

สพป. เชียงใหม่ เขต 5 มีโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรม จำนวน 9 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านห้วยน้ำขาว บ้านห่างหลวง บ้านมูเซอ บ้านห้วยปูลิง บ้านขุนแม่ตื่นน้อย บ้านสบลาน บ้านตุงติง บ้านยางเปา และโรงเรียนบ้านพุย

เป้าหมายการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

บริบทพื้นที่ สพป. เชียงใหม่ เขต 5 เป็นที่ราบสูง ผู้ปกครองและนักเรียนส่วนใหญ่เป็นชนเผ่า ในชุมชนมีวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ค่อนข้างแตกต่างกัน ใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นหลัก พูดภาษาไทยไม่ได้/ไม่คล่อง ส่งผลให้การสื่อสารและการพัฒนาเรื่องการศึกษาไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เป้าหมายสำคัญที่ สพป. เชียงใหม่ เขต 5 เร่งพัฒนาให้ดีที่สุดคือเรื่องการใช้ภาษาไทย การเน้นให้นักเรียนอ่านภาษาไทยออก เขียนได้ สื่อสารได้ดี และเมื่อจบการศึกษาไปแล้วสามารถประกอบอาชีพสุจริตดูแลตนเองและครอบครัวได้ไม่เป็นปัญหาของสังคม กล่าวง่าย ๆ คือ “นักเรียนอ่านออก เขียนได้ สื่อสารได้ เมื่อจบการศึกษาไปแล้วมีงานทำ”

การผลักดันเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย

จะจัดประชุมหารือและทบทวนทำความเข้าใจในเรื่องการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่แต่ละโรงเรียนกำลังดำเนินการอยู่ เพื่อให้การดำเนินเกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยเชิญผู้บริหารโรงเรียนและตัวแทนครูโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมในสังกัด สพป.เชียงใหม่ เขต 5 ทั้ง 9 โรงเรียนและอาจมีโรงเรียนอื่นที่สนใจสมัครเข้าเป็นโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมมาร่วมประชุมด้วย วัตถุประสงค์ของ การประชุมก็เพื่อปรับทิศทางและพัฒนาการดำเนินงานดังกล่าวข้างต้น ซึ่งมีโรงเรียนนำร่องบางแห่ง ผู้บริหารโรงเรียนย้าย บางแห่งทั้งผู้บริหารโรงเรียนและครูย้าย

กระบวนการเรียนรู้

จัดรูปแบบการศึกษาแบบทวิภาษา ใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นเครื่องมือร่วมกับการสอนภาษาไทยเพื่อจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กชนเผ่า เพื่อช่วยแก้ปัญหา เด็ก “อ่านไม่ออก” “เขียนไม่ได้” เน้นเรื่องการใช้ภาษาไทย การสื่อสาร เน้นให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้ เป็นหลัก

บทบาทตาม พรบ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562

ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพื้นที่นวัตกรรม การศึกษา โดยได้เชิญ ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน เป็นที่ปรึกษา เชิญอาจารย์มหาวิทยาลัยรัชภัฏ และผู้บริหารโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 9 คน ร่วมเป็นคณะอนุกรรมการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้พัฒนาและมีความชัดเจนขึ้นต่อไป

บทบาทในฐานะผู้นำหน่วยงานการศึกษา

สร้างความตระหนักเรื่องบทบาทหน้าที่การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมต่อผู้บริหารโรงเรียนครู

เน้นการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษา โดยการดำเนินงาน 1) เชิญตัวแทนโรงเรียนมาร่วมประชุม และ เชิญผู้แทน สพป.เชียงใหม่ เขต 4 และเขต 6 มาร่วมประชุมร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) เชิญมูลนิธิภาษาศาสตร์ประยุกต์ มาร่วมประชุมให้ความรู้ 3) ส่งโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาไปร่วมเรียนรู้เรื่องภาษาร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 4) ส่งศึกษานิเทศก์และผู้บริหารโรงเรียนไปดูงานที่ สพป.สตูล 5) ส่งโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้ง 9 โรงเรียนและโรงเรียนอื่น ๆ ในสังกัด เข้าร่วมงานเกี่ยวกับการศึกษาที่ จ.เชียงใหม่ จัดขึ้น

การร่างหลักสูตร ส่วนใหญ่จะเน้นบริบทพื้นที่เป็นสำคัญ และมีแนวความคิดว่า การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา คือ การจัดการศึกษาที่เน้นให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้ จบการศึกษาแล้วมีอาชีพมีงานทำ

“นวัตกรรมไม่ใช่สิ่งที่ต้องเด่นต้องดัง หรือต้องแข่งขันเพื่อให้ผลการสอบ O-net, NT ได้คะแนนสูงกว่าใคร”

ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

ผลที่เกิดขึ้นต่อผู้เรียน

นักเรียนในโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้ง 9 โรงเรียน เน้นเรียนในรูปแบบทวิภาษา ซึ่งผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test : RT) ดีขึ้นมาก โดยเฉพาะเรื่องการอ่าน การสื่อสารก็ดีขึ้นเป็นลำดับ

ผลที่เกิดขึ้นต่อผู้ปกครอง 

เนื่องจากผู้ปกครองเป็นชนเผ่าไม่ค่อยได้รับการศึกษา จึงยกภาระเรื่องการจัดการเรียนการสอนให้เป็นของโรงเรียน ไม่มีข้อเสนอแนะหรือข้อขัดแย้งใด

ผลที่เกิดขึ้นต่อครู 

ครูยินดีและมีความสุขกับผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test : RT) ที่สูงขึ้น และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาการเรียนการสอน

ผลที่เกิดขึ้นต่อภาคเอกชน

มีหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาหลายหน่วยงาน  เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด มูลนิธิภาษาศาสตร์ประยุกต์ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น กิจกรรมที่เข้ามาช่วยเหลือ เช่น มีเวลามีการจัดประชุมหรือมีกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องการอ่านออกเขียนได้ ก็จะเชิญให้โรงเรียนเข้าร่วมเรียนรู้ หรือพาไปดูงานเรื่องสุขอนามัยนักเรียน

ผลที่เกิดขึ้นต่อผู้บริหารโรงเรียน

ผู้บริหารมีความสนใจและกระตือรือร้นในการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาเป็นอย่างดี

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน

ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่มีปัญหาอุปสรรคใดๆ เพียงแต่ต้องการให้ผู้บริหารทุกระดับที่ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เห็นความสำคัญของ คำว่านวัตกรรม เป็นเรื่องการพัฒนาให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้ สื่อสารดี มีงานทำ มากกว่าที่จะเน้นให้การพัฒนาเป็นการทำให้นักเรียนมีผลการสอบ O-Net , NT ได้คะแนนสูง ๆ เท่านั้น

แนวทางดำเนินการต่อไปในอนาคต 

จะจัดให้มีการพบปะ พูดคุย และถอดประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนที่ ดำเนินการได้ผลดีเผยแพร่เป็นตัวอย่างแก่โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและโรงเรียนอื่น ๆ ในเขตพื้นที่การศึกษา

จะเห็นได้ว่า การดำเนินงานของ สพป.เชียงใหม่ เขต 5 เป็นการสนับสนุน และส่งเสริมให้โรงเรียนจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษา ซึ่งสอดคล้องตามบริบทของพื้นที่และความต้องการอย่างแท้จริงของนักเรียน


ผู้เขียน: สุดจิตร์ ไทรนิ่มนวล
ผู้ให้สัมภาษณ์: พัฒนพงศ์ พวงทอง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5
ผู้สัมภาษณ์: สุดจิตร์ ไทรนิ่มนวล
กราฟิกดีไซน์เนอร์: รัตนากร พึ่งแก้ว, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์
ภาพประกอบ: พัฒนพงศ์ พวงทอง

Facebook Comments
โรงเรียนบ้านสบแม่รวม พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร ยกระดับผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทยด้วย โมเดล “ปรับพ่อแม่ให้เป็นครู ปรับที่อยู่ให้เป็นห้องเรียน” และ 3 ก Model เก็บ กัก เก่งโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ขับเคลื่อนด้วยหลากหลายรูปแบบวิธีการสอน Active learning ควบคู่แนวคิดการจัดการเรียนรู้ Neo-Humanist
บทความล่าสุด