คณะศึกษาศาสตร์ มช. จัดพิธีเปิดศูนย์ให้คำปรึกษาโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่และการลงนามความร่วมมือในการพัฒนาสมรรถนะครูและผู้บริหาร

21 กุมภาพันธ์ 2566

คณะศึกษาศาสตร์ มช. จัดพิธีเปิดศูนย์ให้คำปรึกษา
โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.เชียงใหม่
และการลงนามความร่วมมือในการพัฒนาสมรรถนะครูและผู้บริหาร
  

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดพิธีเปิดศูนย์ให้คำปรึกษาโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ และ การลงนามความร่วมมือ (MOU) ในการพัฒนาสมรรถนะครูและผู้บริหารแบบเต็มระบบ จำนวน 10 โรงเรียน โดยได้รับเกียรติจาก นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิด ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ และ รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติสุดา ศรีสุข คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุม 40 ปี อาคาร 4 ชั้น 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศูนย์ให้คำปรึกษาครูและผู้บริหารในโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ เป็นศูนย์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้คำปรึกษาแก่ครูและผู้บริหารในโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 104 โรงเรียน ซึ่งมีครูรวมทั้งสิ้นประมาณ 3,850 คน และมีนักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ จำนวนถึง 59,849 คน  ซึ่งจะเปิดให้บริการในช่วงวันเวลาที่มีความเหมาะสมกับธรรมชาติการทำงานของบุคลากรครูในโรงเรียน  จะให้ทำการปรึกษาในแพลตฟอร์มแบบใหม่ที่มีความเหมาะสมทั้งผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับคำปรึกษา โดยจะมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอน การวัดผล  การใช้เทคโนโลยีที่จะมาสนับสนุนทักษะเชิงอนาคตของผู้เรียน และเพื่อการหล่อหลอมให้เด็กไทย มีความเป็นพลเมืองที่ดีและมีความเป็นสากลต่อไป

* บุคคลที่ปรากฏในบทความนี้ ท่านใด ประสงค์ให้นำภาพหรือข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลออก
โปรดแจ้งมาที่ E-mail : Saraban@EduSandbox.com*

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

       


ผู้เขียน: ธันวารักษ์ สุวคนธ์ โทร. 086-183-6729, 053-944-272
กราฟิกดีไซน์เนอร์: ธันวารักษ์ สุวคนธ์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
การประชุมสานพลังคณะกรรมการขับเคลื่อนในฐานะผู้พลิกเกม GAME CHANGER และสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อผู้เรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คือ ภารกิจหลัก ภารกิจสำคัญ ของ ผอ.สพท. ต้องรับผิดชอบ
บทความล่าสุด