ขับเคลื่อนนโยบายเพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา การประชุมคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 1/2566

20 มีนาคม 2566
ขับเคลื่อนนโยบายเพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
การประชุมคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 1/2566

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566ที่ผ่านมาได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 1/2566 โดยมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ พร้อมด้วยนายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นกรรมการและเลขานุการ และกรรมการ ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงหรือผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ, สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง, สำนักงบประมาณ, ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อีกทั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, รองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม, นายสมศักดิ์ พะเนียงทอง พะเนียงทอง, นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร, นางศุภธิดา พรหมพยัคฆ์, นายปกรณ์ นิลประพันธ์

สบน. ในฐานะฝ่ายเลขานุการและรับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้รวบรวมเอกสารและผลการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 สำหรับเสนอให้ที่ประชุมทราบและพิจารณา โดยสรุปสาระสำคัญ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ

ฝ่ายเลขานุการ ได้นำเสนอวาระเพื่อทราบต่อที่ประชุม 7 เรื่องได้แก่

  1. การออกประกาศและคำสั่งที่เกี่ยวกับการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

    1.1 ประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2566 คลิก
    1.2 ประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา กรุงเทพมหานคร จังหวัดกระบี่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสงขลา จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสุโขทัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 10 ฉบับ คลิก1.3 ประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน คลิก
    1.4 คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดยะลา จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 3 ฉบับ และประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง แก้ไขตำแหน่งของกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล กาญจนบุรี / ยะลา / ศรีสะเกษ / สตูล
    1.5 คำสั่งคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ที่ 1/2566 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คลิก
  2. ผลการประชุมสานพลังคณะกรรมการขับเคลื่อนในฐานะผู้พลิกเกม (Game Changer) และสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อผู้เรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจากการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุมถ่ายทอดสดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวม 490 คน แบ่งเป็นผ่านระบบ Zoom จำนวน 220 คน และผ่าน Facebook จำนวน 270 คน และมียอดรวมเข้าร่วมรับฟังช่องทางอื่น ๆ กว่า 6,700 ครั้ง (27 ก.พ. 66 – 12 มี.ค. 66) ในการประชุมครั้งนี้ได้รับการประเมินความพึงพอใจในภาพรวม คิดเป็นร้อยละ 89.69 ซึ่งอยู่ ในระดับมากที่สุด โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากที่สุด คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 45 รองลงมา คือ คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 25 และมีประเด็นที่ต้องการให้มีการจัดกิจกรรมอีกครั้งถัดไป ได้แก่ (1) การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษานำร่อง (2) การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และ (3) ความสำเร็จ ความล้มเหลว ปัญหา และอุปสรรคในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา




รับชมย้อนหลัง

  1. สถานการณ์การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของพื้นที่ใหม่ในวาระเริ่มแรก

  2. ความก้าวหน้าของการดำเนินงานด้านวิจัยและนวัตกรรมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
    ด้วยหน่วยบริหารและจัดการทุนต้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) มีวัตถุประสงค์จัดสรรทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ การพัฒนาชุมชน หรือท้องถิ่นที่มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการรายใหม่ ธุรกิจขนาดจิ๋ว วิสาหกิจขนาดกลางและขนาตย่อม วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจเพื่อสังคมในระดับพื้นที่ และด้วยพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox) ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ (Area-Based Educatio -ABE) โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างกลไกการจัดการศึกษาในพื้นที่ระดับจังหวัดผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้ตราพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 โดยมีเป้าหมายให้พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเป็นหนึ่งในกลไกและกระบวนการปฏิรูปการศึกษาที่สามารถจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ โดยสามารถมีการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่นคล่องตัว ไม่ต้องอิงกับมาตรฐานและกฎระเบียบที่ไม่จำเป็นหรือไม่เอื้อจากส่วนกลาง บพท. จึงได้ประกาศรับข้อสนอโครงการวิจัย (Full proposal กรอบการวิจัย “การพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” ประจำปีงบประมาณ 2566 ดังนี้


  3. การให้ความเห็นชอบหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

  4. หลักเกณฑ์การพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรต่างประเทศของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

  5. การชะลอการรับคำขอจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา กรณีจังหวัดอื่น ๆ ที่ประสงค์จะเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา

ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการ ได้นำเสนอวาระเพื่อพิจารณาต่อที่ประชุม 3 เรื่องได้แก่

  1. การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์สืบเนื่องจากมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2565 มอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ ติดตามและประเมินผลในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พิจารณาการเสนอขอจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพิจารณาในคราวถัดไป ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้จังหวัดบุรีรัมย์เป็นจังหวัดที่มีความพร้อมในการจัดตั้งเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และได้เชิญผู้แทนคณะผู้เสนอ นายจำเริญ  แหวนเพ็ชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ และนายสัมนาการณ์ บุญเรือง ศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีความพร้อมโดยสรุป ดังนี้• มีคณะผู้เสนอ 57 คน
    • มีสถานศึกษาประสงค์เข้าร่วม 88 แห่ง
    • มีคณะกรรมการขับเคลื่อน 21 คน
    • มีการสร้างความร่วมมือ เปิดโอกาสให้ชุมชนและทุกภาคส่วนสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยผ่านกลไกขับเคลื่อนสมัชชาการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์
    • มีการรับฟังความเห็น ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายจากทุกพื้นที่ในจังหวัด
    • มีแผนพัฒนา 3 ปี (1) “นวัตกรรมการเรียนรู้”การพัฒนาปัญญาภายใน/การพัฒนาปัญญาภายนอก/การจัดการศึกษาในสถานศึกษาแบบ Active Learning (2) แพลตฟอร์มการเรียนรู้ บนฐานนิเวศวัฒนธรรมชุมชน เพื่อรองรับความต้องการในการเรียนรู้ ที่แตกต่างหลากหลาย ของเด็กนอกระบบ/หลุดระบบการศึกษา (3) นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา PLC (4) แผนพัฒนาการขับเคลื่อนกลไกสมัชชาการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ค้นหานวัตกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน/สนับสนุนผู้ไม่มีบัตรประชาชนตามสิทธิเด็ก ให้เข้าถึงการดูแลด้านการศึกษาและสวัสดิการ/เชื่อมโยงการเรียนรู้/รับฟังและระดมความคิดเห็นกับเครือข่ายสถานศึกษา/จัดตั้งกองทุน “นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์
    • มีพี่เลี้ยง 42 หน่วยงาน
  2. ข้อเสนอแนะต่อ ก.ค.ศ. เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและการย้ายผู้บริหารสถานศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษามาตรา 31 กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายเสนอแนะต่อ ก.ค.ศ. เพื่อให้มีการออกกฎ ก.ค.ศ. หรือหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไข สำหรับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับการคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง การย้าย การเลื่อนเงินเดือน และการประเมินวิทยฐานะ ให้เกิดความเหมาะสมกับการบริหารงานของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงาน ก.ค.ศ. ร่วมมือดำเนินการใช้พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทดลองนำร่องในการบริหารจัดการด้านงานบุคคลที่สอดคล้องกับความจำเป็นและต้องการของพื้นที่ ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษานอกจากจะเป็นผู้ที่มีพื้นฐานความรู้ ความสามารถในการบริหารงานในระดับที่ดีเยี่ยมแล้ว จะต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในภารกิจของการเป็นสถานศึกษานำร่องที่ต้องคิดค้นนวัตกรรมเพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพ และให้รัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมกันพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพและลดความเหลื่อมล้ำในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้อย่างแท้จริง  ฉะนั้น การคัดเลือกและย้ายผู้บริหารสถานศึกษาต้องการระบบการเตรียมการ ฝึกฝน และคัดเลือกอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาในห้องเรียนและโรงเรียนตามที่สังคมคาดหวัง เพื่อใช้การศึกษาเป็นกลไกของการพัฒนาประเทศได้อย่างแท้จริง
  3. ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง มาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. ….โดยที่พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 มาตรา 18 (4) กำหนดให้สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำมาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่องเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (6) กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษากำหนดมาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่อง และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง (1) กำหนดให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจัดให้มีระบบข้อมูลตามมาตรฐานที่คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษากำหนด
    สาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้

    1. ระยะเวลาใช้บังคับร่างประกาศนี้เนื่องจากประกาศนี้เป็นการกำหนดมาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่อง

    ซึ่งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจะต้องนำไปดำเนินการในการจัดทำระบบข้อมูล จึงกำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

    1. มาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษา

    กำหนดมาตรฐานข้อมูลการจัดการศึกษาและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษานำไปดำเนินการจัดทำระบบข้อมูลตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562

    1. การเผยแพร่มาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษา

    ให้สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดให้มีการเผยแพร่มาตรฐานข้อมูลการจัดการศึกษาและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์

    1. ระบบข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลการจัดการศึกษา

    ให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเชื่อมโยงและหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลกับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานการศึกษา และหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลงกล่าวเป็นลำดับแรกโดยมิให้เก็บข้อมูลซ้ำซ้อน สำหรับข้อมูลซึ่งยังไม่มีการเก็บรวบรวม ให้ดำเนินการนำเข้าข้อมูลเพิ่มเติมเท่าที่จำเป็นโดยให้คำนึงถึงภารกิจ ภาระงาน และผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษานำร่องประกอบกัน

     

 

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

     



ผู้เขียน : อิศรา โสทธิสงค์, ภัชธีญา ปัญญารัมย์
กราฟิกดีไซน์เนอร์ :
อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์ : ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
คณะศึกษาศาสตร์ มช. ลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์นิเวศการเรียนรู้ สู่การพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อความยั่งยืนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ณ โรงเรียนสันป่าตอง(สุวรรณราษฎร์วิทยาคาร)สรุปผลการประชุมสานพลังคณะกรรมการขับเคลื่อนในฐานะผู้พลิกเกม Game changer และสร้างการเปลี่ยนแปลงผู้เรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
บทความล่าสุด