ทีมคณะศึกษาศาสตร์ มช. ลงพื้นที่วิเคราะห์บริบทโรงเรียนพร้าวบูรพา จ.เชียงใหม่ เพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่

15 มีนาคม 2564

ทีมนักวิจัยของคณะศึกษาศาสตร์ มช. นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนต์นภัส มโนการณ์ และคณะ ลงพื้นที่วิเคราะห์บริบทโรงเรียนพร้าวบูรพา ต.ป่าตุ้ม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562

โรงเรียนพร้าวบูรพา โรงเรียนขยายโอกาสขนาดกลางที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น นักเรียนส่วนใหญ่เป็นชนชาติพันธุ์ โดยโรงเรียนมีความต้องการสมรรถนะการจัดการแบบองค์รวม จึงมีการสอนการจัดการตนเอง (Self management) ให้นักเรียนรู้จักตนเอง รู้จักการจัดการชีวิต รวมทั้งมีการสอนทักษะชีวิต (Life Skills) ที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของโรงเรียน “ทักษะชีวิตควบคู่คุณธรรม”

นอกจากนี้โรงเรียนได้นำการจัดการเรียนการสอนข้างต้นมาบูรณาการสู่ “การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการ Active Learning by 5 STEPS” ประกอบด้วย 1) การเรียนรู้พื้นฐาน คือการศึกษาหาความรู้พื้นฐาน 2) ประสานความสนใจ คือการกระตุ้นความสนใจ และแสวงหาความรู้ 3) ใฝ่เรียนรู้สู่การปฏิบัติ คือการลงมือปฏิบัติ 4) เด่นชัดในผลงาน คือการนำเสนอผลงาน และ 5) สร้างสรรค์สู่การเรียน คือการสรุปผลและนำไปประยุกต์ใช้

ทั้งนี้ ทีมวิจัยของคณะศึกษาศาสตร์ มช. ได้นำข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่โรงเรียนในครั้งนี้ไปวิเคราะห์เพื่อให้คำปรึกษา หาวิธีการสนับสนุน และส่งเสริมให้โรงเรียนได้สมรรถนะตามที่ต้องการ และสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน

 


ผู้เขียน: ปนัดดา ไชยศักดิ์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: ปนัดดา ไชยศักดิ์, รัตนากร พึ่งแก้ว, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์
ภาพประกอบ: รัชฎาภรณ์ ซ่ามยอง

Facebook Comments
สพป. ศรีสะเกษ เขต 4 ร่วมวางแผนขับเคลื่อน รร.นำร่องเสวนาออนไลน์ โรงเรียน Sandbox ป.2/7 การศึกษาที่เปลี่ยนไปในพื้นที่นวัตกรรม
บทความล่าสุด