แนวทางการวิเคราะห์ความสอดคล้องของตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กับ ผลลัพธ์การเรียนรู้ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช .... (ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6)

18 เมษายน 2566

แนวทางการวิเคราะห์ความสอดคล้องของตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กับ ผลลัพธ์การเรียนรู้ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช …. (ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6)

ด้วยพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 มีเจตนารมณ์ในการกระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษาและสถนศึกษานำร่อง เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารและจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ลดความเหลื่อมล้ำ และสอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาซึ่งมติของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 2/2563 ในวันที่ 21 กันยายน 2563 เห็นชอบให้หลักสูตรอิงสมรรถนะที่สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำลังดำเนินการวิจัย (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราชระดับประถมศึกษาให้เป็นหลักสูตรตามมาตรา 25 วรรคสี่ โดยให้สถานศึกษานำร่องสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดหลักการของหลักสูตรอิงสมรรถะ หรือใช้นวัตกรรมหรือแนวคิดใหม่ ๆ ไปทดลองพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของตนเองได้

สวก. จึงได้จัดทำแนวทางการวิเคราะห์ความสอดคล้องของตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กับ ผลลัพธ์การเรียนรู้ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช …. (ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6) ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะอนุกรรมการด้านส่งเสริมการบริหารวิชาการในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566 ได้มีมติเห็นว่าเอกสารแนวทางการวิเคราะห์ความสอดคล้องฯ ดังกล่าว จะเป็นประโยชน์สำหรับการบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษานำร่องเป็นอย่างยิ่งและเห็นควรให้จัดส่งให้สถานศึกษานำร่องไปปรับใช้ตามความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ต่อไป

ดาวน์โหลด

04288-ว175

 

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

       

 


 

Facebook Comments
เปิดโลกการเรียนรู้สู่สถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย)สงขลา สานพลังขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
บทความล่าสุด