สพฐ. เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผอ.สำนักในส่วนกลาง ร่วมระดมความคิดเพื่อปรับ (ร่าง) แนวทางสำหรับโรงเรียนนำร่องและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562

16 มีนาคม 2563

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2563 ณ ห้องประชุม สตผ. ชั้น 7 ดร.กวินทร์เกียรติ นนธ์พละ รองเลขาธิการ กพฐ. เป็นประธานในการประชุมพิจารณาความเหมาะสมของแนวทางการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562 ซึ่งจัดโดยการสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้ที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม อาทิ นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นายสมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และคณะ รองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม อธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์ และคณะ นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร นางรัตนา กิติกร จากมูลนิธิสยามกัมมาจล ผู้แทนจากสำนักต่าง ๆ ของ สพฐ. และ สป. เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง เพื่อร่วมกันพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำแนวทางการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ที่ให้กับหน่วยงานการศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้ง 5 ภาคส่วน ได้รับรู้ รับทราบบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของตนในการขับเคลื่อนงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตาม พ.ร.บ. ซึ่งประกอบด้วย 1) บทบาทหน้าที่ของโรงเรียนนำร่อง 2) บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) บทบาทหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 4) บทบาทหน้าที่ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และ 5) บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

ผลจากการประชุมครั้งนี้ ทำให้ได้แนวทางที่ชัดเจนที่ทาง สบน. ในฐานะฝ่ายเลขาจะได้นำไปปรับปรุง แก้ไขร่างแนวทางการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ที่ได้นำมาเสนอต่อที่ประชุม โดยประเด็นหลักที่ประชุมเห็นตรงกันที่ต้องทำในแนวทางหรือคู่มือที่จะส่งไป คือ

  • ง่ายต่อการเข้าใจ ต้องเขียนให้เห็นแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ไม่ต้องลงลึกมากเขียนให้กว้าง ๆ เข้าใจง่าย ๆ คือต้องทำให้อ่านง่ายกว่า พ.ร.บ. พยายามเขียนให้เห็นวิธีปฏิบัติจริงที่จะดำเนินการได้ซึ่งอาจระบุให้มีความถี่ในการดำเนินการนั้น ๆ ลดการพูดถึงข้อกฎหมายในแบบ พ.ร.บ. ที่เขียนไว้ชัดเจนอยู่แล้ว
  • สอดคล้อง เอกสารหรือคู่มือที่จะส่งไปต้องสอดคล้อง เหมาะสมกับกลุ่มผู้รับเอกสารหรือผู้ที่จะใช้งานเอกสารนี้
  • ลำดับความสำคัญ เรื่องสำคัญ จำเป็น ที่ต้องเร่งดำเนินการขึ้นมาก่อน (ไม่จำเป็นต้องเรียงตามมาตราใน พ.ร.บ. แต่ให้เรียงลำดับหัวข้อตามความจำเป็น เร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ
  • แนวทางความสำเร็จ อาจเพิ่มเติมประเด็นที่เป็นบทเรียนแห่งความสำเร็จจากพื้นที่อื่นที่ดำเนินการมาก่อนเพื่อให้ผู้ใช้คู่มือนี้เห็นแนวทาง นำไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง
  • สร้างการรับรู้ และความเข้าใจร่วมกัน ประเด็นอื่นที่อาจเพิ่มเติมในคู่มือ สามารถบรรจุเรื่องหรือหัวข้อที่จะเป็นการส่งเสริมให้คนใช้คู่มือได้เกิดความเข้าใจในเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา อย่างสอดคล้องและเข้าใจตรงกัน

ผู้เข้าร่วมประชุม
1. นายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
3. นายอโณทัย ไทยวรรณศรี รักษาการที่ปรึกษา สพฐ.ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
4. นายสมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
5. นางสาวณิชา พิทยาพงศกร นักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
6. นายทัฬหวิชญ์ ฐิติรัตน์สกุล นักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
7. รองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม อธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์
8. นางสาววรนิษฐ์ วรพรธัญพัฒน์ นักวิจัยสถาบันอาศรมศิลป์
9. นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร มูลนิธิสยามกัมมาจล
10. นางรัตนา กิติกร ผู้จัดการโครงการมูลนิธิสยามกัมมาจล
11. นางสาวเนตรดาว ยั่งยุบล แทนผู้อำนวยการ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
12. นางสาวปาริชาติ พรหมสุวรรณ แทนผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
13. นายโกวิท คูเพนียด แทน ผู้อำนวยการสำนักนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
14. นางสาวณัฐิกา นิตยาพร สำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
15. นางปภาวรินทร์ เรืองประจวบกุล ศึกษานิเทศก์ แทน ผู้อำนวยการสำนักบูรณาการกิจการการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
16. นายนริศว์ ปรารมภ์ แทน ผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
17. นางเพ็ญนภา แก้วเขียว แทน ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
18. นางสาวสุกัญญา ว่องปรัชญา ผู้อำนวยการ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
19. นายสังคม จันทร์วิเศษ แทน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
20. นางผาณิต ทวีศักดิ์ แทน ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
21. นางนฤมล พงศ์ไพสิทธิ์ แทน ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบภายใน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
22. นางบรรเจอดพร สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
23. นายพิทักษ์ โสตถยาคม รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
24. นางสุดจิตร์ ไทรนิ่มนวล ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
25. นายเก ประเสริฐสังข์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการสื่อสารสังคม สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
26. นางสาวอุมาภรณ์ พัฒนะนาวีกุล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
27. นางเนตรทราย แสงธูป ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
28. นางสาวจาริณีย์ พรหมพลจร สำนักนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
29. นางวันเพ็ญ สุวรรณเวช สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
30. นางสาวศศิธร สวัสดี นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
31. นางสาวภัชธีญา ปัญญารัมย์ เจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


ผู้เขียน: เก ประเสริฐสังข์, ภัชธีญา ปัญญารัมย์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: เก ประเสริฐสังข์, ศศิธร สวัสดี, ภัชธีญา ปัญญารัมย์
ภาพประกอบ: ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
พื้นที่นวัตกรรมไม่ใช่โครงการไฟไหม้ฟางแต่เป็นพื้นที่สร้างโรงเรียนดีและระบบการศึกษาดีที่สถิตเสถียรความท้าทายของครูยุคใหม่ ไม่เฉพาะในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
บทความล่าสุด