"โรงเรียนนำร่องเพื่อการเรียนรู้" กรณีศึกษาของ สพป.เชียงใหม่ เขต 2 จากมุมมองของ ศน. ผู้รับผิดชอบในพื้นที่

3 สิงหาคม 2564

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2  ในฐานะหน่วยงานบริหารจัดการ และประสานส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความเข้มแข็ง ในหน่วยงาน เพื่อเป็นรากฐานและสร้างความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือสถานศึกษา ให้สามารถจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล จึงได้จัดทำแผนแม่บท “การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ” เพื่อใช้เป็นกรอบการพัฒนาสำนักงานให้เป็นองค์กรแห่งคุณภาพด้านการบริหาร จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยึดหลักการบริหารจัดการเชิงบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ ในรูปแบบแผน เชิงพันธกิจ (Performance base)และระบบสัญญาปฏิบัติงาน (Performance  Agreement) และการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย องค์กร ชุมชน ทุกภาคส่วนเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาอย่าง มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุคคล ครอบครัว องค์กร ชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษา สอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา

นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนที่เข้าร่วมเป็นพื้นที่นวัตกรรมซึ่งต้องอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา แต่ยังคงสามารถบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี  โดยจะยกตัวอย่างความสำเร็จของ 2 โรงเรียน คือ  ดังนี้

  1. โรงเรียนพร้าวบูรพา จะมีการกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการมุ่งเน้นในผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้อย่างรอบด้าน การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบผสมผสานการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน การพูด การคิดวิเคราะห์ ควบคู่กับกิจกรรมตามความสนใจของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความสุขกับการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนลงมือปฏิบัติ คิดวิเคราะห์ ทำงานเป็นทีม เผชิญประสบการณ์ตรง เรียนรู้และแก้ปัญหาด้วยตนเอง และได้ค้นพบศักยภาพของตนเอง เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุด โดย “พัฒนาสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการ Active Learning by 5 STEPs  ของโรงเรียนพร้าวบูรพา” ใน 4 กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้แก่ กิจกรรม Languages Camp ,กิจกรรม Stem Education ,กิจกรรมรักษ์เชียงใหม่ และกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง โดยผลที่เกิดต่อนักเรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง/ชุมชน หน่วยงานต้นสังกัด (เขตพื้นที่) มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การสังเกตจากการร่วมงานของครูและชุมชน คือ นักเรียนกล้าคิด กล้าแสดงออก กล้าที่จะลงมือทำ มีความมั่นใจ ในสิ่งที่ร่วมกันคิด ร่วมกันสร้างสรรค์ ร่วมกันผลิต และนำเสนอผลงานของตนเองได้ ด้านครู ได้เปลี่ยนแปลงจากที่แต่เดิมใช้การสอนแบบบรรยายเป็นส่วนใหญ่ ก็จะเปลี่ยนมาเป็น Active Learning มากขึ้น

  2. โรงเรียนบ้านพระนอน ซึ่งได้เล็งเห็นความสำคัญในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผลลัพธ์สู่ผู้เรียนโดยตรง ทางโรงเรียนมีการวางแผนและกำหนดรูปแบบการจัดการศึกษาเป็นของโรงเรียนโดยเน้นทักษะการจัดการตนเองเพื่อพัฒนาระบบการคิดและจิตวิญญาณของผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยผลที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้บูรณาการข้ามศาสตร์ ครูผู้สอนจะทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน คอยให้คำปรึกษา กระตุ้นให้ผู้เรียนเอาความรู้เดิมที่มีอยู่มาใช้และเกิดการเรียนรู้โดยการวางแผน ร่วมกันทำงาน และแก้ปัญหาด้วยตนเอง ครูส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ประเมินการเรียนรู้ของตนเอง รวมทั้งเป็นผู้ที่ประเมินทักษะของผู้เรียนและกลุ่ม พร้อมให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาตนเอง

    ศน.พรศิริ  โยศรีคูณ ศึกษานิเทศก์ ซึ่งดูแลงานนวัตกรรม ของ สพป. เชียงใหม่เขต 2 ให้ข้อมูลว่า โรงเรียนกล้าที่จะคิดนอกกรอบทั้งที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษานั้น  แต่ก็ยังสามารถแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการในทุกๆ ด้านได้อย่างมีระบบ โดยโรงเรียนยังยึดผู้เรียน บริบทของโรงเรียน และลดความเหลื่อมล้ำของผู้เรียน แต่เนื่องจากจังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่ที่มีนักเรียนหลากหลายชนเผ่าการพัฒนาผู้เรียนต้องมีระบบ และเพื่อให้เกิดทักษะตามที่โรงเรียนได้ตั้งเป้าหมายได้อย่างแท้จริงนั้นจะต้องทำ
    อย่างเข้มแข็ง

     



ผู้เขียน: มาศชฎา จันทราทิพย์
ผู้ให้สัมภาษณ์: พรศิริ  โยศรีคูณ ศึกษานิเทศก์ สพป. เชียงใหม่เขต 2
ผู้สัมภาษณ์: มาศชฎา จันทราทิพย์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ปราชญาพร แช่ใจ
ภาพประกอบ: พรศิริ โยศรีคูณ ศึกษานิเทศก์ สพป. เชียงใหม่เขต 2, โรงเรียนพร้าวบูรพา

Facebook Comments
โรงเรียนบ้านคาโต “โรงเรียน ชุมชน สร้างคน สร้างอาชีพ”การประชุมออนไลน์ผู้บริหารโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 286 รร. เพื่อยืนยันการเข้าร่วมทดลองใช้กรอบหลักสูตรใหม่ (หลักสูตรฐานสมรรถนะ) สู่กระบวนกาวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ
บทความล่าสุด