สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.) สพฐ. และสำนักบริหารโครงการพิเศษและกิจการนานาชาติ (สบน.) สสวท. ร่วมหารือแนวทางการส่งเสริม SMT ในสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

7 ตุลาคม 2562

วันนี้ (7 ตุลาคม 2562) ดร.พิทักษ์ โสตถยาคม รอง ผอ.สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.) ดร.เก ประเสริฐสังข์ รก.ผอ.กลุ่มส่งเสริมการสื่อสารสังคม และนางเนตรทราย แสงธูป รก.ผอ.กลุ่มบริหารทั่วไป สบน. สพฐ. ให้การตอนรับ ดร.วรวรงค์ รักเรืองเดช ผู้ช่วย ผอ.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) รก. ผอ.สำนักบริหารโครงการพิเศษและกิจการนานาชาติ (สบน.) สสวท. ดร.รัฎฐพร รุจิขจร ผอ.ฝ่ายบริหารโครงการริเริ่มพิเศษ สสวท. และคณะ ในการเข้าร่วมหารือเชื่อมโยงแนวคิดแนวทางการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ในสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่ง สสวท. มีความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้ มีเครื่องมือและทรัพยากรที่จำเป็นในการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

ทั้งนี้ สำนักบริหารโครงการพิเศษและกิจการนานาชาติ (สบน.) สสวท. จะประสานงานกับคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาแต่ละจังหวัด หรือภาคีเครือข่ายเพื่อการศึกษาไทย (Thailand Education Partnership: TEP) เพื่อหารือแนวทางที่เป็นไปได้ หรือปรับวิธีการดำเนินงานให้สอดคล้องเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ และตรงตามความต้องการของสถานศึกษานำร่องต่อไป โดยอาจเริ่มดำเนินงานอย่างเข้มข้นในโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและเป็นโรงเรียนที่อยู่ในโครงการโรงเรียนคุณภาพ SMT ตามมาตรฐาน สสวท. เพื่อสร้างรูปแบบแนวทางและผลการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นที่ประจักษ์ ซึ่งสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาพร้อมเรียนรู้และถอดบทเรียนวิธีปฏิบัติที่ดีเพื่อดำเนินการให้มีการขยายผลไปใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่นต่อไปตามเจตนารมณ์ของ การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

Written by พิทักษ์ โสตถยาคม และเก ประเสริฐสังข์
Photo by เก ประเสริฐสังข์
Artwork by เก ประเสริฐสังข์ ศศิธร สวัสดี และภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
“บ้านพุย” โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมเชียงใหม่ ใช้นวัตกรรม “ทวิภาษา” แก้ปัญหาอ่านเขียนภาษาไทยของเด็กชาติพันธุ์ อย่างมีประสิทธิผล สอดคล้องบริบท ตอบโจทย์ชุมชนและพื้นที่โรงเรียนบ้านไผ่หนองแคน ใช้แผนหน้าเดียว เน้นระบบนิเทศภายใน ประยุกต์ใช้ BBL & DLTV และครูมีส่วนร่วม
บทความล่าสุด