เพาะพันธุ์ปัญญาโนนปูนวิทยาคม เสริมพลังใจ ใส่พลังการเรียนรู้ สู่การพัฒนากระบวนคิด

18 ตุลาคม 2566
เพาะพันธุ์ปัญญาโนนปูนวิทยาคม เสริมพลังใจ ใส่พลังการเรียนรู้ สู่การพัฒนากระบวนคิด

โรงเรียนโนนปูนวิทยาคม  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลโนนปูน ตั้งอยู่ที่เลขที่ 176 หมู่ที่ 1 ตำบลโนนปูน  อำเภอไพรบึง  จังหวัดศรีสะเกษ เพาะพันธุ์ปัญญาโนนปูนวิทยาคม เสริมพลังใจ ใส่พลังการเรียนรู้ สู่การพัฒนากระบวนคิด โดยโรงเรียนโนนปูนวิทยาคมได้ดำเนินการการจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่คือกระบวนการเรียนรู้แบบ RBL (Research-base Learning) ภายใต้โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมการจัดการศึกษาที่โรงเรียนได้เข้าร่วมเป็นโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ รุ่นที่ 1 กระบวนการจัดการศึกษาการเรียนรู้โครงงานฐานวิจัย หรือ RBL เป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน จะมีเป้าหมายอยู่ที่การพัฒนาระบบคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการนำกระบวนการเรียนรู้โครงงานบนฐานวิจัยด้วยนวัตกรรมเพาะพันธุ์ปัญญา (RBL: Research-based Learning)  มาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 โดยจัดการเรียนรู้เป็นรายวิชาเพิ่มเติมควบกิจกรรมชุมนุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปี 2561 ต่อมาในปีการศึกษา 2562 ซึ่งเป็นปีที่ 3 โรงเรียนได้เข้าร่วมเป็นโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีแรงบันดาลใจจากการที่โรงเรียนต้องการปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน ตามแนวทางการบวนการเรียนรู้ Active Learning เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ความเข้าใจ นำไปประยุกต์ใช้ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าหรือสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ และพัฒนาตนเองเต็มความสามารถ รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เขาได้มีโอกาสร่วมอภิปราย ให้มีโอกาสฝึกทักษะการสื่อสารและจัดเวทีการนำเสนอผลงาน โดยจัดให้เป็นรายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 1.0 หน่วยกิต ต่อหนึ่งภาคเรียน มีการพัฒนาหลักสูตรจากเดิมที่ได้รับเค้าโครงจากมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ให้มีความสอดคล้องต่อผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

รายวิชาบูรณาการเพาะพันธุ์ปัญญาโรงเรียนโนนปูนวิทยา

  • การปรับพื้นฐานด้านจิตใจกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา
  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ระดมสมอง กำหนดเรื่องราวสำหรับการเรียนรู้ร่วมกัน
  • การฝึกทักษะการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล
  • การลงพื้นที่เรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบ PLC และการฝึกทักษะการออกแบบเพื่อเก็บข้อมูล
  • การนำเสนอความก้าวหน้า
  • การฝึกทักษะการสื่อสารและการเขียนบทความทางวิชาการการสรุปและรวบรวมข้อมูล
  • การนำเสนอผ่านเวที ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อถอดบทเรียน ของผู้เรียนและครู และผู้ปกครอง
เป้าหมายของการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเพาะพันธุ์ปัญญาโรงเรียนโนนปูนวิทยาคม
  • โรงเรียนมีการจัดกระบวนการเรียนรู้โครงงานฐานวิจัยด้วยนวัตกรรมเพาะพันธุ์ปัญญาทุกระดับชั้น
  • นักเรียนทุกคนรู้และเข้าใจการจัดกระบวนการเรียนรู้โครงงานบนฐานวิจัยด้วยนวัตกรรมเพาะพันธุ์ปัญญา โดยมีนักเรียนรุ่นพี่ร่วมเป็นพี่เลี้ยงในรูปแบบพี่สอนน้อง
  • ครูทุกคนร่วมเรียนรู้โดยมีครูพี่เลี้ยงจากองค์กรสนับสนุนต่าง ๆ ร่วมให้คำปรึกษา และส่งเสริมการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียน                                              
  • ส่งเสริมให้มีการจัดกระบวนการเรียนรู้โครงงานฐานวิจัยในแปดกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยการบูรณาการร่วมกัน
  • นักเรียนที่ผ่านการใช้นวัตกรรมเพาะพันธุ์ปัญญา มีทักษะในการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะการคิดสังเคราะห์สร้างความรู้โดยผู้เรียนเอง ครูปรับบทบาทเป็นผู้อำนวยการสอนให้นักเรียนเอาประสบการณ์ปฏิบัติมาทำความเข้าใจด้วยสาระวิชาที่เรียนอยู่เพื่อนำไปสู่การตีความการบูรณาการความรู้เดิมจนเข้าใจและสังเคราะห์เป็นความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นแก่ตนเองโดยนักเรียนเองซึ่งเรียกกระบวนการเรียนรู้แบบนี้ว่า Research-Based Learning (RBL)
  • นักเรียนถ่ายทอดความรู้ของตัวเองด้วยการจัดงานนำเสนอผลงาน โดยให้ครูและนักเรียนและผู้ปกครองได้เยี่ยมชมผลงาน รวมถึงการนำเอาข้อคิดเห็น ประเด็นคำถามมาสะท้อนคิดและตกผลึกเป็นองค์ความรู้เพิ่มเติม
  • โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่เป็นผลที่เกิดผลงานโครงงานของนักเรียนและสามารถเปิดให้นักเรียน ครู และชุมชนสามารถเข้าเยี่ยมชมและศึกษาแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้ร่วมกัน

 

บทสัมภาษณ์เมื่อปี พ.ศ. 2564

 

 

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

 

     


ผู้ให้สัมภาษณ์: ปาณิสรา รองเมือง
ผู้สัมภาษณ์และผู้เขียน: กนกพร บุญแซม
ผู้ออกแบบ: กนกอร สินทนะโยธิน
ภาพประกอบ: โรงเรียนโนนปูนวิทยาคม

Facebook Comments
สป.ศธ. ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “บทเรียนทรงพลัง…พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566”จังหวัดบุรีรัมย์พร้อมเข้าสู่พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
บทความล่าสุด