โรงเรียนบ้านหนองม่วง พื้นที่นวัตกรรมระยอง มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และพร้อมเผชิญโลกยุค AI

6 เมษายน 2020

โรงเรียนบ้านหนองม่วง ตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล – ประถมศึกษา มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 119 คน มีบุคลากรครู 7 คน ไม่มีนักการภารโรง ครู และนักเรียนช่วยกันทำความสะอาด และมีคนในชุมชนมาช่วยเดือนละครั้ง บริบทของโรงเรียน เป็นโรงเรียนติดชายแดนของจังหวัดระยอง พื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นจังหวัดชลบุรี เป็นโรงเรียนที่อยู่ค่อมระหว่าง 2 จังหวัด อยู่ห่างไกลจากสำนักงานเขตพื้นที่ฯ กันดาร ในฤดูฝนไฟดับจะดับบ่อยบางครั้งไฟฟ้าดับทั้งวัน ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพรับจ้าง การเกษตร และประมงเป็นหลัก เป็นโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมรุ่นแรก สิ่งที่โรงเรียนดำเนินการและให้ความสำคัญก็จะเป็นการดำเนินการวัตถุประสงค์ของโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรม คือ คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา กระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษา สร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

โรงเรียนมีเป้าหมายชัดเจน คือ Young AI School (โรงเรียนนักปัญญาประดิษฐ์รุ่นเยาว์) มีสมรรถนะทางการเรียนรู้ที่เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลก สร้างการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง นำความรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งโรงเรียนต้องพยายามวางเป้าหมายร่วมกันให้ทุกส่วนมีความรู้ความเข้าใจที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของนักเรียนเป็นที่ตั้ง

ผลตอบรับ ความคิดเห็น ของผู้ปกครองและครู และผู้อำนวยการโรงเรียนจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ มองเห็นความสุข พัฒนาการ ความเจริญงอกงามของนักเรียน คือ นักเรียนมีความกล้าแสดงออกมากขึ้นกว่าเดิมที่สังเกตได้ โต้ตอบ สนทนาและทำกิจกรรมในโรงเรียนแล้วนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ แต่ในส่วนเขตพื้นที่หรือหน่วยงานระดับสูงขึ้นไป เนื่องจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนยังต่ำ อยู่ในอันดับท้าย ๆ คงยังไม่ตอบโจทย์เป้าหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินการเปลี่ยนแปลงมาตลอด 1 ปีการศึกษา สิ่งที่โดดเด่น คือ การจัดกิจกรรมในระดับอนุบาล 1 – 3 ของโรงเรียนที่จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เป็นผู้ลงมือทำด้วยตนเอง ตอบโจทย์การใช้ชีวิตประจำวัน นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงที่โรงเรียนและที่บ้าน

การจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษในชั้น ป.1 – 3 ที่จัดการเรียนผ่านกิจกรรมโดยใช้ภาษาอังกฤษตลอด (ไม่ใช้ภาษาไทย) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่เกิดปัญหา และนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นมาก คือ นักเรียนใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ดี กิจกรรมที่ 3 คือการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาบูรณาการของชั้น ป.4 – 6 ที่เน้นการนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน ครูเน้นให้นักเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง ครูเป็นผู้คอยให้คำถาม แต่ไม่สรุปให้นักเรียน และนักเรียนนำความรู้มาใช้ใน พร้อมทั้งสอดคล้องกับจุดเน้นของโรงเรียน คือ Young AI School นักเรียนมีการทำโปรเจคอัตโนมัติเป็น 6 โปรเจค คือ 1. การเปิดปิดไฟอัตโนมัติ 2. ทำระบบน้ำอัตโนมัติ 3. พัดลมอัตโนมัติ 4. ก๊อกน้ำอัตโนมัติ 5. เครื่องให้อาหารปลา 6. เครื่องไล่นก

สิ่งที่โรงเรียนจะต้องทำต่อไปคือ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ นักเรียนได้นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างแท้จริงที่ส่งเสริมให้เกิดสมรรถนะ แต่สิ่งที่ต้องปรับปรุงคือ การจัดการเรียนรู้ที่ต้องตอบโจทย์การวัดผลในระดับต่าง ๆ คือ RT NT และ ONET สิ่งนี้ที่ทางโรงเรียนยังทำไม่ได้และเป็นโจทย์ของโรงเรียนที่จะต้องหาทางปรับปรุงแก้ไขต่อไป

สิ่งที่จะดำเนินการในอนาคต ต้องมีการนำปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นมาช่วยกันวิเคราะห์ ปัญหาอันเกิดจากการจัดกระบวนการเรียนการสอน จะต้องมีการเตรียมการก่อนเปิดเรียน CRC (Classroom Reflection for Change) และนำผลมาคุยกันวิเคราะห์กันเพื่อแก้ปัญหาซึ่งโรงเรียนได้วางแผนเตรียมการก่อนเปิดเทอม 2 ครั้งแล้ว ปัญหาอันเกิดจากการบริหารจัดการในโรงเรียน ผู้บริหารก็จะหาแนวทางที่ไม่ให้งานอื่นมาเป็นอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้และคำนึงถึงผลประโยชน์ของนักเรียนเป็นหลัก การบริหารจัดการในระดับหน่วยงานต้นสังกัดที่เป็นอุปสรรคคงต้องนำเสนอต่อไป ส่วนการสื่อสารกับชุมชนและองค์กรภายนอกจะต้องมีการจัดเวทีคุยกันและหาส่วนร่วมกัน


ผู้เขียน: นิฎฐา ขุนนุช, เรไร สารราษฎร์
ผู้ให้สัมภาษณ์: เรไร สารราษฎร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองม่วง จังหวัดระยอง
ผู้สัมภาษณ์: นิฎฐา ขุนนุช
กราฟิกดีไซน์เนอร์: รัตนากร พึ่งแก้ว, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ภัชธีญา ปัญญารัมย์
ภาพประกอบ: โรงเรียนบ้านหนองม่วง

Facebook Comments
โรงเรียนบ้านน้ำกร่อย พื้นที่นวัตกรรมระยอง ปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน เปลี่ยนสู่ฐานสมรรถนะสพฐ. จัดสรร block grant งบเงินอุดหนุนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา ให้โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
บทความล่าสุด