"ร่วมสรรค์สร้าง นวัตกรรม สู่การสร้าง คุณภาพผู้เรียน" แนวคิดการทำงานของ นิรันดร์ แสงกุหลาบ ศึกษานิเทศก์ สพป.กาญจนบุรี เขต 4

14 มีนาคม 2565
ร่วมสรรค์สร้างนวัตกรรม สู่การสร้างคุณภาพผู้เรียน
บทสัมภาษณ์ นายนิรันดร์ แสงกุหลาบ ศึกษานิเทศก์ สพป.กาญจนบุรี เขต 4

บทความนี้ ขอนำเสนอเรื่องราว หลักการการทำงานหรือแนวคิดของศึกษานิเทศก์ตัวอย่างที่น่าสนใจในการชี้แนะ หนุนเสริม ประสานงานจังหวัดในการเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของจังหวัดกาญจนบุรี นายนิรันดร์  แสงกุหลาบ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4

งานศึกษานิเทศก์/การนิเทศ เป็นอย่างไร รูปแบบไหน และสอดคล้องกับพื้นที่นวัตกรรมอย่างไรบ้าง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 มุ่งเน้นการนิเทศเพื่อขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีนโยบายการขับเคลื่อนคุณภาพ 6 ประการ

  • นโยบายที่ 1 เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
  • นโยบายที่ 2 ขับเคลื่อนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 
  • นโยบายที่ 3 มุ่งเน้นการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น
  • นโยบายที่ 4 พัฒนาระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์
  • นโยบายที่ 5 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษารอบด้าน “ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน”
  • นโยบายที่ 6 ส่งเสริมโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching)

ทั้งการนิเทศในพื้นที่จริง การนิเทศแบบออนไลน์ และการนิเทศแบบผสมผสาน โดยใช้ภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วม เป็นต้น เช่น คณะกรรมการ ก.ต.ป.น. ศึกษานิเทศก์จากศึกษาธิการจังหวัด อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ซึ่งมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ โดยการขับเคลื่อนนโยบายทั้ง 6 นโยบาย จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนโรงเรียนในสังกัดและโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมให้บรรลุจุดมุ่งหมายตาม พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 เช่น การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้สามารถคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ รวมทั้งการขับเคลื่อนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม 

หลักการหรือแนวคิดในการทำงานร่วมกันกับครู/โรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุ่งเน้นการสื่อสาร สร้างความเข้าใจโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อให้เกิดแนวคิดและแนวทางในการดำเนินงานในทิศทางเดียวกัน โดยให้โรงเรียนใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายอย่างรอบด้าน ซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่จะให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ส่งเสริม สนับสนุน ในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและใช้กระบวนการ PLC มาใช้ปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับครู/นักเรียน/โรงเรียน
  • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับครู  

1. ครูได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะที่สามารถมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ  

2. ครูสามารถพัฒนานวัตกรรรมการจัดการเรียนการสอนตามบริบทได้อย่างหลากหลาย

 

  • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน

1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น

2. ผู้เรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมและเสมอภาค

3. นักเรียนสามารถพัฒนาหรือต่อยอดนวัตกรรมการเรียนรู้ได้

 

  • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน  

1. โรงเรียนจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพและสามารถให้บริการการศึกษาอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง  

2. โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน        

3. โรงเรียนได้รับการยอมรับและเกิดความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ  

ในฐานะศึกษานิเทศก์ ภาพหวังของการเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ควรเป็นอย่างไร/จะประสบความสำเร็จได้อย่างไร
  1. มีความเป็นอิสระในการบริหารและจัดการศึกษาอย่างแท้จริง  โดยเฉพาะด้านงบประมาณและบุคลากร
  2. ความเข้มแข็งและต่อเนื่องในการดำเนินงานของโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมของบุคลากรในโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรม  
  3. องค์กรภาคีเครือข่ายให้การมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ต่อเนื่องและครอบคลุมทุกพื้นที
“ร่วมสรรค์สร้างนวัตกรรม สู่การสร้างคุณภาพผู้เรียน”

นายนิรันดร์ แสงกุหลาบ ได้ให้นิยาม 1 ประโยคสั้น ๆ กับการทำงานศึกษานิเทศในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาว่า “ร่วมสรรค์สร้างนวัตกรรม สู่การสร้างคุณภาพผู้เรียน”

 

 

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่
   
   


ผู้สัมภาษณ์ : ณัฐมล ไชยประดิษฐ์
ผู้ให้สัมภาษณ์ : นิรันดร์ แสงกุหลาบ ผอ.กลุ่มนิเทศก์ฯ สพป.กจ.4
ผู้เขียน/เรียบเรียง : ณัฐมล ไชยประดิษฐ์
กราฟิกดีไซน์เนอร์:
อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: อิศรา โสทธิสงค์

Facebook Comments
12 เดือน Webinar เปิดโลกกิจกรรมการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ วิถีอนาคต มี.ค. 65 – ม.ค. 66TEP FORUM 2022 “ก่อร่างสร้างใหม่ การศึกษาไทยสู่อนาคต”
บทความล่าสุด