สพฐ. ผสานพลัง Thai PBS ร่วมมือพัฒนาสื่อการเรียนรู้

22 มกราคม 2565

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565 เวลา 13.00-15.30 น. ที่ผ่านมา สพฐ. ได้จัดประชุมโครงการความร่วมมือในการพัฒนาสื่อของ สพฐ. ร่วมกับสถานีโทรทัศน์ Thai PBS ณ ห้องประชุมโกวิท วรพัฒน์ อาคารรัชมังคลาภิเษก 1 ชั้น 3 กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการประชุมโดยสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน โดยศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล ซึ่งมีนายนิพนธ์ ก้องเวหา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้กล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบายพร้อมกับชี้แจงโครงการความร่วมมือในการพัฒนาสื่อของ สพฐ. และมีนายณัฐพงษ์  จารุวรรณพงศ์ รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) เป็นผู้นำเสนอรูปแบบความร่วมมือในการพัฒนาสื่อ ในการประชุมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ดังนี้ ผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ ผอ.สพท. และ ผอ.รร. ของ สพฐ. ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สถานีโทรทัศน์ Thai PBS

   

จากการประชุมโครงการความร่วมมือในการพัฒนาสื่อของ สพฐ. ร่วมกับสถานีโทรทัศน์ Thai PBS ผู้เขียนขอสรุปสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

  • โครงการความร่วมมือในการพัฒนาสื่อของ สพฐ. ร่วมกับสถานีโทรทัศน์ Thai PBS เป็นโครงการสร้างความเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กไทยเข้าถึงองค์ความรู้ที่มีคุณภาพ โดยใช้สื่อเป็นตัวกลางในการสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ซึ่งทางสถานีโทรทัศน์ Thai PBS ได้กำหนดโจทย์ขึ้นมาเพื่อให้ตรงกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน คือ
    A  การร่วมมือพัฒนาเครื่องมือช่วยสอนสำหรับครูในรูปแบบ BLENDED LEARNING MODEL โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นครู 360,851 คน
    B  การร่วมพัฒนา PERSONALISED ONLINE PLATFORM ที่เชื่อมต่อกับเนื้อหาส่งเสริมการเรียนรู้ตามความสนใจของเด็กด้วย algorithm โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียน 6,600,745 คน
    C  การร่วมพัฒนาชุดส่งเสริมการเรียนรู้ในโรงเรียน ACTIVE LEARNING SCHOOL PACKAGE โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นโรงเรียน 29,642 โรงเรียน
    D  กิจกรรมการระดมทุนสาธารณะ (PUBLIC CROWDFUNDING) เพื่อยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กที่ห่างไกลที่ต้องถูกยุบรวม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก 15,158 โรงเรียน
  • โจทย์การทดลองระยะเวลา 2 ปี โดยจะทดลองโจทย์ ABCD เพื่อถอดบทเรียนใน 1 เขตพื้นที่การศึกษา

ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม

  • โครงการควรเกิดจากความร่วมมือระหว่างโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา และส่วนกลาง เพื่อเนื้อหาควรได้รับการปรับปรุงให้ทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาและสอดคล้องกับชั่วโมงเรียนที่โรงเรียนกำหนดและสอดคล้องกับการวัดประเมินผลกับโรงเรียน
  • เพิ่มโจทย์ E นำเสนอโรงเรียนที่มีศักยภาพเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนที่ขาดโอกาสหรือโรงเรียนขนาดเล็กและนำเสนอต่อสังคม
  • ให้มีการทดลองเป็นกลุ่มภาค เช่น กลุ่มภาคเหนือ ภาคใต้ เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมและบริบทใกล้เคียงกัน
  • เพิ่มการทดลองในการด้านดนตรีและกีฬาเพิ่มเติม

ที่ประชุมเห็นพร้องร่วมกัน

มอบผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีดำเนินการศึกษาแนวทางโครงการโดยการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาประเด็นปัญหาและอุปสรรค์ต่าง ๆ ที่ต้องร่วมมือแก้ไข โดยผลการดำเนินการโครงการความร่วมมือในการพัฒนาสื่อของ สพฐ. ร่วมกับสถานีโทรทัศน์ Thai PBS จะเป็นอย่างไร สบน. จะได้นำมาเสนอในโอกาสต่อไป

ของดีอยากบอกต่อ

ทั้งนี้จากการร่วมรับฟังการนำเสนอของ Thai PBS ที่มีการแนะนำช่องทางการเรียนรู้ที่มีการรวบรวมเนื้อหาสาระต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมากที่เว็บไซต์ https://www.altv.tv/home ผู้เขียนคิดว่าเป็นอีกหนึ่งแหล่งเรียนรู้ที่ครู นักเรียนสามารถใช้เป็นห้องสมุดดิจิทัลสำหรับส่งเสริมการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี เฉพาะหมวดเกี่ยวกับภาษาอังกฤษมีคลิปสื่อการเรียนรู้มากกว่า 600 คลิป นอกจากนี้ยังมีสื่ออีกจำนวนมากล้วนแล้วแต่เป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพระดับมืออาชีพ และภายในเว็บไซต์มีการจัดหมวดหมู่การนำเสนอไว้เป็นอย่างดี ผู้เขียนจึงอยากเชิญชวนครู นักเรียน หรือผู้ที่สนใจ เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ดังกล่าวโดยหวังว่าทุกท่านคงได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้แห่งนี้ได้ไม่มากก็น้อย พร้อมแล้วคลิกที่ภาพด้านล่างได้เลย

ติดตามได้ที่
   



ผู้เขียน :
ปราชญาพร   แช่ใจ, อิศรา โสทธิสงค์
กราฟิกดีไซน์เนอร์ : เก ประเสริฐสังข์, อิศรา โสทธิสงค์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์ : ปราชญาพร   แช่ใจ
ภาพปก : นิพนธ์ ก้องเวหา, ณัฐพงษ์ จารุวรรณพงศ์

Facebook Comments
ประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานและการบริหารจัดการในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2564EduSandbox.com เปิดวงสนทนา การขอเสนอจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดใหม่
บทความล่าสุด