การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คือ ภารกิจหลัก ภารกิจสำคัญ ของ ผอ.สพท. ต้องรับผิดชอบ

2 มีนาคม 2566
สรุปประเด็นสำคัญที่ท่านเลขาธิการ กพฐ. ได้กล่าวในที่ประชุม
สานพลังคณะกรรมการขับเคลื่อนในฐานะผู้พลิกเกม (Game Changer)
และสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อผู้เรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566

เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในฐานะกรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้เน้นย้ำบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ศึกษาธิการจังหวัด และหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยท่านเลขาธิการ กพฐ. ได้เสนอแนวทางการขับเคลื่อนงานให้กับพื้นที่ใหม่ควรและจำเป็นที่จะต้องศึกษาธรรมชาติและบริบท รวมถึงต้นทุนพื้นฐานของพื้นที่ที่มีอยู่ ก่อนที่จะร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของจังหวัด ซึ่งต้นทุนดังกล่าวที่สำคัญนั่นมีอยู่ 4 ประเด็นที่ควรนำไปพิจารณา ได้แก่

  1. ต้นทุนด้านตัวผู้เรียน ซึ่งหมายรวมถึง ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตลอดจนสภาพครอบครัว เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องพยายามทำความเข้าใจเด็กให้กระจ่าง
  2. ต้นทุนด้านบุคลากร ซึ่งหมายรวมถึง ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีต้นทุนแค่ไหนอย่างไร จำเป็นต้องรู้ทั้งปริมาณและคุณภาพของบุคลากรในพื้นที่
  3. ต้นทุน ด้านหลักสูตร หมายถึง หลักสูตรที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนใช้อยู่ในปัจจุบัน การวัดและประเมินผล รวมถึงผลผลิตที่ได้จากหลักสูตร เหล่านี้เป็นอย่างไร มีผลลัพธ์อะไรยังไม่เป็นที่พึงพอใจ หรือยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าทีควร อย่างไรบ้าง
  4. ต้นทุนด้านความร่วมมือหรือภาคีเครือข่าย หมายถึงปัจจุบันนี้ เรามีการประสานหรือดึงการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายได้มากน้อยเพียงใด ได้ทำเต็มที่แล้วหรือไม่

นอกจากนี้เจตนาของพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษานั้นไม่ได้มีเจตนามุ่งหวังเพียงเฉพาะโรงเรียนในสังกัด สพฐ. หากแต่ยังมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนากับโรงเรียนในสังกัด อปท. และโรงเรียนสังกัด สช. ด้วย ดังนั้น จึงเอางานที่เป็นงานฝ่ายเลขาของคณะกรรมการขับเคลื่อนมอบไว้กับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ในการติดตามภาพการทำงานของจังหวัด เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน

แต่อย่างไรก็ตามโรงเรียนนำร่องส่วนใหญ่ นั้นอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดังนั้น

“…ท่านผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจึงจำเป็นต้องเข้าไปร่วมขับเคลื่อนบูรณาการการทำงาน ไม่ใช่ปล่อยให้ศึกษานิเทศหรือผู้อำนวยการโรงเรียนหรือเพียงเฉพาะครูที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้นที่เข้าร่วมทำงาน ตัวผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะต้องเป็นผู้ให้ความสำคัญและต้องตระหนักว่านี่คือภารกิจหลัก ภารกิจสำคัญ ของเขตพื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบ เพราะนี่คือหัวใจสำคัญที่จะทำให้งานขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสำเร็จ บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการเป็นพื้นที่นวัตกรรม”

 

สามารถรับชมคลิปได้ที่นี่

 

 

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

     



ผู้เขียน: เก ประเสริฐสังข์
กราฟิกดีไซน์เนอร์ :
อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์ : ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
คณะศึกษาศาสตร์ มช. จัดพิธีเปิดศูนย์ให้คำปรึกษาโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่และการลงนามความร่วมมือในการพัฒนาสมรรถนะครูและผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์ มช. ลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์นิเวศการเรียนรู้ สู่การพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อความยั่งยืนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ณ โรงเรียนสันป่าตอง(สุวรรณราษฎร์วิทยาคาร)
บทความล่าสุด