สร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กปฐมวัยสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพร้าวบูรพา จ.เชียงใหม่

6 กรกฎาคม 2564

จุดเริ่มต้นของการดำเนินงานโรงเรียนพร้าวบูรพาได้มีการประสานรอยเชื่อมต่อระหว่างการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ให้กิจกรรมขับเคลื่อนในโรงเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งผลดีต่อการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงของเด็กปฐมวัย ทำให้สามารถพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างราบรื่น แต่ธรรมชาติของเด็กวัยนี้ไม่ง่ายนักที่จะยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและการช่วยเหลือจากครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การขับเคลื่อนดังกล่าวจึงจะประสบผลสำเร็จ

โดยโรงเรียนพร้าวบูรพาได้ดำเนินการเชื่อมต่อระหว่างการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ดังนี้

  1. คุณครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สอบถามข้อมูลนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่จะเลื่อนชั้นมาเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคุณครูประจำชั้นอนุบาล 3 เกี่ยวพัฒนาการของนักเรียน ด้านสติปัญญาการเรียนรู้ อารมณ์ พฤติกรรม และความพร้อมทางด้านร่างกาย เยี่ยมบ้านนักเรียนพูดคุยสอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับภูมิหลัง การเลี้ยงดู ลักษณะนิสัยตลอดจนสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว
  2. ศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของ DLTV ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2563 แล้วนำกิจกรรมการเรียนรู้มาปรับให้เหมาะกับบริบทของโรงเรียนและจัดทำเป็นโปรแกรมเพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อระหว่างการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนพร้าวบูรพาประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 6 สัปดาห์ และเข้าร่วมประชุมทางไกลผ่าน Zoom Cloud Meetings เรื่องการพัฒนาสื่อและการเรียนรู้เพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อระหว่างการศึกษาของเด็กปฐมวัยสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 ครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับคณะครู
  3. ประเมินความพร้อมของนักเรียนเป็นรายบุคคลก่อนใช้โปรแกรมและสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กปฐมวัยสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พร้อมบันทึกผลการประเมินและดำเนินการจัด กิจกกรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามโปรแกรมและสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กปฐมวัยสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่กำหนดไว้
  4. ประเมินความพร้อมของนักเรียนเป็นรายบุคคลหลังใช้โปรแกรมและสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กปฐมวัยสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พร้อมบันทึกผลการประเมินแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกับก่อนใช้โปรแกรม พร้อมสรุปผลการใช้โปรแกรมและสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กปฐมวัยสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และสิ่งที่ได้เรียนรู้ และข้อเสนอแนะ 5. ถอดบทเรียนและนำเสนอชุดสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กปฐมวัยสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

โรงเรียนพร้าวบูรพามีเป้าหมายในการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ โดยมีการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้โปรแกรมเพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อของเด็กปฐมวัยสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพร้าวบูรพา ปีการศึกษา 2563 โดยใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ 6 สัปดาห์ และมีการประเมินความพร้อมก่อนและหลังการใช้โปรแกรมเพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อของเด็กปฐมวัยสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากผลการดำเนินตามกิจกรรมสรุปได้ว่าเมื่อคุณครูใช้โปรแกรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพร้าวบูรพา จำนวน 18 คน ใช้เวลา 6 สัปดาห์ ผลปรากฏว่า

  • ด้านที่ 1 ด้านร่างกายนักเรียนมีพัฒนาการ คิดเป็นร้อยละ 72.22
  • ด้านที่ 2 ด้านทักษะทางวิชาการขั้นต้นนักเรียนมีพัฒนาการคิดเป็นร้อยละ 62.22
  • ด้านที่ 3 ทักษะทางสังคมนักเรียนมีพัฒนาการคิดเป็นร้อยละ 59.26
  • ด้านที่ 4 ทักษะทักษะการดูแลและช่วยเหลือตนเองนักเรียนมีพัฒนาการคิดเป็นร้อยละ 18.52
  • ด้านที่ 5 คุณลักษณะพื้นนิสัยบุคคลนักเรียนมีพัฒนาการคิดเป็นร้อยละ 61.11
  • ด้านที่ 6 การควบคุมกำกับตนเองนักเรียนมีพัฒนาการคิดเป็นร้อยละ 98.41

ดังนั้นจากกิจกรรมดังกล่าวควรนำแนวคิดและสิ่งที่ประสบความสำเร็จ ก็คือ ปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปัจจัยภายใน การมีความพร้อมของคณะทำงาน ซึ่งต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงพัฒนาการของนักเรียนที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคล ทุ่มเทเวลาในการปฏิบัติงาน ความพร้อมของงบประมาณที่ใช้ในการจัดหาสื่อวัสดุอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน ผู้บริหารโรงเรียนให้การสนับสนุนชี้แนะ เป็นที่ปรึกษา เอาใจใส่ให้กำลังใจการปฏิบัติงานแก่ครูผู้สอน รวมถึงปัจจัยภายนอกที่สำคัญ คือ ผู้ปกครองให้ความสำคัญของการให้ข้อมูลร่วมมือกับคุณครูเป็นอย่างดี เปิดใจยอมรับถึงพัฒนาการการเรียนรู้ของลูก ดูแล เอาใจใส่เกี่ยวกับการเรียนของนักเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 


 


ผู้เขียน: มาศชฎา จันทราทิพย์
ผู้ให้สัมภาษณ์: ประทิน ตั้งใจ ผู้อำนวยการโรงเรียนพร้าวบูรพา
ผู้สัมภาษณ์: มาศชฎา จันทราทิพย์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์
ภาพประกอบ: โรงเรียนพร้าวบูรพา จังหวัดเชียงใหม่

Facebook Comments
“ครูสามเส้า” เชื่อมโยงการเรียนรู้สู่ภูมิปัญญาท้องถิ่น รร.บ้านตันหยงกาโบยชัยพัฒนา จ.สตูลพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ร่วมมือ 4 ประสาน พัฒนาคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ ตามกรอบหลักสูตรจังหวัดระยอง (Rayong MARCO)
บทความล่าสุด