ร่วมคิด ร่วมพัฒนา ตามบริบท ให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.นราธิวาส

7 เมษายน 2022
ร่วมคิด ร่วมพัฒนา ตามบริบท
ให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์
ของการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.นราธิวาส

วันนี้ขอนำเสนอเรื่องราวของนางฮาซานะห์ บินมะอุง  ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ในการดูแลและเป็นที่พึ่งของครู ให้การชี้แนะ หนุนเสริม ช่วยเหลือ ครูสู่ผู้เรียน ของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

จุดเริ่มต้นที่ดูแลงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

การดูแลงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเริ่มจากการเป็นหัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ที่มีพันธกิจหลักร่วมกับคณะศึกษานิเทศก์ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2  ในการส่งเสริม พัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา รวมถึงการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อคุณภาพทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  นอกจากนั้น การได้รับผิดชอบสถานศึกษาในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และโครงการสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ที่สอดคล้องกับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนตามทุนสังคม เน้นพื้นที่เป็นฐานและความต้องการของชุมชน อีกทั้งยังเป็นผู้รับผิดชอบหลัก การส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่สถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ที่เอื้อต่อการสร้างสังคมอุดมปัญญาผ่านการสนทนา สะท้อนคิด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ในการพัฒนาศักยภาพผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียนให้มีคุณภาพตามนโยบายของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ต้นสังกัด ดังนั้น มติที่ประชุมของกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล ในปีการศึกษา 2562 – ปัจจุบัน ได้มอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบหลัก และมีคณะดำเนินงานตามขอบข่ายงานที่ สพฐ. กำหนดและให้ความร่วมมือกับ ศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส ในการขับเคลื่อนภาพรวมของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของจังหวัดนราธิวาส

มุมมองเกี่ยวกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

  • ตามมุมมอง พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คือ  พื้นที่พิเศษด้านการจัดการศึกษาตามบริบท ความต้องการของพื้นที่เป็นฐาน โดย มี พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 รองรับ อีกทั้งเน้นความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเข้ามาร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษา สมรรถนะผู้เรียนตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันที่ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้จากการปฏิบัติจริง และสามารถปรับเปลี่ยน หรือสร้างสรรค์ ผลผลิตจากการเรียนรู้ตามกระบวนการเรียนรู้ที่แต่ละสถานศึกษาได้ทดลองใช้ตามความเหมาะสมของบริบทในแต่ละพื้นที่ของสถานศึกษานั้น ๆ
  • การจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์กระแสการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกปัจจุบันต้องเริ่มต้นจากบริบทของแต่ละพื้นที่เป็นฐาน ทุนทางสังคมเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนตาม
    อัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ ผู้เรียนเริ่มเรียนรู้จากรากเหง้าของตน เพื่อได้ปลูกจิตสำนึกต่อถิ่นที่อยู่อาศัย ตระหนักในบทบาทของตนในท้องถิ่นสู่สังคมในวงกว้างต่อไป ยกระดับสู่ระดับชาติและสากลต่อไป  One size doesn’t fix all เปรียบได้กับการจัดการศึกษาแบบเสื้อขนาดเดียวกันไม่อาจสนองผู้เรียนที่แตกต่างกันได้ ฉันใดก็ฉันนั้น พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเปิดโอกาสให้จัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และประสานความร่วมมือจากต่างองค์กร เพื่อสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างแท้จริง
  • ในฐานะผู้หนุนเสริมสถานศึกษาในสังกัด คณะศึกษานิเทศก์ได้ร่วมพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามกรอบหลักสูตรพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดนราธิวาส  ออกแบบการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลที่เหมาะสมกับบริบทสถานศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ส่งผลต่อนวัตกรรมการศึกษาด้านต่าง ๆ ในสถานศึกษาพื้นที่นวัตกรรม อาทิ เช่น การจัดการเรียนการสอน “รักความเป็นไทย ภาคภูมิใจในท้องถิ่น”
    โดยใช้สื่อเกมบิงโก ของดีอำเภอตากใบ (โรงเรียนแห่งนวัตวิถีตากใบ)  นวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ประเภทนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ (โรงเรียนบ้านมูโนะ และโรงเรียนบ้านบือราแง) ประเภทนวัตกรรมการบริหารและจัดการ (โรงเรียนบ้านมูโนะ และโรงเรียนบ้านบือราแง) และ ประเภทนวัตกรรมการนิเทศการศึกษา (ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบหลักพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สพป. นราธิวาส เขต 2) เป็นต้น

แนวทางในการดำเนินงานขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

สพป. นราธิวาส เขต 2 ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะในสถานศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาด้วย รูปแบบ GAS plus CPD (ปีงบประมาณ 2562-2565) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

Goals ขั้นมุ่งเป้าเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
  • ด้านสมรรถนะการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา/ผู้บริหารการศึกษา
  • ด้านสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21
  • ด้านสมรรถนะผู้เรียนตามเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษา
  • นวัตกรรมทางการศึกษาของสถานศึกษา
  • นวัตกรรมทางการศึกษาของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
Actions ขั้นปฎิบัติการ
  1. ขั้นตระหนักรับรู้ สร้างความรู้ความเข้าใจด้านนโยบายการขับเคลื่อนตาม พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรม

การศึกษา พ.ศ. 2562 (On line/On site)

  • สารสนเทศ ข้อมูล แหล่งเรียนรู้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบออนไลน์ เว็บลิงค์เพจพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สพป.นราธิวาส เขต 2 และดิจิทัลแฟลตฟอร์มด้านอื่น ๆ
  1. ขั้นปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม
  • คณะกรรมการปฏิบัติงานระดับ สพป. ร่วมกับสถานศึกษานำร่อง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และ
  • หน่วยงานภายนอก ดำเนินการดังนี้
  • การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษานำร่อง ตามกรอบหลักสูตรจังหวัดนราธิวาส รองรับหลักสูตรฐานสมรรถนะ
  • การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21
  • การพัฒนาการวัดและประเมินผลผู้เรียน ตาม K-S-A
  • การพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วม
  • การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของสถานศึกษานำร่องด้วยกระบวนการ PLC และการวิจัยในชั้นเรียน
  • การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของบุคลากรสำนักงานเขตพื้นที่/ผู้บริหารการศึกษา
  1. ขั้นนิเทศ กำกับ และติดตาม
  • คณะกรรมการปฏิบัติงานระดับ สพป. สนับสนุนส่งเสริมการนิเทศภายในสถานศึกษาพื้นที่นวัตกรรมอย่างเข้มข้น
  • คณะกรรมการปฏิบัติงานระดับ สพป. ศธจ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกำกับ ติดตาม สะท้อนผล และประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษาพื้นที่นวัตกรรม
Sharing ขั้นแลกเปลี่ยนและเผยแพร่
  • กิจกรรมเปิดบ้านของสถานศึกษาพื้นที่นวัตกรรม
  • เวทีแลกเปลี่ยน/นำเสนอนวัตกรรมการศึกษา ระดับ สพป. ศธจ. และแฟลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ
  • เวทีการประชุมทางวิชาการระดับภูมิภาค และระดับชาติ
  • มอบเกียรติบัตร และโล่รางวัลให้แก่สถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา บุคลากรทางการศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ ผลงานที่เป็นแบบอย่างได้/นวัตกรรมทางการศึกษาผ่านหลากหลายช่องทาง
Plus CPD for Sustainability (CPD: Continuous Professional Development) การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน

1. ผู้บริหารการศึกษา/ผู้อำนวยการสถานศึกษา

  • พัฒนาทักษะการบริหารจัดการ
  •  สร้างเครือข่ายในการพัฒนาวิชาชีพ
  • การวิจัยจากงานประจำ (R2R:Routine to Research)

2. ศึกษานิเทศก์/บุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศการศึกษา

  • พัฒนาทักษะการนิเทศการศึกษา/การสนับสนุนส่งเสริมการจัดการศึกษา
  • สร้างเครือข่ายในการพัฒนาวิชาชีพ
  • การวิจัยจากงานประจำ (R2R:Routine to Research)
  • พัฒนานวัตกรรมด้านการนิเทศการศึกษา/การสนับสนุนส่งเสริมการจัดการศึกษา

3. ครูผู้สอน

  • พัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการสร้างนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้
  • สร้างเครือข่ายในการพัฒนาวิชาชีพ
  • การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research)
เพราะเหตุใดจึงใช้รูปแบบนี้

ในปีการศึกษา 2562 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ใช้กระบวนการ “GAS” ในการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัด และคณะดำเนินงานการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของ สพป. นราธิวาส เขต 2 ได้พัฒนาต่อยอดให้ครอบคลุมเป้าหมายของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยการเพิ่ม Plus CPD for Sustainability (CPD: Continuous Professional Development) การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน ด้วยความสำคัญจำเป็นของการสร้างเครือข่ายในการพัฒนาวิชาชีพ และการวิจัยจากงานประจำ/การวิจัยในชั้นเรียน อีกทั้งชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สอดคล้องกับ พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562 ที่เน้นการร่วมกันพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพและลดความเหลื่อมล้ำในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้อย่างแท้จริง

สิ่งที่สำคัญที่ทำให้การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาบรรลุผลสำเร็จ

การมีส่วนร่วมจากหลากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชุมชน และบุคคลากรในสถานศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ดังนี้

  • สนับสนุนการประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และทักษะด้านเทคโนโลยี ร่วมถึงจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประกวดนวัตกรรมต่าง ๆ สำหรับหน่วยงานต้นสังกัด คณะผู้บริหารการศึกษา คณะศึกษานิเทศก์ และคณะบุคลากรกลุ่มงานต่าง ๆ ใน สพท. ให้การสนับสนุน ส่งเสริม กำกับ ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ชุมชนที่สถานศึกษาตั้งอยู่เป็นทุนทางสังคมและให้ความอนุเคราะห์ร่วมขับเคลื่อนกับสถานศึกษาอย่างเต็มความสามารถ พร้อมให้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำสู่ความรู้ที่สถานศึกษาตกผลึกเพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล นอกจากนั้นความสำคัญยิ่งคือ ความร่วมมือของคณะบุคลากรในสถานศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทุกแห่งได้ทุ่มเท และมุ่งมั่นพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลอย่างเต็มกำลัง
  • การประชุมร่วมวางแผนงาน สะท้อนการดำเนินงาน และพัฒนางานของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาระดับสำนักงานเขตพื้นที่

การพัฒนาหลักสูตรระดับปฐมวัย ในสถานศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สพป. นราธิวาส เขต 2 นำร่องโดย โรงเรียนบ้านมูโนะ โดยศึกษานิเทศก์ที่ดูแลการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ร่วมขับเคลื่อนกับคณะศึกษานิเทศก์ สพป. นราธิวาส เขต 2 และศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส

หลักการและแนวคิดในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

ใช้แนวคิด Think globally, Act locally (คิดอย่างสากล ปฏิบัติตามบริบท Mckey, 2002) ในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัด สพป. นราธิวาส เขต 2 ด้วยเป้าหมายของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเน้นรากฐานสำคัญของการพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพ มีความใฝ่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถอยู่และทำงานร่วมกับผู้อื่นซี่งมีความแตกต่างหลากหลายได้ มีความรู้เท่าทันโลก และมีทักษะในการประกอบอาชีพตามความถนัดของผู้เรียนแต่ละคน ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจึงควรวางรากฐานผู้เรียนให้รู้จักคิด มองโลกหลากมติ ด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นทักษะการปฏิบัติจริง การทำงานเป็นทีม ร่วมแก้ไขปัญหา รวมไปถึงการสร้างปัญญาจากข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ใหม่ที่ได้เรียนรู้บนพื้นฐานสังคมที่ตนเองเป็นอยู่ ผู้เรียนใช้ทุนทางสังคมเป็นพื้นฐานในการต่อยอดการเรียนรู้ให้หลากหลายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริบทชายแดนภาคใต้ที่เหมาะสมในการวางรากฐานการเคารพตนเองเพื่อให้การยอมรับผู้อื่นในสังคม
พหุวัฒนธรรม ดังนั่น การคิดแบบสากลปฏิบัติตามบริบทที่เป็นอยู่ เป็นทางเลือกของการจัดการศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐานอย่างแท้จริง

การให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ชี้แนะ หรือหนุนเสริม ครู ผู้อำนวยการโรงเรียน นักเรียน ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

ได้ร่วมมือกับคณะทำงานสนับสนุน ส่งเสริม และติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาอย่างต่อเนื่องทั้งในและนอกเวลาราชการ ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิค-19 ได้ใช้การนิเทศ Online แทนการ On-site ในด้านผู้อำนวยการโรงเรียนได้ติดตาม สอบถาม หารือ ผ่านระบบไลน์กลุ่มพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของ สพป.นราธิวาส เขต 2 ประสานความร่วมมือจากต่างหน่วยงานเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง สำหรับครูผู้สอน เมื่อสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส จัดประชุมพัฒนาการจัดทำหลักสูตร และทักษะการจัดการเรียนการสอนด้านอื่น ๆ ข้าพเจ้าจะเข้าร่วมประชุมปฏิบัติการหรือผ่านระบบ zoom และติดตามด้วยการไลน์ หรือนิเทศติดตามในสถานศึกษา ร่วมถึงการร่วมกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาเพื่อการพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และ เพจ PLC NARA2 สู่สถานศึกษาเป็นช่องทางแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติระหว่างกัน สำหรับผู้เรียนนั่นจะได้รับการหนุนเสริมผ่านกิจกรรมการนิเทศชั้นเรียน และชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพภายใต้สถานการณ์โควิค-19 นี้ได้ปรับใช้การ Zoom โดยนำร่องด้วยกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ที่ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการติดตาม PA ของครูผู้สอนกลุ่มนี้ จากสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสู่สถานศึกษาอื่น ๆ และครูต่างกลุ่มสาระที่สนใจ ในโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนที่รับผิดชอบ

ผลสำเร็จ/สิ่งที่ได้ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน
  • ปีการศึกษา 2563 คะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงขึ้นทั้ง 6 สถานศึกษานำร่อง
  • นักเรียนโรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก ได้ 100 คะแนนเต็มในวิชาภาษาอังกฤษ 2 คน และ วิชาคณิตศาสตร์จำนวน 2 คน
  • คะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับมัยธยมศึกษาปีที่ 3 สูงขึ้นจำนวน 2 สถานศึกษานำร่องคือ รร.บ้านตือมายู และ รร.บ้านสากอ จากจำนวน 3 สถานศึกษานำร่องโรงเรียนขยายโอกาส
  • คะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบอิสลามศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (I-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงขึ้น (รร.บ้านตือมายู) และ ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงขึ้นทั้ง 3 สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนสองระบบอิสลามศึกษาแบบเข้ม คือ รร.บ้านมูโนะ รร.บ้านตือมายู และ รร.บ้านสากอ) และนักเรียนโรงเรียนบ้านมูโนะได้ 100 คะแนนเต็มในวิชาภาษามลายูกลาง
  •  ปีการศึกษา 2564 ได้เข้าร่วมการประกวดกิจกรรมตามโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดนราธิวาส ดังนี้
  • การประกวดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “ทางรอดการใช้ชีวิตในยุคโควิค” ระดับประถมศึกษาตอนปลาย รางวัล ชนะเลิศ ด.ญ. แวอัรฟา นาแว โรงเรียนบ้านตาบา
  • การประกวดสุนทรพจน์ภาษาไทย “ทางรอดการใช้ชีวิตในยุคโควิค” ระดับประถมศึกษาตอนปลาย รางวัลชมเชย ด.ญ. ณาบิลล่าห์ อาแซ โรงเรียนบ้านมูโนะ
  • การประกวดสุนทรพจน์ภาษาไทย “ทางรอดการใช้ชีวิตในยุคโควิค” ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รางวัลชมเชย ด.ญ. อัสวานี ยูโซ๊ะ โรงเรียนบ้านมูโนะ
  • การประกวดหนังสั้น “New Normal ชีวิตวิถีใหม่” ระดับประถมศึกษาตอนปลาย ทีม เพื่อนที่หายไป รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนบ้านตือมายู
ผลสำเร็จ/สิ่งที่ได้ที่เกิดขึ้นกับครู
  • ครูผู้สอนได้มีนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย อาทิ เช่น
  • ปีการศึกษา 2562 ครูผู้สอนได้รับรางวัลด้ทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARD ด้านวิชาการ ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ระดับประถมศึกษา กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ระดับเหรียญทอง ระดับชาติ นางสาวนพพรรณพ แจ้งสว่าง รร.บ้านสุไหงโก-ลก สพป. นราธิวาส เขต 2
  • ปีการศึกษา 2563 ครูผู้สอนได้รับรางวัลด้ทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARD ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ระดับประถมศึกษา ส่งเสริมการใช้นวัตกรรม PLC ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ระดับเหรียญทอง ระดับภาคใต้ นางสาวนาดีละห์ ดอฮะ รร.บ้านหัวคลอง สพป. นราธิวาส เขต 2
  • ปีการศึกษา 2564 ครูผู้ชนะเลิศ MOE Speech Content โครงการพัฒนาสมถรรถนะบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวนาดีละห์ ดอฮะ รร.บ้านหัวคลอง สพป.นราธิวาส เขต 2 (ในรอบตัดสินระดับประเทศ ได้นำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาในสถานศึกษา จากแนวคิด Think globally Act locally ที่มีเป้าหมายสูงสุดคือ ผู้เรียนเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งทั้งในระดับพลเมืองไทยและพลโลก)
  • ปีการศึกษา 2564 นวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ประเภทนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ (ครูโรงเรียนบ้านมูโนะ สถานศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รุ่นนำร่อง และโรงเรียนบ้านบือราแง สถานศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รุ่นที่ 2) สพฐ. เลื่อนการประกวดด้วยสถานการณ์โควิค-19 แต่มอบเกียรติบัตรเป็นขวัญกำลังใจกับผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด)
  • ปีการศึกษา 2564 ได้เข้าร่วมการประกวดกิจกรรมตามโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดนราธิวาส ดังนี้
  • การประกวด “การผลิตสื่อการเรียนรู้ด้วยวีดีทัศน์” ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นางสาวกรฉัตร โสภารัตน์ ครู รร.บ้านตือมายู
  • การประกวด “การผลิตสื่อการเรียนรู้ด้วยวีดีทัศน์” ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รางวัลชนะเลิศ นางปริชญา มาสินธุ์ ครู รร.บ้านสุไหงโก-ลก
ผลสำเร็จ/สิ่งที่ได้ที่เกิดขึ้นกับผู้อำนวยการ
  • ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และบริหารงานแบบมีส่วนร่วมยึ่งขึ้น อาทิ เช่น
  • การบริหารระบบการนิเทศภายในสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ 3 SMART MUNO รางวัลสถานศึกษาที่มี
  • ระบบการนิเทศที่ประสบผลสำเร็จและเป็นแบบอย่างที่ดี ระดับ สพฐ ปีงบประมาณ 2564 (โรงเรียนบ้านมูโนะ สพป.นราธิวาส เขต 2)
  • การบริหารจัดการที่ดีและประสบผลสำเร็จ รางวัลชนะเลิศ การประกวดกิจกรรมตามโครงการพื้นที่
  • นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดนราธิวาส  ประจำปี 2564 (นางโสรยา อาแซ สพป.นราธิวาส เขต 2)
  • นวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมาย
  • การพัฒนาที่ยั่งยืน ประเภทนวัตกรรมการบริหารและจัดการ (โรงเรียนบ้านมูโนะ สถานศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รุ่นนำร่อง และโรงเรียนบ้านบือราแง สถานศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รุ่นที่ 2) สพฐ. เลื่อนการประกวดด้วยสถานการณ์โควิค-19 แต่มอบเกียรติบัตรเป็นขวัญกำลังใจกับผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด)

ผลสำเร็จ/สิ่งที่ได้ที่เกิดขึ้นกับบุคลากรอื่นหรือหน่วยงานอื่น ๆ
  • ได้นำแนวทางการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เป็นฐาน ขยายผลกับ โรงเรียนที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาด้วยงบบริจาคส่วนตัว เช่น โรงเรียนบ้านกรือซอ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ด้วยการส่งเสริมให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ใช้ทุนทางสังคมเป็นแหล่งเรียนรู้ หาแนวทางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายการพัฒนางานระหว่างกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล และกลุ่มส่งเสริมการศึกษา สพป. นราธิวาส เขต 2 สู่การพัฒนานวัตกรรมการศึกษาด้านต่าง ๆ ต่อไป
  • ในการนี้ได้รับความอนุเคราะห์ด้านวิจัย นวัตกรรมและพันธกิจเพื่อสังคม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ด้านวิชาการจากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ด้านวัฒนธรรมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ด้านการจัดการเรียนการสอนจากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
ความรู้สึกในการทำงานร่วมกับโรงเรียน ครู ผู้อำนวยการ ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

รู้สึกภาคภูมิใจในการพัฒนางานของบุคลากรในสถานศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่ได้ทำงานร่วมกันดังนี้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติระหว่างกัน สามารถสร้างเครือข่ายการพัฒนางานระหว่างสถานศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษารุ่นนำร่องสู่รุ่นที่ 2 สถานศึกษาในและต่างสังกัดได้มาเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีเป็นแบบอย่างได้ เช่น นวัตกรรมต้นแบบการเรียนรู้ทักษะอาชีพตลาดนัดสองแผ่นดิน ชายแดนไทย-มาเลย์ สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านมูโนะ (นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการภาค 7 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564)

ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถเป็นผู้นำแห่งการเปลียนแปลงได้ดี ครูผู้สอนมีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงเอื้อต่อสมรรถนะของผู้เรียนตามเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษา อีกทั้งชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา คณะผู้บริหารการจัดการศึกษาระดับ สพท ได้ร่วมกำกับ ติดตาม การดำเนินงานกับคณะกรรมการขับเคลื่อนของ สพป. นราธิวาส เขต 2 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

การเปลี่ยนแปลงหลังจากที่ได้เข้ามาร่วมขับเคลื่อนงานเกี่ยวกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

ก่อนการเข้าร่วมการขับเคลื่อนงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ข้าพเจ้ามีความรู้สึกถึงความท้าท้ายให้ศึกษา เรียนรู้ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และรีบเร่งสร้างความรู้ ความเข้าใจ ถึงเป้าหมาย ขอบข่ายของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา การเข้าร่วมทำงานกับ ศธจ นราธิวาส ที่ขับเคลื่อนในระดับจังหวัด ได้กรอบดำเนินงานนำไปต่อยอดความรู้ สำหรับบางประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน ข้าพเจ้าได้สืบค้นเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องเพราะข้อยุติด้านหลักสูตรฐานสมรรถนะยังไม่สิ้นสุด แต่ด้วยคำว่า Sand box ข้าพเจ้ามั่นใจในเงื่อนไขเวลา และปัจจัยเสริมด้านต่าง ๆ จะนำสู่ภาพสำเร็จได้

หลังการเข้าร่วมการขับเคลื่อนงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ความรู้สึกท้าทายของข้าพเจ้าไม่ได้ลดน้อยลง เพื่อความเชื่อมั่น และความเป็นไปได้ของหลักสูตรสถานศึกษา ส่งผลให้ข้าพเจ้าต้องเรียนรู้มากยึ่งขึ้น ขอบคุณแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และพื้นที่นำร่องที่ดำเนินการก่อนหน้านี้เป็นทางเลือกให้กับสถานศึกษาในสังกัด สพป. นราธิวาส เขต 2 ได้ประยุกต์ใช้ตามบริบทของพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

สุดท้ายนี้การดำเนินงานขับเคลื่อนของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์จะต้องเกิดจากการ “ร่วมคิด ร่วมพัฒนา ตามบริบท ให้บรรลุเป้าหมายของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” ร่วมคิด เป็นการประสานความร่วมมือในการระดมความคิด เพื่อการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน  และการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา ร่วมพัฒนา เป็นการนำสรุปความคิด และข้อเสนอมาวางแผนเพื่อขับเคลื่อน พร้อมทั้งสะท้อนหลังการปฏิบัติเพื่อพัฒนาการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย

การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาผู้เรียนให้มีเจตคติ ทักษะสำคัญ ความรู้ และคุณภาพการศึกษาตามความต้องการของชุมชน ดังนั้น ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นภาคีในการร่วมคิด และร่วมพัฒนาเพื่อสร้างทักษะศตวรรษที่ 21 ตามบริบทพื้นที่ จัดหาสื่ออุปกรณ์รูปแบบใหม่ การวัดและประเมินผลเพื่อการพัฒนา และการบริหารจัดการที่ช่วยลดภาระโรงเรียน กล่าวได้ว่า การมีส่วนร่วมในทุกมิติคือหัวใจสู่ความสำเร็จ

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่
   
   


 

ผู้สัมภาษณ์ : ฉัตรชัย หล้ากันหา
ผู้ให้สัมภาษณ์: ฮาซานะห์ บินมะอุง ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพป.นธ..2
ผู้เขียน/เรียบเรียง: ฉัตรชัย หล้ากันหา
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: อิศรา โสทธิสงค์

Facebook Comments
รวมพลังเดินหน้า จัดทำข้อเสนอปลดล็อกการบริหารงานบุคคลฯโอกาสทอง! ปรับปรุง แก้ไข ระเบียบจัดซื้อจัดจ้างของสถานศึกษานำร่องฯ
บทความล่าสุด