บูรณาการความรู้จากนาข้าว ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน ของ รร.วิบูลวิทยา จ.ระยอง

15 กุมภาพันธ์ 2564

สืบเนื่องจากโรงเรียนวิบูลวิทยา ต.ตาขัน อ.เมือง จ.ระยอง ได้รับการอนุมัติให้เป็นสถานศึกษานำร่อง รุ่นที่ 2 ของจังหวัดระยอง โดยท่านพระครูวิบูลภารกิตต์ (หลวงปู่ภา) ผู้ก่อตั้งโรงเรียนวิบูลวิทยามีวิสัยทัศน์ในด้านการศึกษาในการที่จะพัฒนาพื้นที่นาข้าวภายในโรงเรียนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนในโรงเรียนวิบูลวิทยา พร้อมทั้งใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายของการจัดการศึกษา School Concept ของโรงเรียนคือ “Creative agriculture and innovation School” โรงเรียนเกษตรสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยมี ผู้บริหาร และคณะครู ร่วมรับรู้และปรับมุมมองเพื่อสร้างหลักสูตรบูรณาการความรู้จากนาข้าว ร่วมกันตั้งเป้าหมาย เพื่อผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา (DOE) สร้างสมรรถนะและคุณลักษณะที่สำคัญของผู้เรียน จากการวิเคราะห์ฐานทุนของโรงเรียนเพื่อเชื่อมโยงและก้าวไปสู่การจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนมีความชัดเจนสอดคล้องกับบริบทชุมชน ภาพรวมของการเรียนรู้และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

พระครูวิบูลภารกิตต์ (หลวงปู่ภา) ผู้ก่อตั้งโรงเรียนวิบูลวิทยา

จาก School Concept ของโรงเรียน “Creative agriculture and innovation School” โรงเรียนเกษตรสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยคณะครู บุคลากรร่วมคิดร่วมสร้างสรรค์ในการจัดทำหลักสูตรรายวิชาเกษตรสร้างสรรค์ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ สร้างสมรรถนะและคุณลักษณะที่สำคัญของผู้เรียนผ่านทางหน่วยการเรียนรู้ดังนี้ 1. เกษตรสร้างสรรค์ในนาข้าวพอเพียง 2. ดินกับปุ๋ย 3. พันธุ์ข้าวน่ารู้ 4. การปลูกข้าว 5. เพิ่มผลผลิต = เพิ่มรายได้ 6. ผลิตผล 7. ผลิตภัณฑ์ และ 8. ตลาดเกษตรยุคใหม่ รวม 8 หน่วยการเรียนรู้

ในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเกษตรสร้างสรรค์ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงโดยคำนึงถึงรายละเอียดของการลงมือปฏิบัติจริง สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 และเป็นไปตามหลักการดำเนินการของหลักสูตรการเรียนการสอน โดยมีการบรรจุเป็นรายวิชา มีท้องนาเป็นแหล่งเรียนรู้ ผู้เรียนได้ฝึกประสบการณ์จริง ตลอดจนมีการวัดผลประเมินผล เมื่อนักเรียนจบหลักสูตร นอกจากความรู้ที่นักเรียนได้รับแล้ว นักเรียนยังมีทักษะวิชาชีพด้านนวัตกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นด้วย สอดคล้องกับบริบทชุมชน ในความเป็นโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง

จากวิสัยทัศน์ในด้านการศึกษาของท่านพระครูวิบูลภารกิตต์ (หลวงปู่ภา) ผู้ก่อตั้งโรงเรียนวิบูลวิทยา และการเข้าร่วมโครงการเป็นสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ซึ่งได้ความร่วมมือจาก สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยอง คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดระยอง สถาบันอาศรมศิลป์นำไปสู่การปรับวิถีการเรียนรู้ใหม่ของโรงเรียนวิบูลวิทยาที่ได้จัดทำหลักสูตรรายวิชาเกษตรสร้างสรรค์ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาพื้นที่นาข้าวของวัดตาขันเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน และชุมชนตาขัน ต่อไป


ผู้เขียน: ศศิธร เนตรภักดี ผู้อำนวยการโรงเรึยนวิบูลวิทยา
กราฟิกดีไซน์เนอร์: รัตนากร พึ่งแก้ว, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
อิสระการใช้งบประมาณ จัดทำ/คัดเลือก/จัดหา/ใช้ตำรา สื่อการเรียนการสอนของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสนอแนะ ร่างรูปแบบการประกันคุณภาพภายใน ของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในวันที่ 23 ก.พ. 2564
บทความล่าสุด