คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา เสนอเรื่อง "พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา" ไว้ใน (ร่าง) แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา และส่งมอบนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2562

27 มีนาคม 2562

เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๒ นายกรัฐมนตรีได้รับมอบ (ร่าง) แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา จากคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมในการรับมอบนี้ด้วย รายละเอียดดูที่นี่ 

(ร่าง) แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษานี้ มี ๗ เรื่อง/ประเด็นการปฏิรูป ได้แก่ ๑) การปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้โดยรวมของประเทศ โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๒) การปฏิรูปการพัฒนาเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ๓) การปฏิรูปกลไกเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ๔) การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิต คัดกรอง และพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ ๕) การปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ ๖) การปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบการศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน และ ๗) การปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้โดยการพลิกโฉมด้วยระบบดิจิทัล

ซึ่งเรื่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เป็น ๑ ใน ๓ ประเด็นหลัก อยู่ในเรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๖ การปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบการศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ร่วมกับประเด็น “สถานศึกษามีความเป็นอิสระในการบริหารและจัดการศึกษา” และ “การปรับปรุงโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ” ซึ่งรายละเอียดของแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ประเด็น “พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” มีดังนี้

เป้าหมายหรือผลอังพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
เป้าหมารวม: ๑) ผู้เรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ เหมาะสมสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของชุมชนและพื้นที่ ๒) มีการเรียนรู้และขยายผลของนวัตกรรมที่ได้จากพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสู่การจัดการศึกษาในพื้นที่อื่นๆ
เป้าหมายเร่งด่วน: มีข้อเสนอและร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อผู้เรียนในพื้นที่มีความเฉพาะด้านในเรื่องวัฒนธรรมและภาษา ครอบคลุมประเด็นเรื่องครู หลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนาคุณภาพ และการกำกับดูแลสถานศึกษา

เป้าหมายระยะสั้น: ๑) นโยบายและกฎระเบียบที่มีความคล่องตัว และเอื้อการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน และการบริหารของโรงเรียน ๒) มีหลักสูตรสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษามีความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ และความต้องการของชุมชนและพื้นที่

เป้าหมายระยะกลาง-ระยะยาว: ผู้เรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ เหมาะสม สอดคล้องกับอัตลักษณ์ และความต้องการของชุมชนและพื้นที่ ตลอดจนบรรลุตามความมุ่งหมายของกฎหมายการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่

กรอบระยะเวลาในการดำเนินการ: ๑) ระยะเร่งด่วน ภายในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๒ ๒) ระยะสั้น ภายในปี ๒๕๖๔ และ ๓) ระยะกลาง – ยาว ภายใน ๕ – ๑๐ ปี

ตัวชี้วัด: ๑) ร้อยละของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ๒) จำนวนเรื่องของนวัตกรรมการศึกษาด้านต่างๆ ที่มีการขยายผลมาสู่พื้นที่อื่นๆ หรือนำมาประยุกต์ใช้ในระดับประเทศ

วงเงินและแหล่งเงิน: งบประมาณแผ่นดิน ๑๐.๕ ล้านบาท

ขั้นตอนการดำเนินการ: 

อ้างอิง: (ร่าง) แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เข้าถึงได้ที่นี่ https://goo.gl/Rqc2u4
Written by: พิทักษ์ โสตถยาคม

Facebook Comments
Leave a reply
4 สัญญาณ++ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.ศรีสะเกษ (ผู้ว่าฯ-ศึกษา-ภาคีเครือข่าย-นวัตกรรมเด่น)เลขาธิการ กพฐ. ชี้แนะสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ให้กล้าทำ-กล้าเปลี่ยน-กล้าที่จะสร้างสรรค์
All comments (1)
  • Ilmu Komunikasi
    23 มิถุนายน 2566 at 23 มิถุนายน 2566

    ในเรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่มีความเกี่ยวข้องกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและการปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบการศึกษา เราสามารถระบุประเด็นหลักอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในแผนการปฏิรูปการศึกษาของประเทศได้อีกประเด็นหนึ่งหรือไม่?

    Reply

Leave Your Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

บทความล่าสุด