จากห้องเรียนสู่ชีวิตจริง : การประเมินสมรรถนะเพื่อพัฒนาผู้เรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.ยะลา
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่าน จากเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการด้านบริหารวิชาการในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งที่ประชุมได้มีการอัปเดตความก้าวหน้าเกี่ยวกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน ซึ่งทีม สบน. ได้รับโจทย์ในการสื่อสารความก้าวหน้าในประเด็นดังกล่าวสู่สาธารณะ ผู้เขียนจึงได้ประสานความร่วมมือกับ ศน.อรวินท์ ชำระ ศน. ผู้ขับเคลื่อนคนสำคัญของจังหวัดยะลา เพื่อนำข้อมูลมาถ่ายทอดให้ทุกท่านได้ร่วมรับรู้และติดตามไปด้วยกัน โดยหวังว่าเรื่องราวนี้ จะไม่เพียงแต่เป็นการ “รายงานความคืบหน้า” เท่านั้น แต่จะเป็นการ “เชื่อมใจ” ระหว่างผู้ที่ทำงานเพื่อเด็กกับท่านผู้ที่มองเห็นคุณค่าของการศึกษา ดังต่อไปนี้
ความเป็นมาและหลักคิด
ความเป็นมาและหลักคิด
พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดยะลา ภายใต้การขับเคลื่อนของคณะกรรมการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยคณะอนุกรรมการฝ่ายติดตามและประเมินผล ได้ริเริ่มพัฒนา “ระบบประเมินสมรรถนะผู้เรียน” เพื่อให้การจัดการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้เพื่อตอบโจทย์ผู้เรียนอย่างแท้จริง และสอดรับกับพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 โดยมีเป้าหมายคือ:
- พัฒนาเครื่องมือที่วัดความสามารถรอบด้านของผู้เรียน
- เน้นสมรรถนะที่เชื่อมโยงกับบริบทจริงของชีวิต
- ส่งเสริมให้โรงเรียนสามารถพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
กรอบหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน บนฐานบริบทจังหวัดยะลา
กรอบหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน บนฐานบริบทจังหวัดยะลา
หลักการของหลักสูตร
- เน้นการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่
- เป้าหมายแก้ปัญหาภาวะถดถอย
- ส่งเสริมผู้เรียน เห็นคุณค่าตนเองและผู้อื่น
- เน้นกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก
- เชื่อมโยงระหว่างสมรรถนะ + สาระการเรียนรู้
- เปิดโอกาสทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม
- จัดสภาพแวดล้อม ที่หลากหลาย
- ใช้ฐานสมรรถนะ จุดเน้นสถานศึกษา
- ประเมินการเรียนรู้ สะท้อนสมรรถนะ
สมรรถนะพื้นฐาน 4 ด้าน
สมรรถนะพื้นฐาน 4 ด้าน
มุ่งพัฒนา “ความฉลาดรู้” ทางวิชาการพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
มุ่งพัฒนา “ความฉลาดรู้” ทางวิชาการพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
https://sora.com/g/gen_01jrhv8skce178qffr6ta28zj5
ภาษาไทย (C1)
- การฟัง-พูด
- การอ่านเพื่อคิด
- การเขียน
- การเข้าใจธรรมชาติของภาษา
ภาษาอังกฤษ (C2)
- การรับสาร
- การเรียนรู้ภาษา
- การสร้างความบันเทิงและสุนทรียภาพ
คณิตศาสตร์ (C3)
- แก้ปัญหา
- ให้เหตุผล
- การเชื่อมโยง
- การคิดสร้างสรรค์
วิทยาศาสตร์ (C4)
- อธิบายปรากฏการณ์
- เชื่อมโยงเหตุผล
- ออกแบบ-ประเมินกระบวนการ
- ใช้ข้อมูลวิทยาศาสตร์ตัดสินใจ
สมรรถนะหลัก 6 ด้าน
สมรรถนะหลัก 6 ด้าน
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ “พร้อมใช้ชีวิตในโลกจริง” ครอบคลุมทั้งมิติชีวิต ความคิด สังคม และธรรมชาติ โดยสะท้อน “อัตลักษณ์ของผู้เรียน” ได้อย่างลึกซึ้ง
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ “พร้อมใช้ชีวิตในโลกจริง” ครอบคลุมทั้งมิติชีวิต ความคิด สังคม และธรรมชาติ โดยสะท้อน “อัตลักษณ์ของผู้เรียน” ได้อย่างลึกซึ้ง
https://sora.com/g/gen_01jrhvv4qrfg3shc3h4vsg9y1q
การจัดการตนเอง (C1)
- การเห็นคุณค่าของมนุษย์
- การมีเป้าหมายในชีวิตและมีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
- การจัดการอารมณ์และสามารถกำกับตนเองให้รู้จักจัดการอารมณ์
- การมีความสามารถในการแก้ปัญหา หรือจัดการปัญหาและภาวะวิกฤต
การคิดขั้นสูง (C2)
- การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
- การคิดเชิงระบบ
- การคิดสร้างสรรค์
- การคิดแก้ปญหา
- การใช้กระบวนการวิจัยและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้
การสื่อสาร (C3)
- รับสารอย่างมีสติและตีความเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
- รับส่งสาร บนพื้นฐานความเข้าใจ เคารพในความแตกต่างทางความคิด และวัฒนธรรม
- เลือกใช้วิธีการสื่อสารอย่างเหมาะสม ตรงเป้าหมาย ความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร
- การใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างน้อย 3 ภาษา (ไทย อังกฤษ มลายู หรือ จีน)
- การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมที่มีประสิทธิภาพ
การทำงานเป็นทีม (C4)
- เป็นสมาชิกที่ดีของทีม เป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี มีภาวะผู้นำ
- การมีกระบวนการทำงานแบบร่วมมือกันอย่างเป็นระบบ
- การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการจัดการความขัดแย้งระหว่างสมาชิกของสังคม
การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง (C5)
- การมีสุขภาพกาย ใจที่สมบูรณ์ / มีสุขภาวะทางปัญญา / มีทักษะชีวิต / รู้เท่าทันตนเอง / เลือกปฏิบัติตนเป็นนิสัย
- เคารพสิทธิ เสรีภาพของตนเองและผู้อื่น / ตระหนักไม่ให้ละเมิดสิทธิภาพของตนเอง / ช่วยเหลือให้เกียรติและเห็นคุณค่าในผู้อื่น / ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาท โดยประพฤติตนอย่างเหมาะสม / ไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
- รับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ / ปฏิบัติตนตามกฎ กติกา ข้อตกลง / ไม่ทำผิดซ้ำอย่างถูกต้องเหมาะสม / รับผิดชอบบทบาทหน้าที่ที่ตนเองได้ / เคารพกฎหมายไทย และพัฒนามองโลก / เป็นผู้ประกอบการและสร้างความเป็นเลิศในอาชีพ
- มีส่วนร่วมอย่างมีวิจารณญาณ / ติดตามสถานการณ์และประเด็น / ปัญหาสังคมอย่างมีวิจารณญาณ / มีส่วนร่วมทางสังคมด้วยข้อคิด สาระรอบคอบและคำสากล
- สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก / กระตือรือร้นในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนจากหลักความพอเพียง ฐานของความเท่าเทียมในชุมชน / คำนึงถึงประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
- ความเข้าใจถูกต้อง / ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ / เคารพวัฒนธรรม / ยอมรับ ให้เกียรติในความแตกต่าง / สื่อสารข้ามวัฒนธรรม
- มีความเข้าใจพื้นฐาน / มีทักษะ คุณลักษณะที่เอื้อต่อการเป็นนักพัฒนาท้องถิ่น
การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน (C6)
- การเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น บนโลกและ ในเอกภพ /
- ความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เพื่อการดำรงชีวิต / การพัฒนาท้องถิ่นและอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
- การสร้าง ใช้ มีทักษะชีวิตและรู้เท่าทันวิทยาการเทคโนโลยี
- การมีคุณลักษณะทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพื่อเข้าใจประชาธรรมชาติ และการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน
- มีความเข้าใจพื้นฐาน มีทักษะและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการเป็นนักเทคโนโลยี
หลักสูตรถูกออกแบบบนฐานสมรรถนะเหล่านี้ โดยมีจุดเน้นคือ “การเชื่อมโยงกับบริบทพื้นที่” เช่น ความหลากหลายทางภาษา ศาสนา และวิถีชีวิตของชุมชนในยะลา
เครื่องมือประเมิน: ใช้สถานการณ์จริง และการวัดระดับความสามารถ
เครื่องมือประเมิน: ใช้สถานการณ์จริง และการวัดระดับความสามารถ
https://sora.com/g/gen_01jrhwcwmaekvve593rgwx2ntm
รูปแบบเครื่องมือ
- ข้อสอบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
- มี 4 ระดับสมรรถนะ: เริ่มต้น → กำลังพัฒนา → สามารถ → เหนือความคาดหมาย
โครงสร้างข้อสอบตามช่วงชั้น
ช่วงชั้น |
ระดับชั้น |
จำนวนข้อ |
คะแนนรวม |
รูปแบบ |
ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1 – ป.3) |
ป.3 |
30 ข้อ |
120 คะแนน |
เลือกตอบ |
ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4 – ป.6) |
ป.6 |
50 ข้อ |
200 คะแนน |
เลือกตอบ + เขียนตอบ |
ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.6) |
ม.3 |
50 ข้อ |
200 คะแนน |
เลือกตอบ + เขียนตอบ |
ช่วงชั้นที่ 4 (ม.4 – ม.6) |
ม.6 |
50 ข้อ |
200 คะแนน |
เลือกตอบ + เขียนตอบ |
ตัวอย่างสถานการณ์
- วิธีการรับมือเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับ
- การแก้ปัญหากลุ่มเพื่อนทะเลาะกัน
- การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในวันฝนตก
- การอยู่ร่วมกับเพื่อนต่างวัฒนธรรม
ตัวอย่าง การประเมินสมรรถนะหลัก ช่วงชั้นที่ 1 (ป.3) การรวมพลังทำงานเป็นทีม
ตัวอย่าง การประเมินสมรรถนะหลัก ช่วงชั้นที่ 2 (ป.6) การคิดขั้นสูง
การดำเนินงานปัจจุบัน
การดำเนินงานปัจจุบัน
จังหวัดยะลาได้ดำเนินการจัดการประเมินสมรรถนะของผู้เรียนในโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรม 30 แห่ง ครบทั้งสองชุดสมรรถนะ เมื่อวันที่ 15 – 30 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ได้แก่
- สมรรถนะพื้นฐาน 4 ด้าน (C4)
- สมรรถนะหลัก 6 ด้าน (C6)
การดำเนินงานต่อไป:
- ตรวจสอบและวิเคราะห์แบบประเมิน
- ปรับปรุงและพัฒนาแบบประเมิน
- เสนอผลการประเมินต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ
- แจ้งผลให้โรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมทราบ
จากข้อมูลข้างต้น ในการประเมินนี้ จะเป็น “เครื่องมือสะท้อนการเรียนรู้” ที่ช่วยให้โรงเรียน ครู และชุมชน เข้าใจผู้เรียนมากขึ้น และวางแผนการจัดการเรียนรู้ให้ตอบโจทย์ทั้ง “เป้าหมายของพื้นที่” และ “คุณภาพชีวิตของเด็กในอนาคต” นอกจากนี้ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเครื่องมือและแนวทางที่นำเสนอจะเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการผลักดันการศึกษาไทยให้ใกล้ชิดกับชีวิตของผู้เรียนมากยิ่งขึ้น ด้วยหัวใจของความเข้าใจและโอกาสที่เท่าเทียม
ที่มา/อ้างอิง
- เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดยะลา
ผู้ให้ข้อมูล
- อรวินท์ ชำระ ผอ.กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล ศธจ.ยะลา
เรียบเรียง
- อิศรา โสทธิสงค์ นักวิชาการศึกษา สนก. สบน. สพฐ.