โรงเรียนบ้านทางงอ “ส่งเสริมการเรียนรู้โครงงานฐานวิจัย ผ่าน ClassStart”

6 กุมภาพันธ์ 2563

โรงเรียนบ้านทางงอ สถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 1 ใน 10 ของจังหวัดสตูล ตั้งอยู่ที่ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เป็นโรงเรียนขนาดกลาง มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 127 คน มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรม “ครูสามเส้า” คือ ครูโรงเรียน ครูผู้ปกครอง และครูชุมชนรวม รวมทั้ง การมีภาคีเครือข่ายภายนอกที่เข้ามาช่วยพัฒนาส่งเสริมการดำเนินงานของโรงเรียนให้เกิดประสิทธิภาพ มีการประสานความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่เหมาะกับบริบทพื้นที่ ส่งเสริมให้นักเรียนกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก และจุดแข็งที่สำคัญของโรงเรียน คือ การมีครูผู้สอนจบตรงตามสายวิชาเอกครบทุกวิชา ทำให้การปรับหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นไปตามมาตรฐาน

ปัจจุบันมีการปรับชั่วโมงการสอนวิชาหลัก เป็น 3 วัน และช่วงบ่ายเป็นบูรณาการ เช่น โครงงานฐานวิจัย 14 ขั้นตอน (เลือกหัวข้อจากเรื่องใกล้ตัว- วิเคราะห์ข้อมูล – พัฒนาโจทย์วิจัย – ฯลฯ ) ซึ่งเป็นโครงงานประจำห้องเรียน ใช้เวลาเรียน 9 คาบ ต่อสัปดาห์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น กิจกรรมลูกเสือ กิจกรรมต้านทุจริต กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมละ 1 คาบ ต่อ สัปดาห์

นอกจากการเรียนรู้ในห้องเรียนแล้ว โรงเรียนบ้านทางงอได้เปิดโอกาสให้นักเรียนลงพื้นที่เพื่อศึกษาเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมโครงงานฐานวิจัย โดยก่อนทำโครงงานฯ จริง นักเรียนจะฝึกฝนผ่าน”คลาสสตาร์ท” เบื้องต้นนักเรียนจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของคลาสสตาร์ทก่อน และส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีการเปิดสอน 3 วิชา (โครงงานฐานวิจัย ภาษาไทย การตั้งคำถามวิจัย ) ภายในคลาสสตาร์ท จะมีอุปกรณ์การเรียนการสอน เช่น คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต จอทีวี สำหรับสื่อสารกับครูผู้สอนที่เป็นพี่เลี้ยง วิธีการเรียนรู้จะเน้นผ่านใบงานที่เป็นกิจกรรมจริงๆ ที่โรงเรียนต้องดำเนิน เช่น การทำกำหนดการลงพื้นที่ การทำหนังสือขออนุญาตเดินทางลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล การเตรียมเครื่องมือในการเก็บข้อมูล เป็นต้น ซึ่งนักเรียนจะใช้เวลาส่วนนี้เรียนรู้และลงมือทำตามคำแนะนำของครูพี่เลี้ยง

คลาสสตาร์ท จึงสามารถดึงศักยภาพของนักเรียนออกมาได้อย่างน่าทึ่ง และสร้างความสุขและความสนุกในการเรียนรู้ เพราะนักเรียนรู้สึกมีส่วนร่วมกับการดำเนินงานของโรงเรียน ในอนาคตโรงเรียนบ้านทางงอมีความต้องการจะขยายวิชาเพิ่มเติม คือ วิชาที่สอนเกี่ยวกับการทำวิจัย และจะส่งเสริมเรื่องการลงพื้นที่ของนักเรียนเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ เป้าหมายความสำเร็จของการดำเนินงานอยู่ที่ 60 – 70 % และมีการตั้งเป้าหมายในอนาคตอยู่ที่ 80%

ข้อมูลจาก: การสัมภาษณ์ นางสวรรยา ดาแลหมัน ครูวิชาการโรงเรียนบ้านทางงอ
Written by เสาวนีย์ ทิพย์ฤกษ์
Photo by วราภรณ์ สัสดี
Artwork by เก ประเสริฐสังข์ ศศิธร สวัสดี และภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
กาญจนบุรีเดินหน้าตั้งเป้าหมาย การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และเตรียมนำร่องพัฒนาการศึกษาฐานสมรรถนะผู้ว่าฯ ปัตตานี ติดตาม รับฟัง เช็คความพร้อม การเตรียมงานประชุมปฏิบัติการ ร่างแผนยุทธศาสตร์พื้นที่นวัตกรรมจังหวัดปัตตานี
บทความล่าสุด