พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.สตูล พื้นที่แห่งความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของครูและศิษย์

16 กันยายน 2565

 

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.สตูล
พื้นที่แห่งความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของครูและศิษย์

นางหนึ่งฤทัย วิจิตรจรรยา ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล เล่าถึงการทำงานในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.สตูล นั้น โดยส่วนตัวเริ่มรู้จักพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตั้งแต่มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล ประกาศ ณ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2561

แนวคิด/หลักการ การทำงานในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

แนวคิด/หลักการ ที่ใช้ในการทำงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คือ ต้องการให้โรงเรียนสามารถดำเนินการอย่างอิสระ 4 ด้าน วิชาการ บุคคล งบประมาณ และบริหารทั่วไป โดย ศึกษานิเทศก์เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกและสนับสนุนให้โรงเรียนนำร่อง ให้สามารถดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 เพื่อให้การทำงานในพื้นที่นวัตกรรมกรรมการศึกษามีวิธีการดำเนินงานต่าง ๆ อย่างหลากหลายวิธีการ หลากหลายแนวทางในการดำเนินงาน โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนต่างในจังหวัดที่ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเพื่อให้พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.สตูล ประสบความสำเร็จสู่เป้าหมายที่ต้องการ

จากประสบการณ์การทำงานในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา การดำเนินงานโครงการหรืองานนิเทศอื่น ๆ จะเป็นการดำเนินงานภายในองค์กร ซึ่งเมื่อศึกษานิเทศก์รับนโยบาย องค์ความรู้ แนวทางปฏิบัติ และงบประมาณมาจากต้นสังกัด การทำงานของศึกษานิเทศก์จะดำเนินงานภายในองค์กรและภายนอก ซึ่งเป็นการประสานความร่วมมือในการทำงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความราบรื่น สะดวกต่อการปฏิบัติงาน แต่ในการประสานความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในแต่ละหน่วยงานก็จะมีวิถีในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันในบางส่วน หรือในบางขั้นตอนการปฏิบัติ ซึ่งนั้นจะเป็นหนึ่งในการทำลายกำแพงในการทำงาน ค่อย ๆ เรียนรู้และปรับตัวร่วมกัน โดยส่วนมากจะเป็นงานประสานความร่วมมือกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสตูลในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในกระบวนการทำงานคณะกรรมการขับเคลื่อนได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อรับผิดชอบงานด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านวิชาการ บุคคล สื่อสาร ยุทธศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งอนุกรรมการต่าง ๆ มาจากบุคคลที่หลากหลายจากหลายภาคส่วนมาร่วมกันขับเคลื่อน

ในการทำงานร่วมกับครูและโรงเรียน ศึกษานิเทศก์มีวิธีการทำงานร่วมกัน คือ การทำงานอย่างเป็นกัลยาณมิตร ซึ่งทำหน้าที่ คอยให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ ชี้แนะ ให้กำลังใจ เพื่อให้โรงเรียนนำร่องเกิดความสบายใจ ไม่รู้สึกกังวล ซึ่งกระบวนการการนิเทศดังกล่าว ที่ใช้กับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เป็นงานที่ให้ความช่วยเหลือ แนะนำ กระตุ้น ชี้แนะ ในการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และด้านการจัดการศึกษา ให้กับครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้โรงเรียนนำร่องเกิดการพัฒนานวัตกรรมและนำไปสู่การปฏิบัติในชั้นเรียน

“นวัตกรรม” ภาพหวังในมุมมองของ ศน. หนึ่งฤทัย วิจิตรจรรยา

นวัตกรรม ในที่นี้หมายถึง การทำให้เกิดการทำงานสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีใหม่ ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

ส่งท้าย

จากการสัมภาษณ์ ผู้เขียน ได้เห็นบทบาทสำคัญของศึกษานิเทศก์ผู้เป็นกำลังหลักสำคัญที่จะคอยช่วยเหลือ สนับสนุน และให้คำปรึกษาโรงเรียน ซึ่งจะทำให้โรงเรียนอุ่นใจและมีที่พึ่ง และร่วมกันพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสู่ความสำเร็จ

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

     

 



ผู้เขียน/สัมภาษณ์ : นิฎฐา ขุนนุช
ผู้ให้สัมภาษณ์ : หนึ่งฤทัย วิจิตรจรรยา ศึกษานิเทศก์ สพป.สตูล
กราฟิกดีไซน์เนอร์ : อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์ : ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
RILA สถาบันการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย สู่การยกระดับ จ.ระยอง เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ ด้วยกลไกความร่วมมือที่หลากหลายขับเคลื่อนเชิงนโยบายเพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สรุปผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 3/2565
บทความล่าสุด