นราธิวาสเดินหน้าพัฒนากรอบหลักสูตรจังหวัด

30 มิถุนายน 2564

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดนราธิวาส ได้เปิดตัวโมเดลหลักสูตรของจังหวัดที่อ้างอิงมาตรฐานหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดยมีการบูรณาการสาระการเรียนรู้ที่หลากหลาย  จากวิสัยทัศน์การศึกษาจังหวัดนราธิวาส “จัดการศึกษาเพื่อความรักและสันติสุข” สู่วิสัยทัศน์หลักสูตร “มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ดำรงชีวิตบนความหลากหลายของศาสนาและวัฒนธรรมอย่างสันติสุข

อุดมการณ์หลักสูตร

สร้างพลเมืองที่เข้มแข็ง ท้องถิ่น รักชาติ และมีความเป็นพลโลก สามารถเรียนรู้เพื่อนำตนเอง สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ รักและภาคภูมิใจในถิ่นที่อยู่อาศัย รักชาติ มีชีวิตที่ดีบนแผ่นดินเกิด

หลักการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะของจังหวัดนราธิวาส

แนวคิดหลักของโรงเรียนกำหนดมาจากสภาพจริงที่เป็นลักษณะเด่นของโรงเรียนที่ก่อรูปไปสู่การ มุ่งอุดมการณ์ที่มาดหมาย อุดมการณ์ คือ พื้นฐานความเชื่อ ความศรัทธาที่มีต่อสิ่งที่มุ่งหมาย แนวคิดหลักจะสะท้อนอัตลักษณ์ (ความเป็นตัวตน) ของโรงเรียน และการมุ่งความสำเร็จพร้อมกัน การมุ่งความสำเร็จจะปรากฏชัดเจนที่เป้าหมาย เป้าหมาย กำหนดโดยใช้สมรรถนะผู้เรียนเป็นที่ตั้ง ซึ่งสมรรถนะของนักเรียนมีความหมายต่อความสำเร็จในการใช้ชีวิต การอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคม

เป้าหมายหลัก
  1. เยาวชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
  2. สร้างพลเมืองรุ่นใหม่ที่เข้มแข็งในยุคของการเปลี่ยนแปลง
  3. พัฒนานวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
  4. ผู้เรียน ครูและผู้บริหารเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ รู้ทันโลก ก้าวทันเทคโนโลยีดิจิทัล และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
  5. ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นและสนับสนุนทรัพยากรและการนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
  6. ผู้เรียน ครู และผู้บริหารมีค่านิยม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักศาสนาบนพื้นฐาน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กำหนดเนื้อหาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5 + 1
  1. ความสามารถในการสื่อสาร
  2. ความสามารถในการคิด
  3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
  4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
  5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
  6. เป็นผู้เรียนรู้ ร่วมสร้างนวัตกรรม และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
  1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
  2. สำนึกรักบ้านเกิด
  3. รักความเป็นไทยและความเป็นพลโลก
  4. ใฝ่เรียนรู้ รักการทำงาน รักอาชีพ
  5. เป็นพลเมืองดี
  6. มีจิตสาธารณะ
  7. อยู่อย่างพอเพียง
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตร
  1. ชีวิตด้านใน : ศาสนา วัฒนธรรม
  2. ทักษะชีวิต/ทักษะอาชีพ
    2.1 การงานอาชีพ
    2.2 สุนทรียะ (ดนตรี ศิลปะ)
    2.3 สุขภาพและนันทนาการ
    2.4 ลูกเสือ เนตรนารีและกิจกรรมเพื่อสังคม
  3. การเรียนรู้ทางวิชาการ
    3.1 ภาษาไทย
    3.2 ภาษาต่างประเทศ
    3.3 คณิตศาสตร์
    3.4 วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
    3.5 สังคมศึกษา
แนวทางการดำเนินการต่อไป

ให้สถานศึกษานำร่องของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดนราธิวาสร่วมกันพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาพร้อมออกแบบโมเดลของสถานศึกษา โดยส่งเสริมให้สร้างความตะหนักวิชาด้านศาสตร์เป็นหลัก ส่งเสริมทักษะอาชีพเพื่อให้ผู้เรียนมีวิชาชีพติดตัว จัดทำหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนร่วมกับศาสนาและวัฒนธรรม ลดวิชาการลง และนำมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรจังหวัดไปบูรณาการเรียนรู้ร่วมกัน

ในการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องกำหนดแนวคิดหลักของสถานศึกษา (School Concept) ซึ่งแต่ละสถานศึกษาต้องค้นหาจุดเด่นและสร้างอัตลักษณ์ให้กับสถานศึกษา แล้วนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรโดยกำหนดเนื้อหาความรู้ที่จำเป็น กระบวนการจัดการเรียนรู้ และคุณลักษณะของผู้เรียน และสร้างระบบการประเมินผลให้สอดคล้องกับแนวคิดหลัก และเส้นทางของ การจัดการเรียนรู้

“ จัดการศึกษาบนความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่กลมกลึง
ลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงการศึกษา เพื่อสังคมสันติสุข ”


ที่มาของแผนภาพ:
พัฒนาโดย รศ.ดร.วรรณดี สุทธินรากร อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะ
นางปัทมาวดี ขันธ์ชัย ศึกษานิเทศก์สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส และคณะศึกษานิเทศก์

 


 


ผู้ให้สัมภาษณ์: ปัทมาวดี ขันธ์ชัย ศึกษานิเทศก์สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส
ผู้เขียน: ฉัตรชัย หล้ากันหา
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
โรงเรียนเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLCโรงเรียนบ้านซ่อง พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.กาญจนบุรี กับกิจกรรมทักษะอาชีพตามความสนใจของผู้เรียนผ่านทักษะอาชีพ 8 กิจกรรมสู่ห้องเรียนอัจฉริยะ
บทความล่าสุด